ขนาด...ใครว่าไม่สำคัญ? พิสูจน์ได้ในสารคดีชุด “Big, Bigger, Biggest” ทางเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ชาแนล

ข่าวบันเทิง Wednesday October 8, 2008 15:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
สัญชาตญาณมนุษย์เรา มักมีความทะเยอทะยานต้องการก้าวเป็นที่ 1 ไม่ว่ายุคสมัยไหน ย้อนกลับไปในปี 2006 ก่อนคริสตกาล ในตอนนั้น พีระมิดแดงของฟาโรห์สเนเฟรู ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับมนุษย์ในการเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงสุดในโลก ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในความพยายามสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่เหนือกว่า โดยประวัติศาสตร์ได้มีส่วนสำคัญในการทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ช่วยบ่งบอกฝีมือด้านสถาปัตยกรรมอันดีเลิศของสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่มีความสูงติดอันดับในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น โบสถ์ ลินคอห์น ในประเทศอังกฤษ มหาวิหารนอร์ทเธอร์ดาม และ หอไอเฟล ในประเทศฝรั่งเศส ตึกเอมไพร์เสตท ในประเทศสหรัฐอเมริกา และรวมไปถึงตึก ซีเอ็น ทาวเวอร์ ในประเทศแคนาดา ซึ่งในปีค.ศ. 2007 เคยได้รับชื่อว่าเป็นตึกที่สูงที่สุด โดยสถิติได้ถูกล้มล้างโดยสถาปัตยกรรมคลื่นลูกใหม่ นั่นก็คือ ตึกระฟ้าเบิร์จดูไบ ที่ได้กลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่ที่ทำลายสถิติของตึกที่สูงสุดในโลกเมื่อเร็วๆ นี้ แม้แต่ในประเทศไทยเราเอง ก็มีตึกที่สูงที่สุดในประเทศเช่นกัน นั่นก็คือ ตึกใบหยกทาวเวอร์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ครั้งหนึ่งได้เคยเข้าร่วมประชันความสูงกับตึกระฟ้าทั่วโลก และปัจจุบันระดับความสูงอยู่ในลำดับที่ 38
ทั้งหอคอยเบิร์จดูไบที่สูงประมาณ 700 เมตร และ เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz ขนาด 99,000 ตัน ต่างได้รับสมยานามว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด และได้แสดงให้โลกได้ประจักษ์ถึงความก้าวหน้าและความล้ำสมัยทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี สิ่งก่อสร้างตระการตาที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 นี้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดการพัฒนาที่อิงจากประวัติศาสตร์ที่สารคดีชุด ‘Big, Bigger, Biggest’ ได้ติดตามและนำเสนอแก่ผู้ชม
สารคดีชุด ‘Big, Bigger, Biggest’ ยังจะพาคุณผู้ชมเดินทางไปชมความอัจฉริยะในการสร้างสถาปัตยกรรมขนาดมหึมาที่ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ สารคดีชุดนี้ได้แสดงภาพรายละเอียดการก่อสร้างผ่านทางภาพจากคอมพิวเตอร์ ให้เห็นถึงลักษณะการโค้ง การบิด การเคลื่อนไหว และแม้แต่การพังทลาย เพื่อเผยให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสถาปัตยกรรมอันทันสมัยเช่น สะพานอาคาชิ ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นผู้ชมจะสามารถรับชมความสามารถอันน่าทึ่งของวิศวกรมือหนึ่ง ในการเคลื่อนย้ายหอคอยควบคุมการบินขนาด 1,000 ตัน ที่สนามบินฮีธโทร กรุงลอนดอน และรับชมการลงจอดเครื่องบิน F18 บนเรือ USS Nimitz ที่น่าทึ่ง
ติดตามชมความอลังการของสถาปัตยกรรมที่โลกได้จารึกได้ทางสารคดีชุด ‘Big, Bigger, Biggest’ ได้ทางทรูวิชั่น ยูบีซี 45 ในเดือนตุลาคมนี้
BIG, BIGGER, BIGGEST: SKYSCRAPER
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม เวลา 20:00น.
สารคดีตอนนี้จะพาคุณทะยานขึ้นไปเหนือท้องฟ้าไปสู่ความสูงเกือบ 600 เมตร เพื่อรับชมก่อนที่หอคอยตึกเบิร์จดูไบจะก่อสร้างเสร็จและก้าวเป็นตึกที่สูงสุดในโลก เพื่อรักษาตัวอาคารระฟ้าที่มีน้ำหนักมหาศาลให้ทรงตัวอยู่ได้ วิศวกรได้เลือกใช้โครงสร้างที่ทำจากเหล็กขนาดบางและเบา ที่ได้รับการคิดค้นในปีค.ศ. 1890 ที่เมืองชิคาโก้ และการก่อสร้างอาคารครั้งนี้ยังต้องใช้ปั๊มที่มีความแรงขนาด 630 แรงม้า เพื่อส่งคอนกรีตเกือบ 600 ตัน ขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อประกอบการสร้างตัวอาคาร ตึกเบิร์จดูไบนั้น มีความพิเศษและแตกต่างจากตึกอื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะที่เหมาะสมกับอากาศพลศาสตร์เพื่อช่วยป้องกันตัวอาคารจากพลังลมมหาศาลและป้องกันการเกิดลมพายุทอร์นาโด โดยอาคารยังใช้เทคนิคเดียวกันกับตึกไทเป 101 ที่เคยได้รับการบันทึกว่าสูงที่สุดก่อนหน้านี้ ซึ่งโครงสร้างอาคารสามารถป้องกันในกรณีเกิดแผ่นดินไหว อาคารสร้างด้วยคานเหล็กขนาดบางที่ใช้มีชื่อเรียกว่า “ด็อก โบน” ที่ทำให้ตัวตึกเบิร์จดูไบ นี้สามารถบิดไปมาได้และยืดขยายออกได้ เพื่อที่สามารถช่วยรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว นอกจากนั้นอาคารยังสร้างด้วยบานกระจกรูปแบบพิเศษที่ทำหน้าที่กันความร้อน อีกทั้งยังมีระบบเบรคลิฟท์ที่สามารถหยุดรับแรงน้ำหนักเทียบเท่ากับรถ 18 ล้อได้ และมีผนังม่านไฮเทคทำจากกระจกแก้วและเหล็ก ตึกเบิร์จดูไบจึงนับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ในทศวรรษนี้
อรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ บริษัท เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัด
เบอร์โทรศัพท์ : 02343-6059

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ