กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ผลการบริหารจัดการหนี้สาธารณะภาครัฐ ประจำเดือนกันยายน 2551และรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2551 นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2551 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 เดือนกันยายน 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 5 สิงหาคม 2551 จำนวน 22,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 2 รุ่น ในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน2551 จำนวน 12,000 ล้านบาท และ 9,925 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับส่วนต่างระหว่างพันธบัตรที่ครบกำหนดและการออกพันธบัตรใหม่ จะชำระจาก Premium ที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวในเดือนกันยายน 2551 และได้ Prepay ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 2,500 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ 41 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 20,092 ล้านบาท โดยทำการ Roll Over วงเงิน 12,092 ล้านบาท และ Refinance วงเงิน 8,000 ล้านบาท โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติและธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 292 ล้านบาท 1,000 ล้านบาท 4,800 ล้านบาท และ 6,000 ล้านบาท ตามลำดับ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการ Refinance หนี้เดิม วงเงิน 8,000 ล้านบาท
1.2 ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้
ในประเทศวงเงินรวม 257,082 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 17,500 ล้านบาท ตั๋วเงินคลัง วงเงิน 168,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 71,582 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over และ Refinance หนี้เดิมรวม 121,019 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 22,361 ล้านบาท โดยเป็นการ Prepay วงเงิน 2 ล้านบาท Refinance วงเงิน 17,328 ล้านบาท และ Swap วงเงิน 5,031 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 1,589 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 12,291 ล้านบาท โดยเป็นการ Prepay วงเงิน 1,699 ล้านบาท เป็นการ Roll Over วงเงิน 7,500 ล้านบาท และเป็นการ Refinance วงเงิน 3,092 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 622 ล้านบาท
2. การกู้เงินภาครัฐ
เดือนกันยายน 2551
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ วงเงินรวม
664 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 19,474 ล้านบาทโดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง การเคหะแห่งชาติ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 100 ล้านบาท 1,200 ล้านบาท 1,500 ล้านบาท 2,000 ล้านบาท 2,400 ล้านบาท และ 6,000 ล้านบาท ตามลำดับ และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน 2,000 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยวงเงิน 4,274 ล้านบาท
ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 256,215 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 165,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 91,215 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินต่างประเทศรวม 4,320 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
เดือนกันยายน 2551
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ
รวม 25,114 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืนเงินต้น 2,541 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 21,730 ล้านบาท และซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 843 ล้านบาท
ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณ และซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า รวม 159,856 ล้านบาท
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2551 มีจำนวน 3,339,841 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.49 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,133,492 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 955,564 ล้านบาท
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 96,395 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 136,914 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 17,116 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น4,827 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเพิ่มขึ้น 5,894 ล้านบาท 1,377 ล้านบาท 3,310 ล้านบาท และ 314 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 6,068 ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,894 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากการปรับเพิ่มระดับตั๋วเงินคลัง จำนวน 16,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับฐานะดุลเงินสดของรัฐบาลในเดือนดังกล่าว และรัฐบาลได้ทำการออกพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 6,636 ล้านบาท และได้กู้เงินระยะสั้น เพื่อเป็น Bridge Financing สำหรับการ Roll Over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท โดยวางแผนออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน 2551 จำนวนรวม 2 รุ่น ซึ่งในเดือนสิงหาคม ได้ดำเนินการออกพันธบัตรแล้ว จำนวน 12,000 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว พร้อมทั้ง premium ที่ได้จาการประมูลไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้น ทำให้ยอดหนี้เงินกู้ระยะสั้นคงเหลือ 8,419 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้มีการชำระคืนพันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดจากงบชำระหนี้ จำนวนรวม 15,500 ล้านบาท
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,310 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้กู้เงินระยะสั้นจำนวน 1,383 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกพันธบัตร วงเงิน 2,000 ล้านบาท
สำหรับหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงสุทธิ 6,068 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการซื้อคืนพันธบัตรกองทุนที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จำนวน 6,000 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ 3,339,481 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 377,086 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.29 และหนี้ในประเทศ 2,962,395 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.71 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,191,378 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.57 และหนี้ระยะสั้น 148,103 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.43 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนประสานสัมพันธ์นักลงทุน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5507