กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--พีคคีปคอมมูนนิเคชั่น
บางคนอาจจะทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า หมายถึงการนำวัสดุที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาแปรรูปใช้ใหม่โดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การนำเศษแก้วไปหลอมเพื่อผลิตเป็นขวดแก้ว หรือนำเศษกระดาษไปตีเป็นเยื่อกระดาษนำมาผลิตเป็นกระดาษใหม่ เป็นต้น โดยวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ล้วนเป็นของใกล้ตัวที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งนั้น เช่น กระดาษ แก้ว เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก และอื่นๆ การแปรรูปของใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการ 4 ขั้นตอนคือ 1..การเก็บรวบรวม 2..การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน 3..การผลิตหรือปรับปรุง และ 4..การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุง โดยวัสดุต่างชนิดกันจะมีกรรมวิธีในการผลิตแตกต่างกันครับ เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษและสีที่แตกต่างกัน ซึ่งเราต้องแยกแต่ละประเภทออกจากกันก่อน ความสำคัญของการรีไซเคิลมี 1)ลดการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ฝังกลบขยะ ไม่มีใครหรอกครับที่อยากให้มีพื้นที่ฝังกลบอยู่ใกล้ๆ ที่พักอาศัยของตน ตราบใดที่ยังลดปริมาณขยะลงไม่ได้ เราก็ต้องหาพื้นที่ฝังกลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดิน หรือเกิดก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา และแม้แต่เทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ก็ประสบปัญหาในการหาพื้นที่ฝังกลบใหม่ เนื่องจากได้รับการต่อต้านจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้พื้นที่ฝังกลบนับวันยิ่งไกลออกไปจากเขตชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองที่มีราคาที่ดินสูง ซึ่งเป็นผลให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการจัดเก็บและการขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย 2)ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดปริมาณการใช้วัสดุจากธรรมชาติ การรีไซเคิลจะเป็นการแปรรูปจากของเสียที่ไม่ใช้แล้วให้กลายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า การรีไซเคิลจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้ ก็คือ การรีไซเคิลกระดาษใช้แล้วจะช่วยลดการตัดต้นไม้ไปได้จำนวนมาก มีการคำนวณว่าการผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องตัดต้นไม้ถึง 17 ต้นด้วยกัน 3)สร้างงาน กระบวนการรีไซเคิลในปัจจุบัน ช่วยสร้างอาชีพให้กับกลุ่มคนต่างๆ ตั้งแต่ผู้มีอาชีพเก็บขยะรีไซเคิลขาย ผู้รับซื้อขยะรีไซเคิลตามบ้าน หรือที่เรียกกันว่า”ซาเล้ง” ร้านรับซื้อของเก่ารายย่อย และร้านรับซื้อของเก่ารายใหญ่ ทั้งที่เป็นกิจการที่ก่อตั้งขึ้นเองและที่เป็นแฟรนไชส์ที่มีมากขึ้นทุกวัน 4)ประหยัดพลังงาน การนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้สินค้าที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลแทนการนำวัตถุดิบใหม่มาผลิต ก็ช่วยประหยัดพลังงานได้จำนวนมาก เช่น การผลิตอลูมิเนียมจากสินแร่ต้องใช้พลังงานคิดเป็นเงิน 50 บาท เพื่อให้ได้อลูมิเนียม 1 กิโลกรัม แต่ถ้านำกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วมารีไซเคิล จะใช้พลังงานรีไซเคิลไม่ถึง 1 บาทในการผลิตอลูมิเนียม 1 กิโลกรัม เป็นต้น 5)ป้องกันมลภาวะ เนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเกิดขึ้นหลังการผลิตเสมอ และยังเกิดอากาศเสียลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการลดการใช้ และการใช้ซ้ำผลิตภัณฑ์ จะช่วยลดมลภาวะจากกระบวนการผลิตได้มากครับ ตัวอย่างเช่น การผลิตกระดาษจากกระดาษใช้แล้วจะสามารถลดมลภาวะทางอากาศได้ถึงร้อยละ 74 เลยทีเดียว 6)สร้างรายได้ การเก็บรวบรวมกระดาษ ขวดแก้ว และกระป๋องโลหะ ขายรถรับซื้อของเก่า ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรม ชั้น 4 อาคารวังเด็ก ตึก4 ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-2721552-3 ต่อ 14 แฟกซ์ 02-2721552-3 ต่อ 18 ติดต่อ คุณกวีนา จงฐิตินนท์ Strategic Planning and PR website: http://www.tipmse.or.th/th/about/index.aspx Email: tipmse_news@hotmail.com ตัวแทนประชาสัมพันธ์ บริษัทพีคคีปคอมมูนนิเคชั่น จำกัด 132 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพ 10240 โทรศัพท์ 02-732-9662 ติดต่อ คุณกัลยารัตน์ วิกรัยพัฒน์ Operation Coordinator Email: peekkeep@hotmail.com