กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--กรีนพีซ
กรีนพีซเตือนว่า แผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA's World Energy Outlook 2008) จะนำพาโลกไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย โดยการอ้างถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่เพียงลมปาก องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(IEA) ได้คาดการณ์ถึงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้นเกินกว่าที่โลกที่จะแบกรับได้ ขณะเดียวกันยังสนับสนุนเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนและพลังงานนิวเคลียร์
สเวน เทสเก ผู้เชี่ยวชาญพลังงานอาวุโสของกรีนพีซสากล กล่าวว่า รายงานของ IEA ไม่ได้มองถึงการร่อยหรอของแหล่งน้ำมันและก๊าซในช่วงทศวรรษที่จะมาถึง และไม่ได้คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั่นก็คือสภาพภูมิอากาศของโลก องค์การพลังงานระหว่างประเทศนำเสนอตัวอย่างของสิ่งที่ไม่ควรทำ ในความความล้มเหลวที่จะคงให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกอยู่ในระดับไม่เกิน 2 องศา มันแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว เราไม่ควรลงทุนในด้านการสำรวจเชื้อเพลิงฟอสซิลและโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตแห่งใหม่ แต่ควรลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน
รายงานล่าสุดของกรีนพีซเรื่อง "ปฏิวัติพลังงาน แผนการพลังงานที่ยั่งยืนของโลก(Energy [R]evolution: A Sustainable World Energy Outlook) ซึ่งจัดทำขึ้นร่วมกับสภาพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป(European Renewable Energy Council) แสดงให้เห็นว่าระบบพลังงานหมุนเวียนผนวกกับประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานจากระดับปัจจุบันที่ 28 พันล้านตันเป็น 20.9 ล้านตัน ภายในปี 2573 ได้อย่างไร ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแผนปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซคิดเป็นการลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ แผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซใช้สมมุติฐานแบบเดียวกับองค์การพลังงานระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและการเพิ่มประชากร แผนการนี้ยังได้รวมการคาดการณ์ระยะยาวจนถึงปี 2593 โดยที่จะมีการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่งและ ลดละเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยสมบูรณ์ภายในปี 2633
ข้อเปรียบเทียบสำคัญ
- แผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ การคงระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่ระดับ 450 ส่วนในล้านส่วน (450 ppm) จะเป็นผลให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มได้สูงสุดภายในปี 2563 ส่วนแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซนั้น การเพิ่มปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึงจุดสูงสุดภายในปี 2558 ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระบุว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการหลีกเลี่ยงวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- แผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ มีการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานลงเป็น 25.7 กิกะตันต่อปีภายในปี 2573 ส่วนแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซนั้นมีการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานลงอีกร้อยละ 20 หรือคิดเป็น 20.9 กิกะตันต่อปี ซึ่งเป็นเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยตามแผนขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ
- แผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานที่ไม่ยั่งยืน เช่น นิวเคลียร์และเทคโนโลยีที่ยังไม่น่าเชื่อถือ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอน ส่วนแผนปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซจะลด ละ เลิกนิวเคลียร์และจะพิจารณาเฉพาะเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
- ความต้องการใช้พลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าในแผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศและแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซนั้นเกือบเหมือนกัน โดยที่แผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซชี้ให้เห็นว่าความต้องการใช้พลังงานในภาคการผลิตความร้อน ภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรมสามารถลดลงได้อีกร้อยละ 13.2
ประเด็นสำคัญ
- ขณะนี้ ยังไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการ หรืออยู่ในแผนงาน องค์การพลังงานระหว่างประเทศเชื่อว่าจะมีประมาณ 2-3 โครงการที่เข้าระบบทุก ๆ เดือนจากปัจจุบันไปจนถึงปี 2573
- การนำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ตามการคาดการณ์ในแผนการพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศนั้นไม่สะท้อนถึงความเป็นจริง ซึ่งตามการคาดการณ์ จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่เชื่อมต่อเข้ากับระบบทุก ๆ เดือนจนถึงปี 2573 ขนาดดังกล่าวนี้เกินขีดความสามารถของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์อย่างมาก
สเวน เทสเก กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางด้านพลังงานหมุนเวียนมีประโยชน์ต่อโลกและระบบเศรษฐกิจ ภายใต้แผนการพลังงานแบบเป็นไปตามปกติขององค์การพลังงานระหว่างประเทศซึ่งคาดการณ์ถึงการลงทุนราว 13.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในภาคพลังงานจนถึงปี 2573 โดยเปรียบเทียบ แผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซจะมีต้นทุนมากกว่าเล็กน้อยราวร้อยละ 8 แต่จะมีการประหยัดมากขึ้นถึง 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิวัติพลังงานคืออะไร กรีนพีซได้สร้างสถานีกู้วิกฤตโลกร้อนในประเทศโปแลนด์และมีการเปิดในวันนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องโลกร้อนที่จะเกิดขึ้นในเมืองพอซแนน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลโปแลนด์ทำการยุติถ่านหิน ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรีนพีซนำเสนอรายงานการปฏิวัติพลังงานของโปแลนด์ โดยระบุว่า ถึงแม้ อุตสาหกรรมจะอ้างในทางตรงกันข้าม โปแลนด์ไม่จำเป็นต้องใช้ถ่านหินเพื่อนำเป็นฐานการผลิตไฟฟ้าของประเทศ รายงานของกรีนพีซชี้ให้เห็นว่า ภายในปี 2593 โปแลนด์สามารถที่จะผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์และลมได้ร้อยละ 80
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 089 4769977
วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร 089-487-0678
หมายเหตุ
รายงานนี้จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน Technical Thermodynamics ที่ศูนย์การบินอวกาศแห่งเยอรมนี นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากมหาวิทยาลัย สถาบัน และ อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ทั่วโลกกว่า 40 แห่ง
- รายงานฉบับใหม่นี้เพิ่มการวิเคราะห์ที่มีรายละเอียดของศักยภาพของ ประสิทธิภาพพลังงาน ระบบการขนส่งในอนาคต เช่น รถไฟฟ้า และ การวิเคราะห์ทางการเงินในภาคพลังงาน
- รายงานนี้ให้ภาพของแนวคิดพลังงานโลกอย่างกว้างขวางและครอบคลุม โดยวิเคราะห์ว่าจะปรับโครงสร้างของระบบพลังงานโลกอย่างไรบนพื้นฐานของการประเมินในระดับภูมิภาคของศักยภาพของแหล่งพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพพลังงาน และ การใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตไฟฟ้า-ความร้อนแบบกระจายศูนย์ แผนการปฏิวัติพลังงานนี้นำเสนอเพื่อเปรียบเทียบกับแผนการพลังงานที่เป็นไปตามปกติขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็น 10 ภูมิภาค
Wiriya Kingwatcharapong
Media Campaigner
Greenpeace Southeast Asia, Thailand
Office: +662 3571921 #115
Mobile: +6689 4870678
skype: wiriyanueng
wkingwat@greenpeace.org