ฐานะการคลังตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม — กันยายน 2551) และปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กันยายน 2551)

ข่าวทั่วไป Friday November 14, 2008 16:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค.[1] (ระบบ Government Finance Statistics: GFS) สรุปได้ว่า ในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 67,543 ล้านบาท เป็นผลจากการเกินดุลของรัฐบาลเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากเป็นช่วงของการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2551 ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 66,356 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลของรัฐบาล 69,352 ล้านบาท ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดดุล 2,996 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 67,543 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP[2]) โดยเป็นการเกินดุลของรัฐบาล 83,107 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ GDP) ในขณะที่ อปท.ขาดดุล 15,564 ล้านบาท[3] (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) 1.1 ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ 449,399 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของ GDP (ปีที่แล้วร้อยละ 4.6 ของ GDP) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 56,405 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา และภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 21.8 21.8 และ 21.2 ตามลำดับ 1.2 ด้านรายจ่าย รัฐบาลมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 430,402 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของ GDP (ปีที่แล้วร้อยละ 5.2 ของ GDP) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6,139 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 [1] ระบบ สศค. : ระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง หรือ Government Finance Statistics (GFS) เป็นระบบสถิติที่รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลทั้งหมด โดยครอบคลุมการใช้จ่ายตามระบบงบประมาณ เงินฝากนอกงบประมาณ กองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ เงินกู้ต่างประเทศ เงินช่วยเหลือต่างประเทศ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [2] GDP ปี 2550 และ คาดการณ์ GDP ปี 2551 เท่ากับ 8,469.1 และ9,410.1 พันล้านบาท ตามลำดับ [3] เป็นการประมาณการดุลการคลังโดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) 1.3 ดุลงบประมาณ จากการที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลขยายตัวในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับรายจ่ายส่งผลให้ดุลงบประมาณในช่วงไตรมาสที่ 4 เกินดุล 18,997 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุล 43,547 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP) 1.4 รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประกอบด้วย Project Loans และ Structural Adjustment Loans (SAL)[1] มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 784 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 673 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของการเบิกจ่ายเงินกู้ SAL ที่เร่งตัวขึ้น 1.5 ดุลบัญชีนอกงบประมาณ (ประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ) เกินดุล 64,894 ล้านบาท (ช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุล 60,405 ล้านบาท) เนื่องจากกองทุนขนาดใหญ่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลค่อนข้างมากในไตรมาสนี้ ในขณะที่ปีที่แล้วเงินอุดหนุนส่วนใหญ่ได้จ่ายไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 นอกจากนั้นการให้กู้ยืมสุทธิก็เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมาก 1.6 ดุลการคลังของรัฐบาล เมื่อรวมดุลงบประมาณกับดุลบัญชีนอกงบประมาณและหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศออกแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุลทั้งสิ้น 83,107 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ GDP) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุล 16,747 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance)[2] ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2551 เกินดุลทั้งสิ้น 122,328 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของ GDP) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุล 51,565 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP) 1.7 ดุลการคลังของ อปท. คาดว่าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 95,270 ล้านบาท และมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 110,834 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง อปท. ขาดดุล 15,564 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุล 23,386 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP) [1] เป็นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจส่วนที่เหลือ ซึ่ง ครม. มีมติให้นำมาจัดสรรใหม่ [2] ดุลการคลังเบื้องต้น คือ ดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง โดยไม่รวมรายได้จากดอกเบี้ยรับ และรายจ่ายของดอกเบี้ยจ่าย และการชำระคืนต้นเงินกู้ 1. ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลปีงบประมาณ 2551 ผลจากการเกินดุลของภาครัฐอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ดุลการคลังของภาครัฐบาลปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 66,356 ล้านบาท (ปีที่แล้วที่เกินดุล 7,002 ล้านบาท) โดยเป็นการเกินดุลของรัฐบาลจำนวน 69,352 ล้านบาท ในขณะที่ อปท. ขาดดุล 2,996 ล้านบาท 2.1 ดุลงบประมาณ ขาดดุลทั้งสิ้น 34,448 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP) โดยรัฐบาลมีรายได้ 1,622,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 11.1 โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสุรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 15.9 และ 10.6 ตามลำดับ ในขณะที่มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,656,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 5.3 2.2 รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประกอบด้วย Project Loans และ Structural Adjustment Loans มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30.5 2.3 ดุลบัญชีนอกงบประมาณ เกินดุล 105,225 ล้านบาท เกินดุลลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่เกินดุล 112,444 ล้านบาท 2.4 ดุลการคลังของรัฐบาล จากดุลงบประมาณที่ขาดดุลและดุลบัญชีนอกงบประมาณที่เกินดุล เมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุลทั้งสิ้น 69,352 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP) ขณะที่ปีที่แล้วขาดดุล 1,357 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 176,256 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของ GDP) โดยเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 76,567 ล้านบาท 2.5 ดุลการคลังของ อปท. คาดว่าปีงบประมาณ 2551 อปท. มีรายได้ทั้งสิ้น 359,267 ล้านบาท และรายจ่ายจำนวน 362,263 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุลการคลังจำนวน 2,996 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของ GDP) เทียบกับปีงบประมาณ 2550 ที่เกินดุล 8,359 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP) สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9021 ต่อ 3558 หรือ 3555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ