ผลการศึกษาปี 2008 ไทยนำหน้า อินเดีย จีน เวียดนามและอื่นๆ อีกมาก เรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านไอทีโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday October 15, 2008 16:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์ - ไทยอยู่อันดับ 28 ในแง่สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ จากเดิมที่อยู่อันดับ 31 ในปี 2007 - โดยรวมไทยตกลงหนึ่งอันดับมาอยู่ที่อันดับ 42 ในเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านไอที - การขาดการวิจัยและพัฒนาคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อับดับของไทยในปีนี้ตกลงการศึกษาระบุไว้เช่นนั้น แม้ว่าประเทศไทยจะได้คะแนนดีในเรื่องสภาวะแวดล้อมทั่วๆ ไปในการดำเนินธุรกิจแต่การขาดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาส่งผลให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 42 ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านไอที โดยการศึกษาของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรือ อีไอยู (Economist Intelligence Unit, EIU) ไทยได้คะแนนดีในส่วนของสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ โดยเลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 28 จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่ 31 ในปีที่แล้ว การศึกษาที่กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ให้การสนับสนุนและจัดทำขึ้นเป็นปีที่สอง ได้ประเมินและเปรียบเทียบสภาวะแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมไอทีของ 66 ประเทศ เพื่อระบุว่าแต่ละประเทศมีความสามารถในการแข่งขันด้านไอทีในระดับใด แม้ว่า 20 อันดับแรกยังคงเป็นประเทศกลุ่มเดียวกับปีที่แล้วแต่เก้าประเทศได้รับการเลื่อนอันดับขึ้น ในขณะที่สิบเอ็ดประเทศถูกลดอันดับลง สามประเทศในห้าอันดับแรกเป็นประเทศหน้าใหม่ คือ ไต้หวัน สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อดูเป็นภูมิภาค ห้าอันดับแรกของเอเชียแปซิฟิกคือไต้หวัน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ และญี่ปุ่น “ผลการศึกษาปีนี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอันดับเกิดจากปัจจัยหลักสามประการ คือ การวิจัยและพัฒนา บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ประเทศที่มีการพัฒนาในสามด้านนี้ไม่เพียงได้รับการปรับอันดับสูงขึ้นแต่ยังนำตนเองมาอยู่ในจุดที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆจากการมีภาคไอทีที่แข็งแกร่ง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรับมือกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคม” มร. เจฟฟรีย์ ฮาร์ดีย์ รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “นอกจากนี้ การมีกรอบกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่แข็งแกร่ง และระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยของการทำธุรกรรมบนอีคอมเมิร์ซและโลกไซเบอร์ ยังจำเป็นต่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ การพัฒนาในเรื่องเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมไอทีเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้” มร. ฮาร์ดีย์กล่าว ผลการศึกษาหลักอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีดังต่อไปนี้ - ในปี 2551 ไต้หวันทะยานขึ้นสู่อันดับสองด้วยความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการ บ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยสหราชอาณาจักร สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งอยู่ในอันดับที่สาม สี่ และห้าตามลำดับ - เริ่มมีสัญญาณว่าภาวะสมองไหลของบุคลากรด้านไอทีจากประเทศที่กำลังพัฒนาชะลอตัวลง เพราะโอกาสในการศึกษาอบรมเพิ่มขึ้น และบุคลากรเหล่านี้กลับไปทำงานในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หรือบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นในบ้านเกิดของตน - อุตสาหกรรมการจ้างงานด้านไอทีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ในประเทศที่รายได้ประชาชาติอยู่ในระดับกลางและต่ำ เช่น เวียดนาม จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญหากมีการเร่งรัดและกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - ในภูมิภาคนี้ ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาแข็งแกร่งที่สุดในโลก ซึ่งรวมถึงกฎหมายด้านอีคอมเมิร์ซและอาชญากรรมไซเบอร์ที่ก้าวหน้า - มีความคืบหน้าในการวางกรอบกฎหมายในประเทศจีน ซึ่งในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้ยกระดับกฎเกณฑ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความพยายามในการบังคับใช้กฏหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น - ประเทศในเขตเอเชียตะวันออก เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ยังคงเป็นผู้นำในเรื่องการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตเทคโนโลยี “ผู้วางนโยบายและผู้นำองค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องใส่ใจปัจจัยทั้งหมดที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันด้านไอทีเหล่านี้” โทนี่ แนช ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเกี่ยวกับประเทศและเศรษฐกิจ, เอเชีย ของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต กล่าว “มีเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถสร้างภาคไอทีที่เข้มแข็งได้โดยปราศจากสภาวะแวดล้อมด้านธุรกิจและกฎหมายที่แข็งแกร่ง บุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถ ระบบที่ส่งเสริมนวัตกรรมและการใช้งานเทคโนโลยีอย่างแพร่หลายในสังคม” ปัจจัยหกประการที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน จากการศึกษาของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต ปัจจัยหกประการที่ร่วมเสริมให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ต่อเหมาะสมกับภาคไอทีประกอบด้วย บุคลากรที่มีทักษะ วัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานโลก กรอบกฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่แข็งแกร่ง เช่น สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ เศรษฐกิจที่เปิดกว้างต่อการแข่งขันเสรี และการกำกับดูแลของภาครัฐที่สมดุลพอดีระหว่างการส่งเสริมเทคโนโลยีและการปล่อยให้กลไกของตลาดทำงาน ประเทศที่ทำได้ดีในทั้งหกด้านที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปแล้วมักมีอุตสาหกรรมไอทีที่เข้มแข็ง นำมาซึ่งรายได้กว่า 5% ของรายได้มวลรวมประชาชาติของประเทศในประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้างโดยเพิ่มประสิทธิผลและผลผลิตขององค์กรและพนักงาน ผลการศึกษาอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ การลงทุนด้านบุคลากรสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมไอทีในประเทศ การสรรหาบุคคลกรที่มีความรู้ความสามารถนับเป็นหนึ่งในงานยากที่สุดที่ผู้ผลิตด้านไอทีต้องเผชิญในช่วงเวลาต่อจากนี้ ตลาดบอร์ดแบรนด์ที่มีการแข่งขันช่วยให้ภาคไอทีแข็งแกร่ง หากปราศจากบริการอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ใช้งานได้ดี และปลอดภัยแล้ว บริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งหลายจะไม่สามารถสื่อสารกับคู่ค้าและชุมชนผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่สามารถให้บริการออนไลน์ได้ด้วยกรอบทางกฎหมายที่ปกป้องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาและเท่าทันต่ออาชญากรรมไซเบอร์เป็นสิ่งจำเป็น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในแถบยุโรปตะวันตก มีระบบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ดี มีหลักฐานการปรับปรุงเรื่องนี้ในประเทศที่เคยเป็นปัญหา เช่น จีน โลกาภิวัตน์และอินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนรูปแบบ “การวิจัยและพัฒนา” สภาวะแวดล้อม ไม่ว่าออนไลน์หรือไม่ ที่สามารถรวบรวมบุคคลากรที่มีความสามารถ เทคโนโลยี เงินทุน ตลอดจนการศึกษาชั้นเยี่ยมไว้ด้วยกันจะเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมที่ดีที่สุด ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการศึกษาและวิธีการที่ใช้ในการวิจัยสามารถหาอ่านได้จาก “How technology sectors grow: Benchmarking IT industry competitiveness 2008” ที่ www.bsa.org/globalindex หรือ www.eiu.com/sponsor/BSA/technologysectors. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบีเอสเอ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและอีคอมเมิร์ส สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์, ซิสโค ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล,ไซเบอร์ลิงค์, เดล, อีเอ็มซี, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแทบ, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, เอสเอพี, เอสเอเอส อินสทิทิว, ซีเมนส์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, เอสพีเอสเอส, ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า, เดอะ แมธเวิร์กส์ และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต Economist Intelligence Unit เป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์ข้อมูลด้านธุรกิจของกลุ่ม Economist ซึ่งเป็นผู้ผลิตนิตยสาร The Economist และมีนักวิเคราะห์ในสังกัดมากกว่า 650 คนทั่วโลก EIU มีการประเมินและคาดการณ์ข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเงื่อนไขทางธุรกิจในจำนวน 200 ประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยเป็นผู้นำในการให้บริการด้านข้อมูลหรือหน่วยข่าวกรองระดับโลก ดังนั้นเราจึงมีส่วนช่วยทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ดีขึ้น ด้วยเวลาที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างยุติธรรมตามแนวโน้มและกลยุทธ์ทางธุรกิจในตลาด ทั่วโลก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ อาทิมา ตันติกุล วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์ โทร +66 (0) 2684 1551 อีเมล์ artima@veropr.com สุจิตรา ยิ่งเพิ่มมงคล วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์ โทร +66 (0) 2684 1551 อีเมล์ sujittra@veropr.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ