รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ และปริมาณน้ำฝน วันที่ 19 กันยายน 2551 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Friday September 19, 2008 09:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--ปภ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอรายงานสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 19 กันยายน 2551 ดังนี้
1. สภาพอากาศ
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 19 กันยายน 2551 เวลา 06.00 น. ดังนี้ (กรมอุตุนิยมวิทยา) ร่องความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง เช่นบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตราย จากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ที่อาจเกิดซ้ำขึ้นได้อีกจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในระยะนี้
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น. วันที่ 18 ก.ย.51 ถึง 01.00 น. วันที่ 19 ก.ย.51 ดังนี้
2.1 ข้อมูลรายภาค
ภาคเหนือ ที่ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 138.2 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 59.4 มม.
ภาคกลาง ที่ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 36.2 มม.
ภาคตะวันออก ที่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 51.8 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 40.3 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 122.8 มม.
2.2 ข้อมูลปริมาณฝนในพื้นที่เกิดสถานการณ์
จังหวัดพิษณุโลก (ศูนย์วิจัยข้าว อ.วังทอง) 31.3 มม. จังหวัดพิจิตร (อ.เมือง) 55.5 มม.
จังหวัดลพบุรี (อ.ชัยบาดาล) 40.0 มม. จังหวัดขอนแก่น (อ.พระยืน) 158.3 มม.
จังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต) 7.6 มม. จังหวัดจันทบุรี (อ.แหลมสิงห์) 230.6 มม.
จังหวัดตราด (อ.คลองใหญ่) 14.5 มม. จังหวัดสระบุรี (ไม่มีฝนตกในพื้นที่)
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กันยายน 2551) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 50,062 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (51,075 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,013 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 2 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 462.1 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 78 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 7,336 และ 7,592 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 และ 80 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,928 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 12.92 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่าง (หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร ) ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระบาย ปริมาณน้ำ
รับได้อีก
ปริมาตรน้ำ %ของความจุ ปริมาตรน้ำ %ของความจุ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.51 วันนี้ เมื่อวาน
1.น้ำอูน 466 90 423 81 443 11.20 339 0.84 1.00 54
2. ลำพระเพลิง 108 98 107 97 184 3.70 129 1.26 1.04 2
3. ศรีนครินทร์ 15,175 86 4,910 28 4,339 24.90 2,735 4.96 2.51 2,570
4. ขุนด่านฯ 204 91 199 89 337 4.30 68 2.11 1.87 20
5. ประแสร์ 229 92 209 84 295 8.40 196 2.81 2.81 19
4. สถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในห้วงระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2551 ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ดังนี้
4.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 18 จังหวัด 74 อำเภอ 351 ตำบล 2,421 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก ชลบุรี พิจิตร ตราด จันทบุรี สุโขทัย ขอนแก่น และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
4.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 6 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 อ.มวกเหล็ก 1) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 อ.ปักธงชัย 1) จ.ลพบุรี 1 คน (อ.โคกสำโรง) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 160,670 ครัวเรือน 527,793 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 16 แห่ง ทำนบ/ฝาย 5 แห่ง ถนน 207 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 สถานที่ราชการ 10 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 23 บ่อ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 100,000 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 28,566,971 บาท
5. สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ตาก นครสวรรค์ นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี และชลบุรี ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี พิจิตร ขอนแก่น และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้
5.1 จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 ก.ย.51 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอ 20 ตำบล 88 หมู่บ้าน ดังนี้
1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16,17) ตำบลชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,9) ตำบลวังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) ตำบลวังพิกุล (หมู่ที่ 1,2,4,8,14) ตำบลดินทอง (หมู่ที่ 1,2,3,5,7) ตำบล ท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11,13,14) และตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลชมพู (หมู่ที่ 3,5,7,12) และตำบล บ้านมุง (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
3) อำเภอเมือง 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) ตำบลอรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) ตำบลบ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- สนง.บำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
5.2 จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จนถึงวันที่ 12 ก.ย.51 เวลาประมาณ 01.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 1 คน) ราษฎรเดือดร้อน 113,995 คน 33,287 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอหนองม่วง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ และอำเภอ ลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ (คลี่คลายแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สระโบสถ์ อ.โคกเจริญ และอำเภอลำสนธิ) ดังนี้
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด ตำบลท่าแค ตำบลถนนใหญ่ ตำบลป่าตาล และตำบลโคกกระเทียม ระดับน้ำ 0.20-0.50 ม.
2) อำเภอโคกสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำโรง ตำบลถลุงเหล็ก ตำบลวังจั่น ตำบลเกาะแก้ว ตำบลหนองแขม ตำบลหลุมข้าว ตำบลห้วยโป่ง ตำบล วังขอนขาว ตำบลคลองเกตุ ตำบลเพนียด ตำบลสะแกราบ ตำบลวังเพลิง และตำบลดงมะรุม (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายสายยล คลังผา อายุ 45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,555 ครัวเรือน 33,822 คน ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม.
3) อำเภอชัยบาดาล เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเขาแหม ตำบลศิลาทิพย์ ตำบลม่วงค่อม ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลชัยบาดาล และตำบลลำนารายณ์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,332 ครัวเรือน 13,328 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
4) อำเภอหนองม่วง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลหนองม่วง ตำบลบ่อทอง ตำบลดงดินแดง ตำบลชอนสมบูรณ์ ตำบลยางโทน และตำบลชอนสารเดช ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
5) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 21 ตำบล 157 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเชียงงา ตำบลโพนทอง ตำบลสนามแจง ตำบลหนองทรายขาว ตำบลหนองเต่า ตำบลพุกา ตำบลบ้านชี ตำบลมหาสอน ตำบลบางขาม ตำบลบางพึ่ง ตำบลไผ่ใหญ่ ตำบลสายห้วยแก้ว ตำบลหนองกระเบียน ตำบลหนองเมือง ตำบลหินปัก ตำบลดอนดึง ตำบลดงพลับ ตำบลบางกะพี้ ตำบลชอนม่วง ตำบลบ้านทราย และตำบลบ้านกล้วย ราษฎรเดือดร้อน 3,267 ครัวเรือน 13,068 คน ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 72 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,500 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 4,000 ชุด
- กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 35 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
5.3 จังหวัดสระบุรี เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากใน 11 อำเภอ 38 ตำบล 1 เทศบาล ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 5 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอแก่งคอย เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 13 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทับกวาง ตำบลชะอม ตำบลท่าตูม ตำบลบ้านธาตุ ตำบลห้วยแห้ง ตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว ตำบลหินซ้อน ตำบลซำผักแพรว ตำบลท่ามะปราง ตำบลบ้านป่า ตำบลสองคอน และตำบลท่าคล้อ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นางสมพงษ์ กุหลาบ อายุ 33 ปี 26 ม.7 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย)
2) อำเภอมวกเหล็ก เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาตามคลองมวกเหล็กเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 ตำบล 1 เทศบาล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลตำบลมวกเหล็กบริเวณชุมชนมวกเหล็กนอก โรงพยาบาลมวกเหล็ก โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา พื้นที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลลำพญากลาง และตำบลมิตรภาพ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายมนตรี แก้วตา อายุ 49 ปี 133/10 ต.ปากเพรียว อ.เมือง )
3) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลตลิ่งชัน (หมู่ที่ 3,4,5,7) และ ตำบลกุดนกเปล้า (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7)
4) อำเภอหนองแค เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลกุ่มหัก (หมู่ที่ 4,5,7,12) ตำบลหนองโรง (หมู่ที่ 1-4,10) และตำบลไผ่เต่า (หมู่ที่ 1,2,6,7,8)
5) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 6 ตำบล ได้แก่ตำบลเขาดินพัฒนา (หมู่ที่ 1-3,5) ตำบลหน้าพระลาน (หมู่ที่ 4,11) ตำบลห้วยบง (หมู่ที่ 4-9) ตำบลพุแค (หมู่ที่3,4,9) ตำบลผึ้งรวง (หมู่ที่1-5) และตำบลบ้านแก้ง (หมู่ที่ 1-4)
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี ได้นำถุงยังชีพ และน้ำดื่มมอบให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 2,750 ชุด เรือท้องแบน และเรือไฟเบอร์กลาส จำนวน 52 ลำ อำเภอหนองแซงนำกระสอบทราย จำนวน 500 คิว ปิดกั้นประตูน้ำบริเวณคลองระพีพัฒน์ เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ล้นเข้าท่วมในพื้นที่ และเทศบาลตำบลทับกวางตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอพยพประชาชน จำนวน 150 คน ไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และเต็นท์ที่พักให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
- เทศบาลตำบลมวกเหล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่ ได้จัดทำป้ายสัญญาณ แจ้งเตือนให้ระมัดระวังในการใช้ถนน พร้อมจัดทำทางเบี่ยงให้รถสามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวแล้ว
- กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ สนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่ปลอดภัย
5.4 จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ อำเภอเมือง 17 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านเป็ด (หมู่ที่ 1-23) ตำบลสำราญ (หมู่ที่ 1,11) ตำบลแดงใหญ่ (หมู่ที่ 1,2,5,6,9,10,11) ตำบลศิลา (หมู่ที่ 1, 4-15 ,18, 20-28) ตำบลดอนช้าง (หมู่ที่ 2,3,5,8) ตำบลเมืองเก่า (หมู่ที่ 1-17) ตำบลโนนท่อน (หมู่ที่ 1-14) ตำบลโคกสี (หมู่ที่ 1-14) ตำบลบ้านทุ่ม (หมู่ที่ 1-18) ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 1-15) ตำบลบ้านหว้า (หมู่ที่ 1,2,5,6,8) ตำบลท่าพระ (1-22) ตำบลบ้านค้อ (หมู่ที่ 3,6,10-14,16,18-20) ตำบลบึงเนียม (หมู่ที่ 1-12) ตำบลหนองตูม (หมู่ที่ 1-11) ตำบลสาวะถี (หมู่ที่ 1,3-6,11-24) และตำบลพระลับ (หมู่ที่ 1-19)
- ถนนมิตรภาพช่วง กม.ที่ 420 คอสะพานขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ แขวงการทางที่ 3 ขอนแก่น และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น ได้ติดตั้งสะพานแบลีย์ชั่วคราว พร้อมติดป้ายสัญญาณเตือนให้ใช้รถด้วยความระวัง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 5 ลำ ฯ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดไปเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ อปพร. เข้าช่วยเหลือโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดตลอด 24 ชั่วโมง
- มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย ให้การช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัย
5.5 จังหวัดพิจิตร น้ำจากเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์ไหลลงสู่คลองวังแดงทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรใน 9 อำเภอ 29 ตำบล 130 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอดงเจริญ อำเภอทับคล้อ อำเภอสากเหล็ก อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอวังทรายพูน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มการเกษตรบางพื้นที่ โดยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
5.6 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น.เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง ตำบลบ้านกาศ (บ้านแม่ต๊อก) มีผู้เสียชีวิต 1 คน ทราบชื่อ นาง ศรีจันทร์ วนาสงบ อายุ 40 ปี ชาวบ้าน บ้านแพะ ต.บ้านกาศ (ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ)
6. การให้ความช่วยเหลือ
6.1 สิ่งของพระราชทาน
1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในท้องที่จังหวัดลพบุรี เลย พิษณุโลก และจังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 16-18 ก.ย.51 ดังนี้
1.1) ในวันนี้ (18 ก.ย.51) มอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดตาก
- ที่โรงเรียนแม่ดาวมิตรภาพที่ 26 จำนวน 500 ชุด
- ที่ อบต.ด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จำนวน 300 ชุด
1.2) วันที่ 19 ก.ย. 51 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ดังนี้
- ที่ ศาลาการเปรียญวัดปากแคว ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย จำนวน 500 ชุด
- ที่ ศาลาการเปรียญวังกงไกรลาศ ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จำนวน 500 ชุด
1.3) วันที่ 20 ก.ย. 51 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ดังนี้
- ที่ ศาลาการเปรียญวัดห้วยเขน ตำบลห้วยเขน อำเภอบางมูลนาก จำนวน 500 ชุด
2) กองงานพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นำโดยพลอากาศเอก ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง ผู้อำนวยการกองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทาน
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่วัดแก้วจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 2,000 ชุด นมอัดเม็ดจิตรลดา จำนวน 70 กล่อง
3) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดมอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี 1,000 ชุด จังหวัดปราจีนบุรี 400 ชุด จังหวัดนครนายก 500 ชุด จังหวัดนครสวรรค์ 800 ชุด จังหวัดลพบุรี 1,500 ชุด เรือท้องแบน 9 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
6.2 การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัย
1) เมื่อวันที่ 18 ก.ย.51 เวลา 08.00 น. รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะฯ เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมกับมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ที่วัดท่ามะปราง ตำบลหมูสี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 300 ชุด จากนั้นจะเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมกับมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ที่สนามกีฬาเทศบาลตำบลองครักษ์ และที่ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก จำนวน 350 ชุด และเดินทางต่อไปยัง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อตรวจสถานการณ์ และมอบถุงยังชีพ ที่วัดท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม จำนวน 100 ชุด และที่หอประชุมเทศบาลตำบลเกาะขนุน จำนวน 350 ชุด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับการตรวจเยี่ยม
2) เมื่อวันที่ 18 ก.ย.51 เวลา 09.30 น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) และคณะฯ เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมกับมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ที่บ้านป่าหวายทุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 500 ชุด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับการตรวจเยี่ยม
3) ในวันนี้ 19 ก.ย.51 เวลา 10.30 น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะฯ เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยพร้อมกับมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ที่วัดสะพาน หมู่ที่ 4 ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 500 ชุด และ ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 200 ชุด
7. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ระหว่างวันที่ 18-21 ก.ย.51 ดังนี้
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากฝนตกหนัก และลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) เขต 10 (ลำปาง) และจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เลย หนองบัวลำภู นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เลย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ