“สามารถ” ผนึกกระทรวงไอซีที และซอฟต์แวร์ ปาร์ค ประกาศผลสุดยอดนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ Samart Innovation Awards ครั้งที่ 3

ข่าวเทคโนโลยี Friday January 13, 2006 09:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ม.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส
บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ประกาศผลรางวัลการประกวดนวัตกรรม “รางวัลเพื่อความสามารถของคนไทย” หรือ Samart Innovation Awards ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548 พร้อมเดินเครื่องสร้างนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือเลือดใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ Samart Innovation Awards 2005 เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ซึ่งริเริ่มโดย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย รวมถึงการสนับสนุนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กองทุนพัฒนานวัตกรรม และสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและสนใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น และผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถของเหล่านักพัฒนาโปรแกรมของไทย โดยหวังว่าในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็นซอฟท์แวร์คุณภาพฝีมือคนไทยออกไปบุกตลาดเมืองนอกและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ นอกจากนี้
การจัดประกวด Samart Innovation Awards ไม่ได้มุ่งหวังเพียงให้เยาวชนแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลเท่านั้นแต่เรายังเน้นให้เกิดการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์และสร้างสังคม (Community) ให้กับกลุ่มนักพัฒนาซอฟท์แวร์รุ่นเยาว์ บริษัทฯ จึงได้จัดกิจกรรมเสริมอาทิ Smart Thinker Camp และ Smart Training ขึ้น โดยได้อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท สามารถอินโฟมีเดีย ซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนาซอฟท์แวร์และคอนเท้นท์บนมือถือของไทยมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริงสู่เยาวชน ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในเชิงพาณิชย์สำหรับผลงานที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นกำลังใจให้เหล่าเยาวชนได้คิดและพัฒนาผลงานต่อไป
ในปีนี้หัวข้อการประกวดมุ่งเน้นที่การออกแบบ Software Application for Mobile เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การใช้เทคโนโลยีจากโทรศัพท์มือถือของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งแบ่งหัวข้อการประกวดออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Game Application, Internet Utility Application, Information Application และ Personal Information Management Application
ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 200 ผลงาน มากขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเงินรางวัลมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น ซึ่งนอกจากตัวเด็กที่ส่งผลงานจะได้รางวัลแล้ว อาจารย์ และสถาบันของเด็กก็จะได้รับรางวัลด้วย โดยเป็นทุนวิจัยแก่อาจารย์ที่ปรึกษาของเด็กที่ส่งผลงาน และส่วนหนึ่งเป็นทุนวิจัยสำหรับคณะ/ภาควิชา ต้นสังกัดอาจารย์ที่ปรึกษา อีกเหตุผลหนึ่งคือเด็กมีความรู้มีความสามารถ รู้จักพัฒนา และกล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น ทำให้ผลงานที่ส่งมามีคุณภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย ปีนี้เรายังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยกันคัดเลือกผลงาน ซึ่งประกอบไปด้วยบุคลากรจาก 3 ภาค ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นจากภาคเอกชน และสื่อมวลชน จนได้ผลงานที่เข้ารอบสุดท้าย จำนวน 54 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 17 ผลงาน ซึ่งแต่ละผลงานล้วนแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และทักษะของเหล่าเยาวชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทย ที่สำคัญปีนี้ภายหลังจากการพิจารณาความพร้อมด้านต่างๆแล้ว บริษัทฯ มีแนวทางที่จะนำผลงานของเยาวชนที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้มาต่อยอดความสำเร็จในเชิงธุรกิจต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าปีนี้คนไทยจะมีโอกาสได้ชื่นชมผลงานซอฟต์แวร์ของเด็กไทยจากโครงการ Samart Innovation Awards 2005 แน่นอน และในฐานะแกนนำผู้จัดโครงการ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์เช่นนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป นายเจริญรัฐ กล่าวในตอนท้าย
ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการประกวด Samart Innovation Awards 2005 แต่ละประเภทมีดังนี้
- รางวัล Gold Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Music Caller” โดย นายสิทธิพล พรรณวิไล นางส่าวพรปวีณ์ บำเพ็ญสันติ
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Need More Speed” โดย นายอธิป น้อมศิริ นายสิทธิกร ชัยรัตนภิวงศ์ และนายเชษฐ์ ปอแก้ว
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน”ระบบติดตามและตรวจสอบการขนส่งสินค้าผ่านเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียม” โดย นายนราศักดิ์ แม้นสุรางค์ และนายคเชนทร์ ศุกรเวทย์ศิริ
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “พัฒนาระบบวิเคราะห์ตำแหน่งด้วยแรงสัญญาณ (Positioning System Approach Using Signal-Strength Relations)” โดย นายอารยะ สวัสดิชัย และนายชวนพ วิทยาภิรักษ์
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “Bug Find” โดย นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร
- รางวัล Silver Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Place Master” โดย นายชาญณรงค์ หาญประยงค์ นายพิษณุ เบ็ญจมาคม และนายธนพงศ์ บุญแต่ง
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “Diet Buddy” โดย นายพงษ์รบ สายสุวรรณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “Mamimal Tamer (Mobile Animal Tamer)” โดย นายอุทัย ชาวบ้านเกาะ นายประสิทธิ์ สืบสอน และนายบัญชา คงดี
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “แก้มแดงคลับ Tomato Cheeks” โดย นายอมตวิทย์ คำแหง และนายสุนทร สรรค์พฤกษ์สิน
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Game App. ได้แก่ ผลงาน “เกมลูกแก้ว (Magic Ball)” โดย นายวิรุธ คำกองแก้ว และนายเดชากร วสันต์ชื่นโชคชัย
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Wireless Intercommunication system via Bluetooth (ระบบอินเตอร์คอมไร้สายด้วยบลูทูธ) โดย นายสุวัฒน์ กะลัมภะวณิช และนายพิชญ์ สุทธิวรรณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “ระบบค้นหาและตรวจสอบราคาสินค้าที่ลดราคาผ่านโทรศัพท์มือถือ” โดย นายโตมร วงศ์ธิเบศร์ นายชาญศักดิ์ คชเสน และนางสาวกรอบแก้ว ตรีจันทร์
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Navigator on the Road” โดย นายฐิฏิกร เชื่อมทอง และนายวิรุฬ พุ่มกร
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “JJ on Tour” โดย นางสาวลลิตา สันติวรรักษ์ และนายกิตติพงษ์ มงคุณ
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Information App. ได้แก่ ผลงาน “Informate (RSS Reader) โดย นายภาคย์ กิตติภัทรกุล นายภูสิน โรจน์หิรัญสกุล และนายพงศ์ภัทร สกุลไชยกร
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Internet Utility App. ได้แก่ ผลงาน “Dopi World” โดย นายรพี สุวีรานนท์ และนายบัณฑิต จิตคงชื่น
- รางวัล Bronze Awards ในประเภท Personal Information Management App. ได้แก่ ผลงาน “โปรแกรมควบคุมระบบนิเวศน์ตู้ปลาทะเลน้ำลึกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ” โดย นายเฉลิมพงศ์ ปภาคีรี นายเสกสรรค์ ฉิมวงศ์ และนายวิทวัส ตั้งทิฐิลาภา
สำหรับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท จำนวนทั้งสิ้น 17 รางวัล ดังนี้
- รางวัล Innovation Software Application Gold Awards รางวัลละ 400,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
- รางวัล Innovation Software Application Silver Awards รางวัลละ 200,000 บาท จำนวน 5 รางวัล
- รางวัล Innovation Software Application Bronze Awards รางวัลละ 120,000 บาท จำนวน 11 รางวัล
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการประกวด Samart Innovation Awards 2005 และผลการตัดสิน ได้ที่เว็บไซต์ www.samartcorp.com/innovation_award
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พรพรรณ ฉวีวรรณ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร 0-2662-2266
www.124comm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ