ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. จัดงานเสวนาเรื่อง "LHC กุญแจไขเอกภพ"

ข่าวทั่วไป Monday October 6, 2008 15:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--สวทช.
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมงานเสวนาเรื่อง "LHC กุญแจไขเอกภพ" ในวันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม 2551 เวลา 13:00 น. -15.00 น. ณ. ห้อง 208 ตึก MHMK คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่สังคมไทยได้ร่วมเปิดประสบการณ์ความน่าอัศจรรย์ ร่วมไขความลับของธรรมชาติ และการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่นี้กับนักวิทยาศาสตร์ และชนชาติอื่น ๆ ทั่วทั้งโลก
รบกวนผู้ที่สนใจสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ thaismc@nstda.or.th หรือ 0 2564 7000 ต่อ 1461, 1462
ประเด็นที่น่าสนใจ
- เจาะลึกทำความรู้จักทุกแง่มุม CERN และโครงการ LHC ภาพรวม ที่มาโครงการ และพัฒนาการของโครงการ ตอลดจนหลักการการทำงานของเครื่อง LHC
- ติดตามสถานการณ์นับจากวันแรกจนถึงปัจจุบันของการเปิดเดินเครื่องเร่งอนุภาค(LHC)
- ความหวังในการพบอนุภาคชนิดใหม่ แท้จริงแล้วยังมีมิติอื่นๆ ที่ซ่อนตัวอยู่หรือไม่
- การทดลองครั้งนี้จะสามารถไขความลับของธรรมชาติ และเผยโฉมหน้าที่แท้จริงของการกำเนิดเอกภพได้อย่างไร
- เกาะติดการทดลองของ CERN ที่กำลังจะตามมา เช่น PLANCK LISA ฯลฯ ที่อาจจะทำให้เกิดการปฎิวัติทางวิทยาการครั้งใหม่
- ข้อมูลและผลจากการทดลอง LHC จะส่งผลต่อวงการวิทยาศาสตร์อย่างไรใน 3-5 ปีข้างหน้า
- การทดลอง LHC จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร
- คุณครูวิทยาศาสตร์ใช้โครงการ LHC กระตุ้นนักเรียนสนใจวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร และหากเด็กไทยอยากไปทำงาน ที่ CERN ควรมีความรู้และประสบการณ์พิเศษด้านใดบ้าง?
- เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย LHC : หนังสือเทวากับซาตาน ปฏิสสารจะทำลายล้างโลกได้จริงหรือไม่?
กำหนดการ
12.30 น. : ลงทะเบียน
13.00 -15.00 น. เสวนา เรื่อง "LHC กุญแจไขเอกภพ "
โดย
ผศ.ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาคซินโครตรอน
สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ นักทดลองฟิสิกส์อนุภาค ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ นักฟิสิกส์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายนรพัทธ์ ศรีมโนภาษ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับทุนไปทำงานวิจัยที่ CERN
ดำเนินรายการ
โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และที่ปรึกษาฯ
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.
สนใจสำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
โทร 0 2564 7000 ต่อ 1461, 1462 หรือทางอีเมล thaismc@nstda.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ