UCS นำเสนอโซลูชั่น “แผนสำรองข้อมูลฉุกเฉินที่ท่านไม่ควรมองข้าม”

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday October 14, 2008 09:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม
ในอดีตแผนสำรองฉุกเฉิน (Disaster Recovery) ยังเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจไม่มากนักสำหรับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่าง ๆ โดยเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว และอื่น ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อองค์กร ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านรายได้ ทรัพย์สิน และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งหลังจากเหตุภัยพิบัติสงบลง การแก้ไขปัญหานั้นจะทำได้เพียงแค่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การซ่อมแซมหน่วยงานหรือการจัดหาสถานที่ใหม่ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกรรมได้ต่อไปเท่านั้น
ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญในเรื่อง แผนสำรองฉุกเฉิน (Disaster Recovery) กันมากขึ้นโดยให้ความตระหนักถึงเหตุภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับกับเหตุภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้ โดยการจัดทำแผนสำรองฉุกเฉิน และในหลายหน่วยงานได้มีการจัดอบรมให้กับพนักงานเพื่อเรียนรู้การปฏิบัติและซักซ้อมตามแผนสำรองฉุกเฉิน
ในการทำแผนสำรองฉุกเฉินสำหรับหน่วยงานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรทุกระดับ ทั้งองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนพนักงานไม่มากนัก และองค์กรขนาดกลาง ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินธุรกรรมเพื่อการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยทำการวางแผนสำรองข้อมูลฉุกเฉินเพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรสามารถดำเนินธุรกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักหากเกิดเหตุภัยพิบัติหรือเหตุกาณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่น หากเกิดไฟไหม้สำนักงาน ถ้าสำนักงานนั้นได้มีการวางแผนสำรองข้อมูลฉุกเฉินไว้ ด้วยการนำเอาข้อมูลไปเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยและมีระบบงานสำรองข้อมูลไว้ ก็จะทำให้ข้อมูลไม่สูญหายหรืออาจจะมีการสูญหายเพียงบางส่วนเท่านั้นและยังสามารถกู้ระบบข้อมูลกลับคืนมาได้ ทำให้สำนักงานสามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำแผนนี้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับประเภทของระบบงานของแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพอีกด้วย
จากการทำแผนสำรองฉุกเฉินนั้น ได้ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง (Business Continuity) และยังทำให้หน่วยงานมั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นกับหน่วยงานของเรา ก็จะทำให้เรายังสามารถดำเนินธุรกรรมได้ต่อไปอย่างแน่นอน นอกจากนี้หากเป็นหน่วยงานทางด้านการให้บริการ เช่น ระบบ Call Center หรือผู้ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าย่อมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการลงทุนกับการทำแผนสำรองฉุกเฉินนี้ จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่าระบบงานสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อลูกค้าเชื่อมั่นในระบบของผู้ให้บริการแล้ว จะส่งผลให้มีลูกค้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อองค์กรทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอีกด้วย
ในโลกของธุรกิจ ทุกธุรกิจจะมีความเชื่อมโยงกันอยู่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด บริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็จัดได้ว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ระบบขนส่ง ระบบการสื่อสาร หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล โรงรับจำนำ โดยธุรกิจเหล่านี้หากวันใดวันหนึ่งเกิดหยุดชะงัก ไม่สามารถให้บริการได้ และไม่สามารถผลิตได้ จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่าผลกระทบจะมีต่อเจ้าของธุรกิจและผู้คนจำนวนมากที่จะต้องอาศัยธุรกิจเหล่านั้นในการดำรงชีวิต ดังจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม จึงไม่ควรละเลยต่อแผนสำรองฉุกเฉิน เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจแล้ว ยังได้ประโยชน์กับส่วนรวม อีกทั้งยังช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์กร ซึ่งนับเป็นผลตอบแทนทางอ้อมที่ไม่สามารถประเมินค่าได้
สำหรับหน่วยงานหรือบริษัทที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในสำนักงานและมีข้อมูลอันมีค่าเก็บอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์ของท่าน ความเสียหายที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้จะส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity) โดยแนวทางในการลดความเสี่ยงหรือทำให้ระบบสามารถกลับมาใช้งานได้คือ การจัดตั้ง DR Site (Disaster Recovery Site) ซึ่งประเภทของ DR Site สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับตามความเหมาะสมของธุรกิจ คือ
- Hot Site เป็นระบบสำรองจะสามารถใช้งานได้เหมือนระบบหลัก รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บทั้งสองแห่ง ลักษณะเหมือนเป็น Mirror Site หากเกิดภัยพิบัติขึ้นระบบสำรองสามารถทำงานแทนได้เกือบจะในทันที แต่มีข้อเสียคือ ต้องลงทุนสูง
- Warm Site เป็นระบบสำรองสามารถทำงานได้เหมือนระบบหลัก แต่ในส่วนของข้อมูลนั้นจะต้องจำข้อมูลที่ได้ Backup ไว้จากระบบหลักมาทำการ Restore จึงจะดำเนินงานต่อได้ ซึ่งการทำระบบสำรองลักษณะนี้จะต้องมีเวลาในการติดตั้งช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะให้ระบบดำเนินงานต่อไปได้
- Cold Site เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไว้ เช่น การเดินสายโทรศัพท์ ยกพื้น ติดตั้งระบบปรับอากาศ เป็นต้น เมื่อเกิดภัยพิบัติจะต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำการติดตั้ง โดยจะต้องใช้เวลาในการติดตั้งช่วงเวลาหนึ่งก่อนจะให้ระบบดำเนินงานต่อไปได้
- Standby Site เป็นการจัดหาพื้นที่เตรียมไว้ แต่ไม่ได้ดำเนินการใดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
- Nothing คือ การไม่ได้จัดเตรียมสิ่งใดไว้สำหรับภัยพิบัติเลย
DR Site มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบบธุรกิจ แล้วธุรกิจของท่านได้ให้ความสำคัญกับ DR site บ้างหรือยัง? หากยังหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการทราบว่าธุรกิจของท่านควรจะมี DR Site แบบใด สามารถติดต่อสอบถามโซลูชั่น และข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่ บริษัท จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม จำกัด (UCS) โทร. 0-2236-0208 Ext. 435 หรืออีเมล์: panomporn@ucsbkk.com
เกี่ยวกับ บริษัท UCS:
บริษัท จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม จำกัด หรือ Universal Communication Systems Co., Ltd. (UCS) เป็นผู้ให้บริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคครบวงจรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม (ICT) กล่าวคือ บริษัทฯ เป็นผู้สำรวจความต้องการของผู้ใช้ และให้คำปรึกษาออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอ และในส่วนของการติดตั้ง บริษัทมีการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพเพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ด้วยดีตามแผนและความคาดหวัง ซึ่งระบบเครือข่ายที่บริษัทฯ ให้บริการแบ่งออกเป็นโซลูชั่นต่าง ๆ คือ Network Infrastructure Solutions, Information Security Solutions, Convergent Communication Solutions, System & Storage Solutions และ Internet & Data Center Solutions นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ตระหนักในความสำคัญของการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย โดยมีทีม Customer Service & Support ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะให้การสนับสนุนแก้ไขปัญหาการใช้งานที่เกิดขึ้นอย่างตรงจุดและทันท่วงที และบริษัทฯ มีศูนย์บริการ 5 ศูนย์ เพื่อให้การบริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ประเทศไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ucsbkk.com
ผู้ส่ง : ปัทมา อัสภัทรพันธุ์
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2236-0208 Ext. 128

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ