การขับเคลื่อนภาคโทรคมนาคมด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูล

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday October 21, 2008 14:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--คอร์แอนด์พีค ปัจจุบันโทรคมนาคมเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทอย่างมาก โดยให้ความสำคัญกับด้านนวัตกรรมและประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลกำไร ส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับเรื่องต่างๆ ในบทความนี้ นายทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้อธิบายถึงวิธีใช้ยุทธศาสตร์จัดเก็บข้อมูลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมและผลักดันให้เกิดผลประกอบการเพิ่มขึ้น ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมากกำลังเข้าสู่บริการเครือข่าย 3จี (3G) และ ไว-ไฟ (Wi-Fi) ที่มีอยู่ทั่วทุกแห่ง นับเป็นโอกาสของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม จะเห็นได้ว่าการรวมสื่อและโทรคมนาคมเข้าด้วยกันนั้นหมายถึงการมีฮาร์ดแวร์และเนื้อหาที่จะสนับสนุนผู้บริโภคได้ แม้ว่าผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจะเล็งเห็นศักยภาพของตลาดที่มีอยู่อย่างมหาศาลแต่ก็สิ่งนี้มาพร้อมกับปัญหามากมาย สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุดคือความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะนี้ ผู้ใช้ทั่วไปต้องการราคาที่ลดลงและความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ในภาคธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 โมเดล ได้แก่ โมเดล “การใช้ประโยชน์” ตามปริมาณ และโมเดลตามบริการที่เพิ่มมูลค่า โดยในท้ายที่สุดแล้ว กฎข้อบังคับต่างๆ จะสร้างความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเมื่อรวมสองโมเดลนี้เข้าด้วยกัน ในการตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันดังกล่าว ทำให้ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมพบว่าโมเดลการส่งมอบเครือข่ายและบริการกำลังเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับความซับซ้อน ความต้องการที่จะจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเนื่องจากจะเอื้อต่อการปรับปรุงข้อเสนอด้านบริการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมให้ดีขึ้นได้ นายฮิว โยชิดะ รองประธานและซีทีโอบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ตั้งข้อสังเกตว่า “ยุคแห่งเทรา” (tera era) ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว โดยเทราไบต์จะเข้ามาแทนที่กิกะไบต์ในฐานะมาตรฐานของความจุระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้บริโภค ทั้งสองกลุ่ม ลดความซับซ้อนและตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ทุกด้าน เราทำงานกับผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจำนวนมากในภูมิภาคนี้และพบความแตกต่างอย่างมากภายในโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขา หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่เราทำงานด้วยมีชุดระบบจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันถึงสามชุด สิ่งนี้ส่งผลเสียต่อโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินงาน และการบำรุงรักษาด้านไอทีโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อผู้ให้บริการต้องการสร้างระบบจัดการเดียวให้กับผู้ใช้ ด้วยเซิร์ฟเวอร์กว่า 100 เครื่องที่มีแอพพลิเคชันหลายประเภททำงานอยู่ ไม่มีทางที่ลูกค้าจะสามารถเข้าใจและติดตามสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้หมด นับเป็นสิ่งสำคัญที่ว่าข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ระเบียนลูกค้า ระบบการเงิน และการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ไปจนถึงฐานข้อมูลการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) รวมทั้งระบบการเรียกเก็บเงิน จะต้องถูกต้องและทันสมัย จะเห็นได้ว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรงกับเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป เนื่องจากไม่ได้ตอบสนองเกณฑ์ใหม่ในด้านการสนับสนุนความสามารถในการปรับขนาดได้ และความยืดหยุ่น นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ฐานลูกค้าที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นก็กำลังทำให้ความสามารถของระบบที่มีอยู่ต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น การนำยุทธศาสตร์ข้อมูลที่ใช้ระบบเสมือนจริงเข้ามาใช้งาน จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามาถจัดการและตรวจสอบระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นในด้านการโยกย้ายและการจำลองแบบข้อมูล ผู้ให้บริการสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ทันที 10-20% ในด้านทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากสามารถลดชั่วโมงการทำงานที่จำเป็นของพนักงานได้จำนวนมาก นอกจากนี้ พวกเขายังลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในฮาร์ดแวร์ได้ถึง 40% ด้วย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือบริษัทสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพและทำให้แน่ใจได้ว่า 90% ของโครงสร้างพื้นฐานได้รับการนำไปใช้ประโยชน์จริง สิ่งนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับวิธีที่ระบบจัดเก็บข้อมูลจะสามารถช่วยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจัดการกับความต้องการด้านธุรกิจและด้านเทคนิคที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญได้ ประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดตลอดจนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้ได้ก่อนผู้ให้บริการรายอื่น กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลสำคัญในการดำเนินงาน เช่น ข้อมูลจีพีอาร์เอส จะพร้อมใช้งานและได้รับการสำรองอย่างมีประสิทธิภาพโดยที่รบกวนลูกค้าให้น้อยที่สุด ดังนั้น ความต้องการในด้านการออกแบบและการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงนวัตกรรมจึงกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในขณะนี้ การนำระบบ SAN เชิงนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพมาใช้จะช่วยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมปลดล็อคมูลค่าข้อมูลที่มีอยู่และจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับขนาดได้ การใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมและทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลถูกจัดเตรียมได้โดยง่ายตามความต้องการที่เกิดขึ้น การจัดการงานระบบจัดเก็บข้อมูลทั้วทั้งองค์กรจากคอนโซลส่วนกลางยังช่วยในด้านการดำเนินการตามคำขอบริการและจำลองแบบข้อมูลด้วยวิธีที่เร็วขึ้น ระดับการให้บริการลูกค้าอย่างยอดเยี่ยมจะคงอยู่ได้เมื่อระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสามารถเอื้อให้เกิดความพร้อมใช้งานของข้อมูลและทำให้ระบบหยุดทำงานน้อยที่สุดทั้งในแบบที่กำหนดและไม่ได้กำหนดไว้ ด้วยการจัดเตรียมพนักงานบริการลูกค้าที่สามารถเข้าถึงระเบียนบัญชีและข้อเสนอส่งเสริมการขายได้อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนการส่งมอบบริการใหม่ด้วยแนวคิดใหม่ ในตลาดเอเชียที่มีการแข่งขันกันสูงนั้น ความคล่องตัว เนื้อหาที่สร้างสรรค์ และความสามารถที่จะรับรู้และตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญ การทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและ 100% ขณะที่สามารถจัดการกับไฟล์นับพันล้านไฟล์และมีขนาดหลายร้อยเทราไบต์จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยความล่าช้าในระดับวันสามารถสร้างความแตกต่างให้กับผู้ให้บริการได้ การรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดโทรคมนาคมเป็นเรื่องสำคัญ ในแต่ละครั้งที่เปิดตัวบริการ จะต้องทำให้สภาพแวดล้อมการทดสอบและระบบการทดสอบการตอบรับของผู้ใช้นั้นสมบูรณ์ก่อนที่จะเข้าสู่การผลิต สำหรับผู้ให้บริการ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าระบบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบต่อโดยตรง (DAS) นั้นต้องใช้เวลา 2-3 วันจึงจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ เมื่อต้องการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ องค์กรด้านไอทีก้าวหน้าได้นำแนวคิดเชิงบริการมาใช้เพื่อจัดการฟังก์ชันไอทีหลัก อย่าง ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ ทำให้องค์กรสามารถจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้การลงทุนด้านไอทีที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนประหยัดต้นทุนในสภาพแวดล้อมระบบจัดแก็บข้อมูลที่สามารถปรับขนาดได้อย่างมาก เมื่อใช้ยุทธศาสตร์โซลูชันระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ ผู้ให้บริการจะพบว่าพวกเขาสามารถปลดล็อคมูลค่าจากข้อมูลที่มีอยู่ได้โดยง่ายและจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวกับความสามารถในการปรับขนาดได้ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลถูกจัดเตรียมได้โดยง่ายตามความต้องการที่เกิดขึ้น ผู้ให้บริการบางรายรายงานว่ามีการใช้ระบบของพวกเขาเพิ่มขึ้น 40% และลดระยะเวลาในการนำบริการออกสู่ตลาดอีกด้วย บทสรุป ในการวางแผนยุทธศาสตร์ระบบจัดเก็บข้อมูล บริษัทด้านโทรคมนาคมจำเป็นต้องถามคำถามสำคัญบางอย่าง เช่น “ข้อมูลสำคัญทางธุรกิจได้รับการป้องกันหรือยัง” “บริษัทพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคตหรือยัง” “ลูกค้าของบริษัทจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่” บริการด้านโทรคมนาคมยุคใหม่จะมาในรูปของชุดบริการใหม่ อย่าง ไวแมกซ์ (Wimax) และการได้รับรู้แผนที่ความคิด (mind map) ของลูกค้าจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่เราต้องดำเนินการให้ได้ก็คือความสามารถในด้านการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นสิ่งกระตุ้นในการผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการดำเนินงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่คาดคิด และสามรถปรับปรุงการใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300 อีเมล์ srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ