กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--ปภ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอรายงานสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ดังนี้
1. สภาพอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา)
พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2551 เวลา 06.00 น. ดังนี้
บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศอุ่นขึ้น โดยมีหมอกในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนกระจายในระยะนี้
อนึ่ง คลื่นกระแสลมตะวันออกจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ในช่วงวันที่ 18-19 ตุลาคม 2551 ลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่าวไทย และภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น. วันที่ 16 ต.ค.51 ถึง 01.00 น. วันที่ 17 ต.ค.51 ดังนี้
2.1 ข้อมูลรายภาค
ภาคเหนือ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดตาก 7.2 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 10.5 มม.
ภาคกลาง ที่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 25.2 มม.
ภาคตะวันออก ที่ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 3.7 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 8.2 มม.ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ ท่าอากาศยานภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 48.2 มม.
2.2 ข้อมูลปริมาณฝนในพื้นที่เกิดสถานการณ์ (วันที่ 16 ตุลาคม 2551)
จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมือง 4.4 มม. จังหวัดขอนแก่น อำเภอน้ำพอง 17.8 มม.
จังหวัดมหาสารคาม (ไม่มีรายงานฝนตก)
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2551) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 54,635 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (58,944 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,309 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 154.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 103 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 8,288 และ 8,157 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62 และ 86 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 16,445 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 14.41 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 4 อ่าง (หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร ) ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ความจุที่ รนก. ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย
ปริมาตรน้ำ %ของความจุ ปริมาตรน้ำ %ของความจุ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.51 วันนี้ เมื่อวาน
1. แก่งกระจาน 710 397 56 330 47 929 3.7 634 0.00 0.09
2. ปราณบุรี 347 205 59 145 42 436 1.4 235 1.38 1.36
3. รัชชประภา 5,639 4,499 80 3,147 56 2,598 2.5 1,859 0.52 4.34
4. บางลาง 1,454 824 57 564 39 1,545 5.3 1,267 7.61 7.68
4. สภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 16 ต.ค.51 เวลา 06.00 น.)
ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,670 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เมื่อวาน 1,679ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,326 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เมื่อวาน 1,360 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปริมาณน้ำไหลผ่าน สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณเฉลี่ย 1,540 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เมื่อวาน 1,586 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)
5. สถานการณ์อุทกภัย
ในห้วงระหว่างวันที่ 11-29 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ประกอบกับอิทธิพลของพายุ “เมขลา” ระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 1 ตุลาคม 2551 ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ยังมีสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
5.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 33 จังหวัด 280 อำเภอ 1,844 ตำบล 15,294 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี
5.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 31 คน (เดิม 26 คน เพิ่มจังหวัดยโสธร 1 คน ศรีสะเกษ 2 คน ปราจีนบุรี 1 คน ขอนแก่น 1 คน) จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 คน, อ.มวกเหล็ก 1 คน) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 คน, อ.ปักธงชัย 1 คน ) จ.ลพบุรี 3 คน (อ.โคกสำโรง 1 คน, อ.สระโบสถ์ 1 คน, อ.บ้านหมี่ 1 คน) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน, อ.นากลาง 1 คน) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 2 คน (อ.วัดโบสถ์ 1 คน, อ.วังทอง 1 คน) จ.นครสวรรค์ 2 คน (อ.ลาดยาว 1 คน อ.ตากฟ้า 1 คน) จ.ขอนแก่น 3 คน (อ.บ้านไผ่ 1 คน, อ.พระยืน 1 คน, อ.ชนบท 1 คน) จ.ปราจีนบุรี 4 คน (อ.ศรีมหาโพธิ 1 คน, อ.กบินทร์บุรี 2 คน, อ.เมือง 1 คน) จ.สระแก้ว 3 คน (อ.เมือง 1 คน อ.วัฒนานคร 1 คน อ.เขาฉกรรจ์ 1 คน) จ.สุรินทร์ 2 คน (อ.สังขะ) จ.ยโสธร 1 คน (อ.เมือง 1 คน) จ.ศรีสะเกษ 2 คน (อ.เมือง 1 คน, อ.อุทุมพรพิสัย 1 คน)
- สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 695,226 ครัวเรือน 2,856,618 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 9,476 หลัง สะพาน 111 แห่ง ทำนบ/ฝาย 175 แห่ง ถนน 4,762 สาย วัด 52 แห่ง โรงเรียน 31 แห่ง สถานที่ราชการ 23 แห่ง ปศุสัตว์ 14,914 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 25,489 บ่อ ท่อระบายน้ำ 104 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 1,190,465 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 755,702,111 บาท
6. สถานการณ์ปัจจุบัน
- สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 30 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก พะเยา ลำปาง นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ แม่ฮ่องสอน สระแก้ว จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปราจีนบุรี
- ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น (อ.เมือง อ.ชนบท) ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ) และจังหวัดมหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมือง) ใน 6 อำเภอ 13 ตำบล 53 หมู่บ้าน
6.1 จังหวัดขอนแก่น แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น 2 ตำบล (ตำบลดอนหัน และตำบลพระลับ) และอำเภอชนบท (ตำบลศรีบุญเรือง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. แนวโน้มสถานการณ์ ถ้าหากไม่มีฝนตกในพื้นที่ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-5 วัน
6.2 จังหวัดมหาสารคาม แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย 3 ตำบล(ต.โพนงาม ยางท่าแจ้ง และ ต.หัวขวาง) อำเภอกันทรวิชัย (ต.เขวาใหญ่ และ ต.มะค่า) และอำเภอเมือง (ต.ท่าตูม) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
6.3 จังหวัดร้อยเอ็ด แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจังหาร 3 ตำบล (ต.ผักแว่น ดงสิงห์ และ ต.ดินดำ) และอำเภอเชียงขวัญ (ต.พลับพลา) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
7. การให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2551 — ปัจจุบัน)
7.1 สิ่งของพระราชทาน
1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 16-26 กันยายน และ 2-10 ตุลาคม 2551 รวม 35,350 ชุด
2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้จัดส่งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา นครนายก สระบุรี พิษณุโลก บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี อุบลราชธานี และจังหวัดตาก รวม 15,206 ชุด และได้จัดส่งรถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 คัน เรือท้องแบน พร้อมเจ้าหน้าที่เพื่อผลิตน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบ อุทกภัยในเขตพื้นที่ ต.ดินดำ และ ต.ดงสิงห์ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
3) กองงานพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ขอนแก่น ปราจีนบุรี พิษณุโลก และ จังหวัดลพบุรี รวม 5,000 ชุด
4) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู และลพบุรี รวม 1,625 ชุด
7.2 การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข) และคณะ มีกำหนดการ เดินทางไปตรวจราชการและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดหนองคาย และมอบสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
- วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2551
ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,500 ชุด
ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
ที่ โรงเรียนมัธยมแก่งคร้อ อำเภอแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
- วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2551
ที่ วัดพระบาทนาหงส์ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย จำนวน 1,000 ชุด
ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 1,000 ชุด
ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย จำนวน 1,000 ชุด
8. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ระหว่างวันที่ 17-20 ต.ค.51 ดังนี้
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นลมแรง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 (ประจวบคีรีขันธ์) เขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เขต 12 (สงขลา) เขต 18 (ภูเก็ต) และจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
โทรศัพท์/โทรสาร 0-2241-7450-6 สายด่วนนิรภัย 1784