รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ และปริมาณน้ำฝน ประจำวันที่ 22 กันยายน 2551 ณ เวลา 18.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday September 23, 2008 07:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--ปภ.
1. สภาพอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา)
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 22 กันยายน 2551 เวลา 17.00 น. ดังนี้
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชน อาทิ เช่นบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และขอนแก่น ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ สำหรับคลื่นในทะเล อันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือระวังอันตรายจากการเดินเรือ ในช่วงวันที่ 22-25 ก.ย.นี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ฮากุปิต” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้บริเวณเกาะฮ่องกง ประมาณวันที่ 24 ก.ย.51 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น. วันที่ 21 ก.ย.51 ถึง 07.00 น. วันที่ 22 ก.ย.51 ดังนี้
2.1 ข้อมูลรายภาค
ภาคเหนือ ที่ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 37.6 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี 110.9 มม.
ภาคกลาง ที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 7.3 มม.
ภาคตะวันออก ที่ อำเภอขลุง,สอยดาว จังหวัดจันทบุรี 20.0 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 78.8 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 12.3 มม.
2.2 ข้อมูลปริมาณฝนในพื้นที่เกิดสถานการณ์
จังหวัดพิษณุโลก (อ.วังทอง) 37.6 มม. จังหวัดชัยภูมิ (อ.หนองบัวแดง) 50.4 มม.
จังหวัดขอนแก่น (อ.พระยืน) 55.6 มม. จังหวัดจันทบุรี (อ.ขลุง,สอยดาว) 20.0 มม.
จังหวัดลพบุรี (ไม่มีฝนตกในพื้นที่) จังหวัดปราจีนบุรี (ไม่มีฝนตกในพื้นที่)
จังหวัดหนองบัวลำภู (ไม่มีฝนตกในพื้นที่)
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2551)
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 51,509 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (52,131 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 622 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 484.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 7,489 และ 7,725 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56 และ 81 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 15,214 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 10.06 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 11 อ่าง (หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร ) ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระบาย ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ % ของความจุ ปริมาตรน้ำ %ของความจุ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่1ม.ค.51 วันนี้ เมื่อวาน
1.สิริกิติ์ 7,725 81 4,875 51 5,391 31.60 6,079 5.06 5.01 1,785
2.กิ่วลม 94 84 90 81 578 5.90 228 6.08 5.27 18
3.ห้วยหลวง 115 97 109 92 161 2.90 134 0.13 0.13 3
4.น้ำอูน 483 93 440 85 443 3.40 361 0.86 0.86 37
5.ลำพระเพลิง 113 103 112 102 184 1.30 142 1.04 2.07 0
6.สิรินธร 1,631 83 800 41 1,664 56.40 1,529 4.54 335
7.ศรีนครินทร์ 15,235 86 4,970 28 4,339 27.80 2,828 4.60 8.14 2,510
8.วชิราลงกรณ 7,153 81 4,141 47 5,369 49.30 4,860 20.93 1,707
9.ขุนด่านฯ 210 94 205 92 337 4.37 289 5.29 4.96 14
10.หนองปลาไหล 137 83 123 75 203 0.80 93 0.56 0.64 27
11.ประแสร์ 240 97 220 89 295 3.90 216 1.97 1.96 8
4. สภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 22 ก.ย.51 เวลา 06.00 น.)
ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,508 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 107 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,833 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 48 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปริมาณน้ำไหลผ่าน สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณเฉลี่ย 2,468 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เมื่อวาน 2,676 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที )
- กรณีปริมาณน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยาของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
5. สถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในห้วงระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2551 — ปัจจุบัน ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมี ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ดังนี้
5.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 21 จังหวัด 102 อำเภอ 525 ตำบล 3,637 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี เลย สระบุรี ขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจันทบุรี
5.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 11 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 อ.มวกเหล็ก 1) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 อ.ปักธงชัย 1) จ.ลพบุรี 1 คน (อ.โคกสำโรง) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน อ.นากลาง 1 คน ) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 1 คน (อ.วัดโบสถ์)
- สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 272,612 ครัวเรือน 799,805 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 38 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง ถนน 951 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 297,862 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 114,957,778 บาท
6. สถานการณ์ปัจจุบัน
- สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก นครสวรรค์ นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี อุบลราชธานี และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ปราจีนบุรี และจังหวัดจันทบุรี
อนึ่ง สำหรับจังหวัดพิจิตร (มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว บริเวณที่ลุ่มต่ำของตำบลรังนก อำเภอสามง่าม ซึ่งท่วมเป็นประจำทุกปี)
6.1 จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 ก.ย.51 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรใน 4 อำเภอ 20 ตำบล 88 หมู่บ้าน ได้แก่
1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16,17) ชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,9) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 1,2,4,8,14) ดินทอง (หมู่ที่ 1,2,3,5,7) ท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11,13,14) และตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลชมพู (หมู่ที่ 3,5,7,12) และตำบลบ้านมุง (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
3) อำเภอเมือง 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
4) อำเภอวัดโบสถ์ เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 19 ก.ย.51 เกิดเขื่อนดินกั้นน้ำบริเวณเหนือเขื่อนแควน้อย รับน้ำไม่ไหวพัง ทำให้น้ำพัดเจ้าหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนที่กำลังถ่ายรูปจมน้ำ เสียชีวิต 1 คน คือ นายนฤชัย ชินวัณรัตน์ และสูญหาย 1 คน คือ นายเงิน ทองสุข ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 พิษณุโลก จัดส่งเจ้าหน้าที่ (ชุด ERT) และอุปกรณ์ร่วมกับมูลนิธิต่างๆ ในพื้นที่
- แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ แต่จะยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางแห่ง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- สนง.บำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
6.2 จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จนถึงวันที่ 12 ก.ย.51 เวลาประมาณ 01.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 1 คน) ราษฎรเดือดร้อน 125,747 คน 35,135 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง โคกสำโรง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ ชัยบาดาล หนองม่วง และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด (หมู่ที่ 4) ท่าแค (หมู่ที่ 1-10) ถนนใหญ่ (หมู่บ้านสิรันยา และหน้าเทศบาล) ป่าตาล (หมู่ที่ 1,4-7) และตำบลโคกตูม (หมู่ที่ 2,11) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอโคกสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 4) วังจั่น เกาะแก้ว (หมู่ที่ 1,2) หลุมข้าว (หมู่ที่ 4-11) และตำบลวังขอนขว้าง (หมู่ที่ 6) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายสายยล คลังผา อายุ 45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,555 ครัวเรือน 33,822 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
3) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองทรายขาว พุกา หนองเมือง หินปัก ดงพลับ บางกะพี้ บ้านทราย หนองกระเบียน และตำบลบ้านกล้วย ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
- แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งน้ำจากอำเภอโคกสำโรง และอำเภอเมือง จะไหลไปยังอำเภอบ้านหมี่
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 72 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,500 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 4,000 ชุด
- กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 35 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัด วัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
6.3 จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ และน้ำจากภูเขาในพื้นที่จังหวัดไหลลงคลองพะเนียงเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 58 ตำบล 531 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอนาวัง นากลาง เมือง ศรีบุญเรือง โนนสัง และอำเภอสุวรรณคูหา ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอนากลาง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงสวรรค์ กุดแห่ เก่ากลอย นากลาง ด่านช้าง อุทัยสวรรค์ โนนเมือง ฝั่งแดง และตำบลกุดดินจี่ (เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายคำมี สามา อายุ 71 ปี)
2) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองภัยศูนย์ หนองสวรรค์ กุดจิก พร้าว บ้านขาม โนนขมิ้น หนองหว้า โนนทัน หนองบัว หัวนา ป่าไม้งาม นาคำไฮ มะเฟือง และตำบลโพธิ์ชัย (เสียชีวิต 3 คน ชื่อ นายโชคชัย นันทะ อายุ 35 ปี นายจักคำ พรมต๊ะ อายุ 68 ปี และ นางสาวอุทัย ท้าววัน)
3) อำเภอศรีบุญเรือง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง นากอก โนนสะอาด ยางหล่อ หนองกุงแก้ว โนนม่วง กุดสะเทียน หนองแก หนองบัวใต้ หันนางาม และตำบลทรายทอง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
6.4 จังหวัดชัยภูมิ เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมใน 15 อำเภอ 106 ตำบล 513 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ 15 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ กาชาดจังหวัด องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเรือท้องแบน 10 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 280 ถุง น้ำดื่ม 100 โหล กระสอบทราย จำวน 30,000 กระสอบ โครงการชลประทานชัยภูมิ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 เครื่อง เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำห้วยประทาน ตลอด 24 ชั่วโมง
6.5 จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 10 อำเภอ 66 ตำบล 576 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านแฮด ชนบท มัญจาคีรี บ้านไผ่ ซำสูง โคกโพธิ์ไชย พล หนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมืองขอนแก่น น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 3,4,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
2) อำเภอชนบท น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง (หมู่ที่ 4-12) และตำบลชนบท (หมู่ที่ 4,5,6,10,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม.
3) อำเภอบ้านแฮด ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแฮด โคกสำราญ โนนสมบูรณ์ และตำบลหนองแซง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
4) อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหนอง หนองใส และตำบลบ้านไผ่ ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 24 ลำ ติดตั้งสะพานแบรี่ย์บริเวณคอสะพานที่ชำรุด แจกถุงยังชีพ 4,530 ชุด ข้าวกล่อง 200 กล่อง จัดหากระสอบทราย 4,000 กระสอบ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดไปเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ อปพร. เข้าช่วยเหลือโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดตลอด 24 ชั่วโมง
- มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย ให้การช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัย
6.6 จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักท้ายเขื่อนลำตะคอง ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ และตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ได้ไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา ปัจจุบันน้ำที่ท่วมในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ลดลงประมาณ 10 เซนติเมตร และมีแนวโน้มลดลง ซึ่งกรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำฯ ลำตะคอง ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เข้าช่วยเหลือ จำนวน 11 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำ จำนวน 5 เครื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู้ภาวะปกติใน 3-5 วัน
6.7 จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ มีน้ำท่วมขังใน 8 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ตำบลกบินทร์บุรี หนองกี่ หาดนางแก้ว ลาดตระเคียน ยานรี บ่อทอง วังตะเคียน และตำบลเมืองเก่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงขี้เหล็ก ดงพระราม รอบเมือง บ้านพระ โคกไม้ลาย ไม้เด็ด ท่างาม โนนห้อม เนินหอม บางเตชะ และตำบลวัดโบสถ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอศรีมหาโพธิ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกุ้ง หัวหว้า ท่าตูม ศรีมหาโพธิ บ้านทาม สัมพันธ์ หาดยาง ดงกระทงยาม หนองโพลง และตำบลกรอกสมบูรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือ จำนวน 30 ลำ กระสอบทราย 1,000 ถุง รถแบ๊คโฮร์ 2 คัน
6.8 จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 19 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้แม่น้ำจันทบุรีเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอมะขาม มีน้ำท่วมขังใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลปัถวี ตำบลฉมัน ตำบลวังแช้ม ตำบลท่าหลวง และตำบลมะขาม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอเมือง ระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่งท่วมผิวถนนริมฝั่งแม่น้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 ตำบล 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองจันทบุรี เทศบาลตำบลจันทนิมิต ตำบลพลับพลา คลองนารายณ์ แสลง และตำบลท่าช้าง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
- จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 5 ลำ กระสอบทราย จำนวน 30,000 กระสอบ
- กองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด สนับสนุนกำลังพล จำนวน 50 นาย ช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัย
7. การให้ความช่วยเหลือ
7.1 สิ่งของพระราชทาน
1) วันที่ 22 ก.ย. 51 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1,000 ชุด
2) วันที่ 22 ก.ย.51 กองงานพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารนำโดยพลอากาศเอก ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง ผู้อำนวยการกองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร จำนวน 1,500 ชุด
7.2 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้จัดส่งกำลังพล จำนวน 691 นาย รถบรรทุก จำนวน 54 คัน เรือ 3 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัย และยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
8. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ดังนี้
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากฝนตกหนัก และ คลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในระยะ 4-5 วันนี้ (24-28 ก.ย.51) จึงขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ ปภ.เขตฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย (กลุ่มงานปฏิบัติการ)
โทรศัพท์/โทรสาร 0-2241-7450-6 สายด่วนนิรภัย 1784

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ