ผลการสำรวจของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ภาษีเงินได้ทั่วโลกลดลง ในขณะที่การโยกย้ายของแรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลต่างๆ ต้องแข่งขันกันในเรื่องภาษี

ข่าวทั่วไป Wednesday November 5, 2008 15:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 พ.ย.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ - จากการสำรวจพบว่า ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของ 33 ประเทศ จาก 87 ประเทศ ได้ลดลง ในช่วงหกปีที่ผ่านมา โดย มีเพียงเจ็ดประเทศเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น - อัตราสูงสุดอยู่ในยุโรป และอัตราต่ำสุดอยู่ในลาตินอเมริกา - ภาษีทางอ้อมอาจจะช่วยทำให้ช่องว่างของรายได้ของรัฐลดลง ผลการศึกษาในครั้งใหม่ ของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลทั่วโลก ที่อยู่ในระดับสูงสุดได้ตกลงมาโดยตลอด โดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 2.5 ในช่วงหกปีที่ผ่านมา ในขณะที่รัฐบาลต่างๆ พยายามที่จะทำให้เกิดดุลยภาพ ระหว่าง ความต้องการรายได้จากภาษี กับ ผลกระทบของการโยกย้ายของแรงงานทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น อัตราภาษีส่วนบุคคลทั่วโลก ที่อยู่ในระดับสูงสุดได้ตกลงมาโดยตลอด จากค่าเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 31.3 ในปี พ.ศ. 2546 เป็นอัตราร้อยละ 28.8 ในปี พ.ศ. 2551 แต่ในสหภาพยุโรป (อียู) ผู้เสียภาษียังคงชำระภาษีในอัตราสูงสุด ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 36.4 ตามด้วยผู้เสียภาษีในประเทศเอเชียแปซิฟิค ชำระภาษีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 34.6 และผู้เสียภาษีในลาตินอเมริกา ชำระภาษีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 26.9 คุณเบญจมาศ กุลกัตติมาส หุ้นส่วนกรรมการ ของ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด และหัวหน้างานให้บริการผู้บริหารต่างชาติ ได้กล่าวว่า “อัตราภาษีเงินได้บุคคลในปัจจุบันของประเทศไทย ที่อัตราร้อยละ 37 นั้นสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 34.6 ของเอเชียแปซิฟิค ในบรรยากาศทางการเงินในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ เหล่านั้นในภูมิภาค ที่มีอัตราภาษีบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า อาจจะเห็นว่าเป็นการง่าย ที่จะดึงดูดบรรดาผู้ลงทุน” ในระดับประเทศ ประชากรของเดนมาร์คชำระภาษีในอัตราภาษีสูงที่สุดในโลก โดยอัตราสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 59 โดยไม่รวมประเทศต่างๆ ที่ไม่มีการเรียกเก็บภาษีเลย อัตราภาษีของอียูที่ต่ำสุดอยู่ในบัลกาเรีย ด้วยอัตราภาษีใหม่ในอัตราร้อยละ 10 อัตราเดียว ซึ่งลดลงจากร้อยละ 24 และอัตราภาษีของเอเชียแปซิฟิคที่ต่ำสุดอยู่ในฮ่องกง ด้วยอัตราร้อยละ 16 และอัตราภาษีที่ต่ำสุดของลาตินอเมริกาอยู่ในปารากวัย ด้วยอัตราร้อยละ 10 จากการสำรวจ 87 ประเทศ มี 33 ประเทศได้ลดอัตราภาษีของประเทศเหล่านั้นลงในช่วงหกปีที่ผ่านมา และมีเพียงเจ็ดประเทศเท่านั้นที่อัตราภาษีสูงสุดได้มีการเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2551 กว่าที่ประเทศเหล่านั้นเคยมีมาในปี พ.ศ. 2546 ในบรรดาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสได้ลดอัตราภาษีของประเทศลงอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด จากอัตราร้อยละ 48.1 ในปี พ.ศ. 2546 เป็นร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2550 เยอรมันได้ลดอัตราภาษีของประเทศลงจากอัตราร้อยละ 48.5 เป็น ร้อยละ 45 โดยคงอัตราในระยะสั้นๆ อยู่ที่ร้อยละ 42 ในช่วงปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค การแข่งขันทางด้านภาษีระหว่าง ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์ลดอัตราภาษีของตนลง จากร้อยละ 22 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 21 ในปี พ.ศ. 2549 และร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2550 แต่ประเด็นนี้มิได้บอกเรื่องราวทั้งหมด เนื่องจากทั้งรัฐบาลของทั้งฮ่องกง และสิงคโปร์ ได้เสนอส่วนลดภาษีให้แก่ประชากรของตน เมื่อได้รับอนุญาตจากการคลังของภาครัฐบาล สำหรับปี พ.ศ. 2550/ 2551 ส่วนลดภาษีของสิงคโปร์ อยู่ที่อัตราร้อยละ 20 ซึ่งจำกัดจำนวนอยู่ที่ 2,000 เหรียญสิงคโปร์ (1,400 เหรียญสหรัฐอเมริกา) และส่วนลดภาษีของฮ่องกง อยู่ที่อัตราร้อยละ 75 ซึ่งจำกัดจำนวนอยู่ที่ 25,000 เหรียญฮ่องกง (3,200 เหรียญสหรัฐอเมริกา) คุณเบญจมาศฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ออสเตรเลียได้ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลลงสองเปอร์เซนต์ด้วยเช่นกัน เป็นร้อยละ 45 ในปีก่อน แต่หากความประสงค์ คือต้องการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียน ซึ่งได้ย้ายไปทำงานในฮ่องกง หรือสิงคโปร์ เป็นการชั่วคราวกลับไป สิ่งแค่นี้ก็อาจจะไม่เพียงพอ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ยินจากคนทำงานชาวต่างประเทศว่า เมื่อครอบครัวได้เกิดความคุ้นเคยในการมีกำลัง การใช้จ่ายเงิน และการเก็บเงินเพิ่มขึ้น ที่ได้รับจากการที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ำเสียแล้ว จึงเป็นการยากที่จะหาเหตุผลที่จะดึงดูดให้พวกเขากลับบ้าน” คุณเบญจมาศฯ ได้กล่าวอีกว่า “หากส่วนแบ่งของความมั่งคั่งของประเทศในหลายๆ ประเทศ ที่ได้รับมาจากภาษีเงินได้คงที่ หรือมีการเพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา การลดลงของอัตราภาษีเงินได้บุคคล และภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วรัฐบาลเหล่านั้นจะหาเงินทุนมาได้อย่างไร ซึ่งเราคิดว่า คำตอบก็อาจจะเป็นเรื่องของการเพิ่มการเก็บภาษีทางอ้อม โดยผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีศุลกากร และค่าธรรมเนียมสำหรับการให้บริการที่เป็นการเฉพาะ” คุณเบญจมาศฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “อย่างไรก็ดี ในขณะนี้นโยบายของรัฐบาลไทยก็คือการคงไว้ซึ่งภาษีทางอ้อมที่เป็นหลักอยู่ (คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ และเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นการจำกัดโอกาสสำหรับการลดอัตราต่างๆ ของภาษีเงินได้” หมายเหตุ ถึงบรรณาธิการ การสำรวจอัตราภาษีส่วนบุคคลปี พ.ศ. 2551 ของ เคพีเอ็มจี เป็นครั้งรกที่ เคพีเอ็มจี ได้ทำการสำรวจอัตราภาษีส่วนบุคคลระหว่างประเทศกับข้อมูลในอดีต ในช่วงปี พ.ศ. 2546 -2551 โดยรายงานดังกล่าวครอบคลุม 87 ประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นระดับสูงที่สุดของภาษีส่วนบุคคล ที่พึงจะต้องชำระให้แก่รัฐบาลกลาง เพื่อเป็นการง่ายในการเปรียบเทียบ การสำรวจดังกล่าวมิได้นำภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) เข้ามารวมไว้ในการสำรวจด้วย เช่น การจ่ายเงินสบทบค่าประกันสังคม, ภาษีรัฐ และภาษีเทศบาล (ท้องถิ่น) ฯลฯ การศึกษาดังกล่าวได้ให้รายละเอียดการเปรียบเทียบของการเคลื่อนไหวต่างๆ ของอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลแบบประเทศต่อประเทศ พร้อมด้วยการเปรียบเทียบต่างๆ ของระดับภาษีที่ยอมรับได้ในอัตราที่สูงที่สุด และผลกระทบของการจ่ายเงินสบทบค่าประกันสังคมต่อเงินได้ สำหรับสำเนาของการสำรวจดังกล่าว โปรดเข้าไปที่ www.kpmg.co.th เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลก ที่ให้บริการในด้านการสอบบัญชี, การภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ บรรดาบริษัทที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี เป็นบริษัทซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เคพีเอ็มจี แต่ละบริษัท เป็นองค์กรที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนทางด้านกฎหมายตามที่แต่ละบริษัทเป็น เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เคพีเอ็มจี ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลก ที่ให้บริการในด้านการสอบบัญชี, การภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ บริษัทที่เป็นสมาชิกอิสระของเครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 145 ประเทศ และมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพต่างๆ มากกว่า 123,000 คน ทั่วโลก คุณโรเบิร์ต พอร์เตอร์ หุ้นส่วนกรรมการ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด rporter1@kpmg.co.th +66 2677 2513 คุณวิรัตน์ ศิริขจรกิจ หุ้นส่วนกรรมการ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด wirat@kpmg.co.th +66 2677 2513 คุณเบญจมาศ กุลกัตติมาส หุ้นส่วนกรรมการ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด benjamas@kpmg.co.th +66 2677 2524 เว็บไซต์ ของ เคพีเอ็มจี ในประเทศไทย อยู่ที่ www.kpmg.co.th สื่อมวลชน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ ณัฐกานต์ จิตชาญสกุล / วรางคณา พวงศิริ โทรศัพท์: 0-2653-2717-9 อีเมล์: nuttakan@spark.co.th, warangkana@spark.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ