คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย จัดงานแถลงข่าวการค้นพบยีน KRAS ตัวช่วยเพื่อการรักษา

ข่าวทั่วไป Thursday November 20, 2008 11:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์ เนื่องจากปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ทวีความน่ากลัวขึ้น และได้คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 3 จากโรคมะเร็งทั้งหมด หรือในแต่ละปีพบว่ามีผู้ป่วยใหม่เป็นโรคนี้กว่า 10,000 ราย ด้วยสภาพการดำรงชีวิตของผู้คนในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อสุขภาพและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้สูงยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้ก้าวไกลไปมาก ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงมีหนทางแห่งความหวังในการมีชีวิตรอดมากขึ้น ล่าสุดทีมแพทย์ได้ใช้เทคโนโลยีค้นพบชีวโมเลกุลตัวใหม่ คือ การตรวจยีน KRAS (เค-ราส) ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนการรักษาของแพทย์ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย (Tailored Therapy) และสามารถคาดการณ์อัตราตอบสนองจากการรักษาได้ล่วงหน้า ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงมีมากขึ้น ภายในงานท่านสื่อมวลชนจะได้พบกับการบรรยายพิเศษโดย รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ, แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา, หน่วยมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย หนึ่งในแพทย์ไทยที่ไปร่วมการประชุมประจำปีของสมาคมมะเร็งวิทยาประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Society of Clinical Oncology - ASCO) ที่จะให้คำอธิบายโดยกระจ่างเกี่ยวกับยีน KRAS เพื่อเป็นองค์ความรู้แก่ประชาชนในการรับมือกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่อไป วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00 — 15.00 น. ณ ห้องสุริยันจันทรา ชั้น 2 โรงแรมโฟร์ ซีซันส์ ราชดำริ (สถานีรถไฟฟ้าราชดำริ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์: วรญา มณีวรรณ (เพชร) โทร. 0-2204-8229, 084-004-0636 พรชนันท์ มงคลกุล (กิฟท์) โทร.0-2204-8223, 081-755-1105

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ