กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ ปี 2006 (F-250 Super Chief Concept) รถกระบะทรงพลังคันแรกของโลกที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 3 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นไฮโดรเจน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมถึง 85% หรือน้ำมันเบนซินธรรมดา ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 12% และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มากถึง 99% เติมเชื้อเพลิงเต็มถังวิ่งได้ระยะทาง 500 ไมล์
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ สะท้อนความมุ่งมั่นของฟอร์ดที่สืบทอดมายาวนาน ในการพัฒนากระบะพันธุ์แกร่ง และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์เชื้อเพลิงผสม (FFV) เพื่อโลกที่น่าอยู่กว่าเดิม
ฟอร์ดเป็นผู้นำตลาดรถกระบะของโลก โดยมีกระบะพันธุ์แกร่งในตระกูล F-series และเรนเจอร์เป็นรถที่ประสพความสำเร็จสูงสุด
ฟอร์ด เรนเจอร์เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมรถกระบะในประเทศไทย ทั้งในด้านมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย
ฟอร์ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในฐานะผู้นำตลาดรถกระบะที่มุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานเทคโนโลยีขึ้นอีกขึ้นหนึ่ง กับการเปิดตัว F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ ปี 2006 (F-250 Super Chief Concept) รถกระบะต้นแบบที่เปิดตัวในสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคมนี้ นับเป็นรถยนต์รุ่นแรกของโลกที่ติดตั้งเครื่องยนต์ V-10 รองรับเชื้อเพลิงได้ 3 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมถึง 85% หรือเบนซินธรรมดา ให้ความประหยัดสูงสุดเติมเชื้อเพลิงเต็มถังสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 500 ไมล์ (ประมาณกว่า 800 กิโลเมตร) F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ โดดเด่นสะดุดตาด้วยรูปลักษณ์ที่สื่อถึงความทรงพลังแบบ “กระบะอเมริกันพันธุ์แกร่ง” ที่สืบทอดมานานเกือบ 90 ปี
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ คือรถแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เครื่องยนต์ทรงพลังพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน รวมทั้งห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม จึงประหยัดเชื้อเพลิงได้12% และลดปริมาณไอเสียที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 99% อีกทั้งเป็นผู้นำในตลาดรถกระบะโลกด้วยดีไซน์ที่ ทันสมัย
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา รถในตระกูล F-Series ของฟอร์ด ได้พลิกโฉมตลาดรถกระบะและสร้างความตื่นตาตื่นใจเหนือความคาดหมายของลูกค้าเสมอมา ในประเทศไทย ฟอร์ด เรนเจอร์ ซึ่งเป็นรถกระบะ 1 ตันที่สืบทอดความเป็นกระบะพันธุ์แกร่งที่โดดเด่นของ F-150 ก็ได้สร้างความสำเร็จอย่างท่วมท้นเช่นกัน โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานใหม่ในด้านความปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับตลาดรถกระบะของไทย เรนเจอร์มีความโดดเด่นในด้านรูปลักษณ์ที่สะท้อนความแกร่ง ความทนทานและสมรรถนะที่เหนือใคร และเป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศเพื่อส่งออกไปยังกว่า 130 ประเทศทั่วโลก ทำให้ฟอร์ดกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย”
มร. จอห์น ฟิงค์ รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำในการพัฒนารถกระบะยอดนิยมมากว่า 29 ปี ความเป็นกระบะพันธุ์แกร่งคือสิ่งที่อยู่ในสายเลือดฟอร์ด เรารู้เรื่องรถกระบะดีกว่าใคร และเราสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ได้กระบะที่ลูกค้าของเราต้องการและวางใจได้อย่างเต็มที่ และนี่คือแรงบันดาลใจที่นำทางให้เรามุ่งมั่นสร้างสรรค์ยานยนต์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับลูกค้า”
“เรา ได้สร้างชื่อเสียงในการแนะนำสิ่งใหม่ๆ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเปิดตัวกระบะนิรภัยเรนเจอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยครบครันทั้งถุงลมนิรภัย ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) และคานเหล็กป้องกันการชนด้านข้าง รวมทั้งการแนะนำแค็บเปิดได้หรือ “โอเพ่นแค็บ” เป็นรายแรกของประเทศ ตามมาด้วยรถฟอร์ด โฟกัสที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินที่รองรับแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นรายแรกในประเทศไทย และการเปิดตัวรถกระบะต้นแบบ 4-Trac ครั้งแรกของโลกที่เมืองไทย นี่คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะนำเสนอนวัตกรรมให้กับคนไทย”
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ ที่สามารถรองรับเชื้อเพลิงได้ถึง 3 ชนิด นับเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ฟอร์ดสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนายานยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง โดยชื่อ “ซูเปอร์ชีฟ” (Super Chief) ตั้งตามชื่อรถไฟที่โด่งดังที่สุดในอดีตของอเมริกา เป็นรถต้นแบบทันสมัยและโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ รูปแบบการ ดีไซน์ทั้งภายในภายนอกพัฒนาต่อเนื่องมาจาก F-150 ซึ่งเป็นรถกระบะที่ยอดเยี่ยมที่สุดของฟอร์ด
เครื่องยนต์ซูเปอร์ชาร์จ V-10 สามารถใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น 12% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน V-10 ธรรมดา วิ่งได้ถึง 500 ไมล์หรือกว่า 800 กิโลเมตรเมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มถัง และเมื่อใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เครื่องยนต์ดังกล่าวยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเมื่อใช้เบนซินทั่วไปถึง 99%
ดร. เกอร์ฮาร์ด ชมิดท์ รองประธานฝ่ายวิจัยและวิศวกรรมขั้นสูง ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานีกล่าวว่า “เครื่องยนต์เชื้อเพลิงผสม 3 ชนิดนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่สถานีบริการเพื่อรองรับเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในอนาคต รวมทั้งยังจะส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้แก๊สโซฮอล์ E85 เพิ่มขึ้นอีกมาก และแน่นอนว่า ลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกเช่นกันหากต้องการเติมน้ำมันเบนซินทั่วไปจนกว่าเชื้อเพลิงทดแทนชนิดอื่นๆ จะเข้ามาแทนที่”
เทคโนโลยีเชื้อเพลิงผสม 3 ชนิดเป็นอีกขั้นของการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ โดยที่ฟอร์ดเป็นผู้นำมาตั้งแต่ปี 2539 โดยฟอร์ดได้ผลิตและจำหน่ายยานยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีผสมซึ่งรองรับได้ทั้งน้ำมันเบนซินทั่วไปและแก๊สโซฮอล์ E85 มาแล้วกว่า 1.6 ล้านคัน
ในเดือนธันวาคม 2548 รถกระบะ F-150 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์เชื้อเพลิงผสมก็ได้ออกสู่ตลาดแล้วในอเมริกาเหนือ ฟอร์ดตั้งเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมจำนวนกว่า 250,000 คันในปีนี้ ผู้ใช้รถสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ตามความสะดวกทั้งเบนซินทั่วไปและแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอทานอลได้มากถึง 85%
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ รักษาจุดยืนของฟอร์ดโดยมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอย่างครบครัน ที่จะให้ความมั่นใจแก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารตลอดการเดินทางว่าจะได้รับทั้งความสะดวกสบายและความปลอดภัย
F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมากมาย อาทิ BeltMinder ซึ่งจะเตือนผู้ขับขี่เมื่อผู้โดยสารไม่รัดเข็มขัดนิรภัย และ BlockerBeam ซึ่งเพิ่มการป้องกันจากการชนด้านหน้าเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ขับและผู้โดยสาร
ในด้านรูปลักษณ์ภายนอก F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ สะท้อนความทนทานและทรงพลัง การออกแบบด้านหน้าของตัวรถได้รับแรงบันดาลใจจากความสง่างามและทรงพลังของหัวรถจักร และกระจังหน้าที่ดูบึกบึน ห้องโดยสารกว้างขวางกว่าเดิมให้ความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร และสามารถเข้าออกได้สะดวกด้วยบานประตูที่เปิดจากตรงกลาง และเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระด้านล่างที่ยังคงสามารถใช้งานได้สะดวกแม้กระบะด้านหลังจะมีของบรรทุกอยู่เต็ม
ภายในของ F-250 ซูเปอร์ชีฟ คอนเซ็ปต์ สะท้อนความบึกบึนทนทาน ตกแต่งด้วยวัสดุพิเศษ 3 อย่าง คือ ไม้วอลนัท อลูมิเนียม และหนังสีน้ำตาลเข้ม หลังคาเป็นกระจก และเมื่อมองจากด้านบนผ่านหลังคากระจกจะเห็นได้ว่าพื้นตัวถังราบและเชื่อมต่ออย่างลื่นไหลจากพื้นตัวถังรถไปยังกระบะท้าย ที่นั่งด้านหลังออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้ผู้โดยสารนั่งได้สบายรู้สึกผ่อนคลายตลอดเส้นทาง โดยมีที่รองเท้าที่ติดตั้งบนพื้นรถ ตัวเบาะแยกชิ้นระหว่างส่วนรองนั่งและพนักพิงหลัง พร้อมด้วยที่รองแขนในแต่ละที่นั่ง
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--