หน่วยงานจัดการสารเคมียุโรป (ECHA) ประกาศรายชื่อสารเคมีที่มีความน่าห่วงกังวลสูง (SVHC) ชุดแรกใน Candidate List

ข่าวทั่วไป Monday November 17, 2008 08:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--คต. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 หน่วยงานจัดการสารเคมียุโรป (ECHA) ได้ประกาศรายชื่อสารเคมีที่มีความน่าห่วงกังวลสูง (Substances of Very High Concern: SVHC) จำนวน 15 รายการใน “Candidate List” ชุดแรกแล้ว ซึ่งการจะผลิตหรือ ใช้สารเหล่านี้ต้องขออนุญาตตาม Annex XIV ของระเบียบ REACH โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.) สาร CMRs 10 รายการ ได้แก่ (1.) Triethyl Arsenate, (2.) 4,4’- Diaminodiphenylmethane [MDA], (3.) Dibutyl Phthalate [DBP], (4.) Cobalt Dichloride, (5.) Diarsenic Pentaoxide, (6.) Diarsenic Trioxide, (7.) Sodium Dichromate, (8.) Bis [2-ethylhexyl] Phthalate [DEHP], (9.) Lead Hydrogen Arsenate, และ (10.) Benzyl Butyl Phthalate (BBP) 2.) สาร PBTs / vPvBs 5 รายการ ได้แก่ (1.) Anthracene, (2. ) Alkanes, C10-13, Chloro (Short Chain Chlorinated Paraffins), (3.) Bis (tributyltin) Oxide (TBTO) (4.) 5-tert-butyl-2, 4, 6-Trinitro-m-xylene (Musk Xylene) และ (5.) Hexabromocyclododecane (HBCDD) and all major Diastereoisomers Identified: Alpha - hexabromocyclododecane, Beta - hexabromocyclododecane, Gamma - hexabromocyclododecane ดังนั้นผู้ประกอบการใน EU และ EEA (European Economic Area ประกอบด้วย ประเทศ ไอซ์แลนด์ ลิเทนสไตล์ และนอร์เวย์) ต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอแก่ลูกค้าและผู้บริโภคทราบถึงการใช้ประโยชน์ของสินค้าที่มีสาร Candidate List ในปริมาณความเข้มข้นมากกว่า 0.1% (w/w) อย่างปลอดภัยนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องขอข้อมูลการใช้ประโยชน์จากสินค้านั้นอย่างปลอดภัยได้ภายใน 45 วันนับจากวันที่ได้ยื่นคำขอตามมาตรา 33 สำหรับการขออนุญาตผลิตหรือใช้สาร SVHC นั้นจะเริ่มดำเนินการได้ภายหลังจากบรรจุสารเหล่านี้ใน Annex XIV ในราวกันยายน /ตุลาคม 2552 โดย ECHA จะเริ่มพิจารณาในวันที่ 1 มิถุนายน 2552 และจะเสนอชื่อสารเพิ่มเติมใน Annex XIV อย่างน้อยทุกสองปี ในกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะแจ้งสาร SVHC ในสินค้าที่มีความเข้มข้นมากกว่า 0.1% (w/w) ในปริมาณมากกว่า 1 ตันต่อปีต่อรายให้ ECHA รับทราบให้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สารเคมีใน Candidate List เปรียบเสมือนบัญชีดำ ที่อาจถูกห้ามการใช้หรือต้องหาสารอื่นมาใช้ทดแทนในการผลิตสินค้าที่วางจำหน่ายใน EU ดังนั้น หากเป็นไปได้ผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้าออกไปยังตลาด EU ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารใน Candidate List แต่ในกรณีที่ยังจำเป็นต้องใช้สารดังกล่าวในการผลิตสินค้า ผู้ประกอบ การต้องประสานผู้นำเข้าในเรื่อง การแจ้ง และขออนุญาตการใช้สารตามระเบียบ REACH รวมทั้งให้ข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์สินค้า อย่างปลอดภัยแก่ผู้บริโภคตามข้อกำหนดของระเบียบด้วย สำหรับสารเคมีที่จัดเป็น Substitute It Now หรือ SIN List ที่จัดทำโดย NGOs ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพราะมีแนวโน้มจะถูกบรรจุใน Candidate List ในอนาคต การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้สอดคล้องตามข้อกำหนดและระยะเวลาสิ้นสุดของระเบียบ REACH จะมีการลงโทษตามข้อกำหนดของ Competent Authority ของแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพฯ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรให้ความร่วมมือกับผู้นำเข้ายุโรปในการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาด EU ที่เข้าข่ายดังกล่าวควรจัดเตรียมข้อมูลการใช้ประโยชน์ อย่างปลอดภัยของสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภคด้วย กรณีสินค้าที่เจตนาปลดปล่อยสารเคมี ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจคำอธิบายทางเทคนิคได้จากคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับสารเคมีที่มีอยู่ในตัวสินค้า (Guidance on Requirements for Substances in Articles หน้า 41 - 42 และ Appendix 1) ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็ปไซท์ http://echa.europa.eu/chem_date/ candidate_list_table_en.asp ภายใต้หัวข้อ ECHA CHEM และ http://reach.jrc.it/does/guidance_ document/articles_en.htm?time=1224843234

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ