กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--กรมวิทยาศาสตร์
กรมวิทยาศาสตร์บริการจะเปิดห้องปฏิบัติการใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบสารพลาสติไซเซอร์ในปะเก็นพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกและในอาหาร เพื่อรองรับกฎระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งให้ความสำคัญและเข้มงวดกับปริมาณสารพลาสติไซเซอร์ที่ละลายลงสู่อาหาร เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มีห้องปฏิบัติการหน่วยงานในประเทศไทยให้บริการทดสอบพลาสติไซเซอร์และสารตกค้างในกลุ่มนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กฏระเบียบกับการทดสอบพลาสติไซเซอร์และสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์พลาสติกของสหภาพยุโรป ” ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 1 กันยาย 2551 โดยมี ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการสัมมนา วิทยากรที่ได้เชิญมาบรรยายได้แก่ Mr. Maurus Biedermann จาก Official Food Control Authority of The Canton of Zurich, Switzerland. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการทดสอบสารปนเปื้อน สารตกค้างจากภาชนะและวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร โดยใช้เทคนิคเฉพาะชั้นสูงที่มีความพิเศษต่าง ๆ เช่น GC-MS ซึ่งใช้อุปกรณ์ฉีดชนิด Programmable Temperature Vaporizer (PTV), GC-FID, HPLC online GC-FID สารดังกล่าวเกิดจากวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร เช่น พลาสติไซเซอร์ในปะเก็นพลาสติก (ที่อยู่ภายในฝาปิดขวด) พลาสติไซเซอร์ที่ละลายลงสู่อาหาร สารปนเปื้อนที่ตกค้างจากสารเคลือบกระป๋องบรรจุอาหาร สาร Acrylamide ในอาหาร Mr. Maurus Biedermann ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์และฝึกอบรมบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการ และในเร็ว ๆ นี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการจะเปิดห้องปฏิบัติการใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบสารพลาสติไซเซอร์ในปะเก็นพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกและในอาหาร เพื่อรองรับกฎระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งให้ความสำคัญและเข้มงวดกับปริมาณสารพลาสติไซเซอร์ที่ละลายลงสู่อาหาร คุณสุมาลี ทั่งพิทยกุล หัวหน้าห้องปฏิบัติการกลุ่มงานภาชนะบรรจุอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ .คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณเดือน มกราคม 2552
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2201-7189 e-mail : sumalee@dss.go.th