"นักวิทย์รุ่นเยาว์โครงการ พสวท.ทำวิจัยเกี่ยวกับโรคในไทย

ข่าวทั่วไป Monday March 13, 2006 15:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--สสวท.
"นักวิทย์รุ่นเยาว์โครงการ พสวท.ทำวิจัยเกี่ยวกับโรคในไทย" นำเสนอในการประชุมวิชาการ "วิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชน" 14-15 มีนาคม 2549 ณ ไบเทค บางนา
นายชวรัช โรจนประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย: กรณีศึกษาในจังหวัดตาก โดยมี อาจารย์จูลิน สิคะสิริ ภาควิชาคณิตศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาโรคไข้เลือดออกเป็นโรคท้องถิ่นที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย โดยมียุงลายเป็นพาหะ แต่จำนวนยุงลายไม่ได้เป็น ปัจจัยเดียวที่ทำให้โรคนี้แพร่กระจายไปได้ ยังปัจจัยอื่น เช่น จำนวนคน และสภาพอากาศก็มีส่วนช่วยทำให้โรคนี้แพร่กระจายได้ดีเช่นกัน ในการศึกษานี้จะศึกษาตัวแบบการแพร่เชื้อโรคของไข้เลือดออกและหาปัจจัยสำคัญอื่นที่จะสามารถนำมาออกแบบมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพได้ โดยใช้วิธีการสร้างแบบจำลองแบบมอนติคาร์โลในการเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ที่ศึกษา ผลการศึกษาปรากฎว่า ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดคือ ลักษณะภูมิคุ้มกันเฉพาะของคน และอัตราการตายของยุง โดยควบคุมพาหนะจะลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อไวรัสและค่าใช้จ่ายในการควบคุมทั้งสองวิธี
นางสาวญาณวรรณ วงศ์ไชย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ได้ใช้ความรู้ทางชีววิทยา ทำการศึกษาการกลายพันธุ์ที่ exon 5-6 ของยีน TP53 ในผู้ป่วยมะเร็งปอดในเขตภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย โดยมี รศ.ดร.ดาวรุ่ง กังวานพงศ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยนี้ได้ศึกษาสายพันธุ์ของยีน TP53 บริเวณ exon 5 และ 6 ซึ่งเป็น exon ที่มีรายงานการกลายพันธุ์มากในหลายกลุ่มประชากร เช่น แอฟริกาใต้, ฝรั่งเศส เป็นต้นโดยคัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งปอดซึ่งเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จำนวน 35 ราย ทำการสกัดดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อปอดปกติ และเนื้อเยื่อมะเร็งปอดของผู้ป่วย ด้วยวิธีอินออร์แกนิก จากนั้นเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณ exon 5 และ 6 ของยีน TP53 ด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลีเมอเรส โดยใช้คู่ไพรเมอร์สจำเพาะ หาลำดับเบส ของผลผลิตดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้ แล้วจึงเปรียบเทียบลำดับเบสระหว่างดีเอ็นเอจากเลือด เนื้อเยื่อปอดปกติ และเนื้อเยื่อมะเร็งปอดในผู้ป่วยแต่ละราย กับลำดับเบสจากฐานข้อมูลของ GenBank ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษานี้ คือ ทำให้ทราบตำแหน่งและลักษณะการกลายพันธุ์ของยีน TP53 บริเวณ exon 5 และ 6 ในผู้ป่วยมะเร็งปอดซึ่งเป็นประชากรทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษามะเร็งปอดต่อไปในอนาคต
นางสาวจันจิรา รุจิรวณิช ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารยับยั้งเซลล์มะเร็ง OSW-1 โดยปฏิกิริยา MeMUrry Coupling ภายในโมเลกุล โดยมี รศ.ดร.บุญส่ง คงคาทิพย์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา สารสเตียรอยด์ซาโปนิน(NPOS) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา สารรสเตียรอยด์ซาโปนิน OSW-1 หรือ 3 B, 16 B, 17 a - trihydroxycholest-5-en-22-one 16-O-{O-(2-O(4-methoxybenzoyl)-B-D-xylopyranosyl)-(1-3)-2-O-acetyl-a-arabincpyranoside} เป็นไกลโคไซด์ ที่แยกได้จากส่วนหัวกาบใบของ Ormithogalum saudersiae ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลลิลลี่ และมีรายงานว่า OSW-1 สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด โดยมีค่า IC 50 ระหว่าง 0.1 -0.7 nM ซึ่งประสิทธิภาพดีกว่ายารักษาโรคมะเร็งที่ใช้ในปัจจุบัน การสังเคราะห์ OSW-1 aglycone สามารถสังเคราะห์ได้จาก Diosgenin ที่ได้จากต้น Wild Yam (Dioscored villosa) โดยเริ่มจากปฏิบัติกิริยาขจัดวง spiro โดยวิธี One pot reaction ได้จากสารที่มีหมู่คาร์บอนิลที่ C-20 และพันธะคู่ที่ C-16 และ C-17 จากนั้น จากนั้นทำการ oxidize พันธะคู่เป็น dihydroxy และทำปฏิกิริยา esterification กับ อนุพันธ์ของ malonic acid monester ซึ่งหลังจากนี้จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาต่อ side chain เข้าที่หมู่ค่าบอนิลที่ C-20 โดยใช้ปฏิกิริยา McMurry Coupling ภายในโมเลกุลเดียวกัน ตามด้วย hydrolysis และ decarboxylation ซึ่งผลิตผลที่ได้เมื่อนำไปต่อกับโมเลกุลของน้ำตาลจะได้สารประกอบ OSW-1
ทั้งนี้ผลงานดังกล่าว จะนำเสนอในงานประชุมวิชาการวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "วิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชน" ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2549 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร ภายในงานนี้มีการเสวนาเรื่อง 3 วัย....นักวิทย์กับชีวิตงานวิจัย การบรรยายและจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่าสี่ร้อยหัวข้อจากนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก และนักวิทยาศาสตร์ไทยในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี(พสวท.) และโครงการอื่นๆ และนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ โดยคลิกไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ เว็บไซต์ www.ipst.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ