ก.พลังงานส่งเสริมพลังงานสะอาด CDM

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 17, 2008 14:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--ก.พลังงาน ก.พลังงาน รุก นโยบายพลังงานสะอาด ลดปัญหาโลกร้อน ชี้ไทยได้รับรองโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) 46 โครงการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี พร้อมให้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปตท. ปตท.สผ. เร่งศึกษานำร่องโครงการยักษ์ อัดก๊าซเรือนกระจกลดใต้ดิน วันนี้ (17พ.ย.) นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็น ประธานในการประชุมนโยบายพลังงานกับการลดภาวะโลกร้อน และกลไกการพัฒนาพลังงานสะอาด(CDM) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) และสถาบันบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า การช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบรรเทาภาวะโลกร้อนนั้น นับเป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Green House Gas - GHG) จากภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการกลั่นน้ำมัน ให้ลดลง 15 — 20% รวมทั้งการส่งเสริมมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เกิดโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด(CDM) ด้านพลังงาน ซึ่งจะสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ โครงการด้านพลังงานที่ได้รับรอง CDM แล้ว ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 46 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 3.2 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นโครงการผลิตผลิตพลังงานไฟฟ้า และความร้อนจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) จากน้ำเสียของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์ม และฟาร์มหมู คิดเป็นปริมาณ 1.49 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ หรือสัดส่วน 50% รองลงมา ได้แก่โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ชีวมวล (Biomass) ได้แก่ กา กอ้อย ใบอ้อย แกลบ ทะลายปาล์มเปล่า เศษไม้ยางพารา เศษไม้ยูคาลิป คิดเป็นปริมาณ 0.68 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ หรือสัดส่วน 20% เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังได้มอบหมายให้ กฟผ. ปตท. และบางจาก ศึกษาเพื่อเตรียมลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 15 -20% ตามนโยบาย โดยขณะนี้ บางจาก อยู่ระหว่างการเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดผอม T8 เป็นหลอดผอดมาก T5 ในทุกสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และปตท.สผ. ได้ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ติดตามเทคโนโลยี Carbon Capture Sequestration —CCs เพื่อเตรียมทำโครงการนำร่องในประเทศไทย ที่จะอัดก๊าซเรือนกระจก ลงกลับสู่ใต้ดิน ซึ่งโครงการดังกล่าวรัฐบาลออสเตรเลีย ได้ให้ความสนใจที่จะเข้าช่วยเหลือด้านวิชาการด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม ไก่ JJJ 086-6055510

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ