วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จัดโครงการค่ายวงดุริยางค์เยาวชนนานาชาติแห่งอุษาคเนย์ ครั้งที่ 3

ข่าวทั่วไป Friday September 23, 2005 14:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--124 คอมมูนิเคชั่นส
โครงการค่ายวงดุริยางค์เยาวชนนานาชาติแห่งอุษาคเนย์ ครั้งที่ 3
South-East Asian Youth Symphony Orchestra and Wind Ensemble
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพวงดุริยางค์ของเยาวชน ในกลุ่มประเทศอาเซียนสู่ระดับนานาชาติ
2. เพื่อสร้างบรรยากาศผู้นำของสังคม ให้การศึกษา และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน โดยใช้
ดนตรีเป็นสื่อ ให้กับเยาวชนอาเซียนได้พัฒนาไปพร้อมๆ กันสู่ระดับนานาชาติ
3. เพื่อพัฒนา แลกเปลี่ยน และนำเสนอการศึกษาดนตรีแนวใหม่กับเยาวชนอาเซียน
4. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ของเยาวชนอาเซียนโดยอาศัยดนตรีเป็นสื่อ และมีประเทศ
ไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้
หลักการและเหตุผล
การจัดโครงการค่ายสำหรับวงดุริยางค์เยาวชนนานาชาติแห่งภาคพื้นอุษาคเนย์ (South-East Asian Youth Symphony Orchestra and Wind Ensemble, SAYOWE) เป็นการรวบรวมเยาวชนที่มีความสามารถทางดนตรีสูง จากประเทศในกลุ่มภูมิภาคอุษาคเนย์ 10 ประเทศ คือ ประเทศลาว กัมพูชา เมียนม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิฟปินส์ บรูไน อินโนนีเซีย เวียตนาม และไทย โดยคัดเลือกเยาวชนดนตรี จำนวน 142 คน นำมาเข้าค่าย ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 วง คือวงดุริยางค์ซิมโฟนี (เครื่องสาย) และวงดุริยางค์เครื่องเป่า
ระหว่างการเข้าค่ายจะครูผู้สอนที่มีฝีมือสูง จำนวน 20 คน มีผู้ควบคุมวงดนตรี 2 คน และมีศิลปินรับเชิญ 3 คน และมีผู้ประสานงานจัดการ อีก 30 คน รวมเป็น 197 คน เยาวชนดนตรีเหล่านี้มีอายุระหว่าง 14-25 ปี โดยผ่านการคัดเลือกมาจากคณะกรรมการ ที่ฝ่ายจัดการได้แต่งตั้งขึ้น
การพัฒนาประเทศไทยในโลกอนาคต มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนบ้าน จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน การที่นำเยาวชนซึ่งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ซึ่งจะเป็นผู้นำในอนาคต ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันและเล่นดนตรีด้วยกัน เรียนดนตรีจากครูคนเดียวกัน เล่นดนตรีวงเดียวกัน เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยกันในอนาคต
อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่ยังต้องพัฒนาด้านวัฒนธรรมดนตรีอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านดนตรีสากล ทั้งวงดุริยางค์ซิมโฟนีออร์เคสตร้าและวงดุริยางค์เครื่องสาย หากจะดูจากกลุ่มที่พัฒนาแล้ว อย่างประเทศ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี เป็นกลุ่มเพื่อนบ้านที่ได้พัฒนาการดนตรีไปไกลมากแล้ว ดังนั้นโครงการค่ายวงดุริยางค์เยาวชนนานาชาติ วงดุริยางค์เยาวชนแห่งภาคพื้นอุษาคเนย์ จึงมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้เยาวชนในภูมิภาคได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป
ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาดนตรีในภูมิภาคได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากภูมิประเทศที่สวยงาม การเปิดกว้างเรื่องศาสนาและความเชื่อ การศึกษาที่เจริญ และเศรษฐกิจที่ดี
สำหรับครูผู้ฝึกสอนดนตรีในค่ายเยาวชนนั้น เป็นครูที่มีความสามารถสูง มีประสบการณ์ในการสอนเยาวชนดนตรี สามารถทำงานหนักและมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเยาวชนสู่ระดับนานาชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจากกลุ่มสแกนดิเนเวีย เยอรมัน ออสเตรีย รัสเซีย และครูดนตรีที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วจากประเทศไทย ซึ่งจำนวนหนึ่งเป็นครูดนตรีที่สอนอยู่ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่แล้ว
จำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 197 คน
นักดนตรี 2 วง จำนวน 142 คน
วิทยากรประจำเครื่องมือ 20 คน
ศิลปินรับเชิญ 3 คน
ผู้ควบคุมวงดนตรี 2 คน
คณะทำงาน 30 คน
เป้าหมายของโครงการ
1. เป็นการคัดเลือกเยาวชนดนตรีที่จากประเทศต่างๆ 142 คน จาก 10 ประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์ คือ ลาว กัมพูชา เมียนม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโนนีเซีย เวียดนาม และไทย
2. คัดเลือกนักดนตรีจำนวน 142 คน โดยแบ่งวงดนตรีออกเป็น 2 วงด้วยกัน คือวงดุริยางค์ซิมโฟนี (เครื่องสาย) และวงดุริยางค์เครื่องเป่า โดยมีครูผู้สอน 20 คน ผู้ควบคุมวงดนตรี 2 คน ศิลปินรับเชิญ 3 คน และผู้ประสานงานจัดการ อีก 30 คน รวมเป็น 197 คน นักเรียนดนตรีเหล่านี้มีอายุระหว่าง 14-25 ปี โดยได้รับการคัดเลือกมาจากคณะกรรมการฝ่ายจัดการได้แต่งตั้งขึ้น
3. สำหรับค่ายเยาวชนครั้งที่ 3 อันประกอบด้วยวงดุริยางค์ซิมโฟนี (เครื่องสาย) และวงดุริยางค์เครื่องเป่า จัดขึ้นที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) และแสดงคอนเสิร์ตที่หอแสดงดนตรี ของทางวิทยาลัยฯ
4. นำครูดนตรีที่มีความสามารถในระดับนานาชาติ มาสอนเยาวชนดนตรีเพื่อสร้างนักดนตรีเยาวชนให้
มีศักยภาพเอกสูงขึ้น สำหรับเป็นผู้นำในอนาคต
5. เชิญนักดนตรีเอกของโลกมาเป็นนักดนตรีรับเชิญแสดงร่วมกับวงเยาวชนดนตรี--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ