กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--ปภ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอรายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ และปริมาณน้ำฝน(ข้อมูล ณ วันที่ 14 กันยายน 2551)ดังนี้
1. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาฉบับที่ 17 (333/2551) เรื่องฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากประจำวันที่ 14 กันยายน 2551 เวลา 10.30 น.ดังนี้
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางและ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงรายเชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในที่ราบลุ่มและบริเวณที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย
อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2เมตรขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในช่วงวันที่ 14-16กันยายนนี้ไว้ด้วย
2. ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 07.00 น. วันที่ 13 ก.ย.51 ถึง 07.00 น. วันที่ 14 ก.ย.51 ดังนี้
จังหวัดน่าน (อ.สองแคว) 65.9 มม. จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อ.แม่สะเรียง) 47.9 มม.
จังหวัดพิษณุโลก (อ.ดอนจาน) 45.0 มม. จังหวัดแพร่ (อ.เมือง) 44.0 มม.
จังหวัดนครพนม (อ.นาแก) 168.0 มม. (อ.วังยาง) 160.0 มม.
(อ.ธาตุพนม) 130.2 มม. (อ.เรณูนคร) 113.0 มม.
จังหวัดอุดรธานี (อ.ไชยวาน) 145.0 มม. (อ.กู่แก้ว) 138.2 มม.
(อ.กุมภวาปี,หนองหาน)116.0 มม. (อ.พิบูลย์รักษ์) 110.0 มม.
จังหวัดอุบลราชธานี (อ.ศรีเมืองใหม่) 140.0 มม. (อ.เขมราฐ) 128.6 มม.
จังหวัดสกลนคร (อ.วานรนิวาส) 127.6 มม. (อ.เมือง) 122.5 มม.
(อ.อากาศอำนวย) 120.5 มม. (อ.เจริญศิลป) 118.0 มม.
(อ.เมือง) 114.1 มม. (อ.นิคมน้ำอุ่น) 107.9 มม.
จังหวัดเลย (อ.เมือง) 124.5 มม. (อ.ท่าลี่) 100.0 มม.
จังหวัดมุกดาหาร (อ.ดงหลวง) 121.8 มม. จังหวัดกาฬสินธุ์ (อ.กุฉินารายน์) 100.0 มม.
จังหวัดกาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ) 36.8 มม. จังหวัดสระแก้ว (อ.คลองหาด) 40.0 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.เมือง) 40.0 มม. จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 13.7 มม.
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(ข้อมูล ณ วันที่ 14 กันยายน 2551)อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 48,501 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (50,380 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,897 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 404.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 7,123 และ 7,449 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53 และ 78 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,572 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯวันนี้ 13.03 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง (หน่วย:ล้านลูกบาศก์เมตร ) ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระบาย ปริมาณน้ำ
รับได้อีก
ปริมาตรน้ำ %ของความจุ ปริมาตรน้ำ %ของความจุ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.51 วันนี้ เมื่อวาน
1.แม่กวงฯ 50 19 36 14 186 1.60 73 0.82 0.82 213
4.สถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในห้วงระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2551 ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากดังนี้
4.1 พื้นที่ประสบภัยรวม 12 จังหวัด 25 อำเภอ 118 ตำบล 666 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก และจังหวัดชลบุรี
4.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 5 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 อ.มวกเหล็ก 1) จ.นครราชสีมา 2 คน(อ.ปากช่อง 1 อ.ปักธงชัย 1) จ.ลพบุรี 1 คน(อ.โคกสำโรง) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 34,182 ครัวเรือน 114,345 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 4 หลัง บางส่วน 332 หลัง สะพาน 16 แห่ง ถนน 147 สาย โรงเรียน 4 สถานที่ราชการ 10 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 100,000 ไร่
3) มูลค่าความเสียหาย (อยู่ระหว่างการสำรวจ)
5. สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 6 จังหวัดได้แก่จังหวัดเพชรบูรณ์นครราชสีมา ปราจีนบุรี ตาก นครสวรรค์ และจังหวัดนครนายก ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย และจังหวัดชลบุรีดังนี้
5.1 จังหวัดพิษณุโลกเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 ก.ย.51 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอ 11 ตำบล 36 หมู่บ้าน ดังนี้
1) อำเภอวังทอง 5ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16) ตำบลชัยนาม(หมู่ที่ 2,3,5,7) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 2) และตำบลดินทอง (หมู่ที่ 1)ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
2) อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล 5 หมู่บ้านได้แก่ ตำบลชมพู (หมู่ที่ 3,5,7,12) และตำบล บ้านมุง (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3) อำเภอเมือง 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- สนง.บำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
5.2 จังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จนถึงวันที่ 12 ก.ย.51 เวลาประมาณ 01.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 1 คน) ราษฎรเดือดร้อน 113,995 คน 33,287 ครัวเรือน ได้แก่อำเภอเมืองโคกสำโรง ชัยบาดาล หนองม่วง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ และอำเภอลำสนธิปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ(คลี่คล้ายแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สระโบสถ์ อ.โคกเจริญ และลำสนธิ) ดังนี้
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลท่าศาลา (หมู่ที่ 1-8) เขาสามยอด (หมู่ที่ 1-7) ท่าแค(หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10) กกโก (หมู่ที่ 1,2,4,7,8) โคกตูม (หมู่ที่ 4,7,14,16) ถนนใหญ่ (หมู่ที่ 1-6) และตำบลป่าตาล (หมู่ที่ 1-8) และในเขตเทศบาลเมืองบริเวณวงเวียน พระนารายณ์หน้าศาลากลางจังหวัด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,239 ครัวเรือน 24,956 คน
2) อำเภอโคกสำโรง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 13 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกสำโรง ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1-9) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 1-8) วังจั่น (หมู่ที่ 1-7) เกาะแก้ว (หมู่ที่ 1-11) หนองแขม (หมู่ที่ 1-13) หลุมข้าว (หมู่ที่ 1-11) ห้วยโป่ง (หมู่ที่ 1-12) วังขอนขาว (หมู่ที่ 1-6) คลองเกตุ (หมู่ที่ 1-10) เพนียด (หมู่ที่ 1-10) สะแกราบ (หมู่ที่ 1-15) วังเพลิง (หมู่ที่ 1-13) และตำบลดงมะรุม(หมู่ที่ 1-12)ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายสายยล คลังผา อายุ45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,500 ครัวเรือน 19,000 คน
3) อำเภอชัยบาดาล เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาแหม (หมู่ที่ 1-7) ศิลาทิพย์ (หมู่ที่ 5,6,11) ม่วงค่อม (หมู่ที่ 1,4,5,6,7) หนองยายโต๊ะ (หมู่ที่ 3,6,8) ชัยบาดาล(หมู่ที่ 8) และตำบลลำนารายณ์ (หมู่ที่ 12) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,332 ครัวเรือน 13,328คน
4) อำเภอหนองม่วง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองม่วง (หมู่ที่ 1-10) บ่อทอง (หมู่ที่ 1-12) ดงดินแดง (หมู่ที่ 1-11) ชอนสมบูรณ์ (หมู่ที่ 1-12) ยางโทน (หมู่ที่ 1-10) และตำบลชอนสารเดช (หมู่ที่ 1-11)ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
5) อำเภอบ้านหมี่เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะพี้หินปัก ดอนดึง ดงพลับ บ้านทราย และตำบลบ้านกล้วย ราษฎรเดือดร้อน 1,305 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 72 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,500 ชุดชุดยาเวชภัณฑ์ 4,000 ชุด
- กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 35 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
5.3 จังหวัดสระบุรีเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากใน 2 อำเภอ 16 ตำบล 1 เทศบาล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
1) อำเภอแก่งคอย เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 13 ตำบล51 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทับกวาง (หมู่ที่ 3,4,6,7,9) ตำบลชะอม (หมู่ที่ 1-11) ตำบลท่าตูม ตำบลบ้านธาตุ ตำบลห้วยแห้งตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว ตำบลหินซ้อน ตำบลซำผักแพรว (หมู่ที่ 1-10) ตำบลท่ามะปราง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบ้านป่า(หมู่ที่2,9,10,11) และตำบลสองคอน (หมู่ที่ 3,4,5,6,10,11) และตำบลท่าคล้อ (หมู่ที่ 1-11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.(มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นางสมพงษ์ กุหามบ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 ม.7 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย)
2) อำเภอมวกเหล็ก เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาตามคลองมวกเหล็กเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 ตำบล 1 เทศบาล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลมวกเหล็กบริเวณชุมชนมวกเหล็กนอก โรงพยาบาลมวกเหล็ก โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา พื้นที่ตำบลมวกเหล็ก (หมู่ที่ 1,2,4,9,11) ตำบลลำพญากลาง (หมู่ที่ 1,6,8,14,16) ตำบลมิตรภาพ (หมู่ที่ 9,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายแดง ไม่ทราบนามสกุล)
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี ได้นำถุงยังชีพ และน้ำดื่มมอบให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 100 ชุด อำเภอหนองแซงนำกระสอบทราย จำนวน 500 คิว ปิดกั้นประตูน้ำบริเวณคลองระพีพัฒน์ เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ล้นเข้าท่วมในพื้นที่ และเทศบาลตำบลทับกวางตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอพยพประชาชน จำนวน 150 คน ไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และเต็นท์ที่พักให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
- เทศบาลมวกเหล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่ ได้จัดทำป้ายสัญญาณ แจ้งเตือนให้ระมัดระวังในการใช้ถนน พร้อมจัดทำทางเบี่ยงให้รถสามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวแล้ว
- กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ สนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่ปลอดภัย
5.4 จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีไหลเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่ากระดาน และตำบลลาดกระทิง (ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ)
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท)ต่อไป
5.5 จังหวัดเลย ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากแม่น้ำเลยเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรที่ติดริมน้ำ จำนวน3 ตำบล 4 ชุมชน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกุดป่อง (ชุมชนบ้านติ้ว ชุมชนตลาดเมืองใหม่ ชุมชนสำนักสงฆ์บ้านทับมิ่งขวัญชุมชนหน้าที่ทำการไปรษณีย์จังหวัด) ตำบลนาอาน (หมู่ที่ 2,9)และตำบลชัยพฤกษ์ (หมู่ที่ 11) ราษฎรเดือดร้อน 260 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเรือท้องแบน 8 ลำ เจ้าหน้าที่ 75 คนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท)ต่อไป พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย
5.6 จังหวัดชลบุรี ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ 8 ตำบล ได้แก่ อำเภอเกาะจันทร์ (ตำบลเกาะจันทร์) อำเภอพนัสนิคม (ตำบลหนองเหียง วังหิน บ้านช้างไร่หลักทอง)และอำเภอพานทอง (ตำบลหนองกะขะ มาบโป่ง หนองหงส์)ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท)ต่อไป โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำ โดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม ประตูระบายน้ำพานทอง และประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง
6. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ จึงขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) เขต 10 (ลำปาง) เขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เขต 12 (สงขลา)และจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เลย สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรีลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครนายก ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
7. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป