กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ขอเชิญเข้าร่วมอบรม และสัมมนา เรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน และสารพันปัญหาการว่าจ้าง พร้อมประเด็นของสัญญาจ้างที่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ (Employment Contract and Case Study)อบรมวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551 เวลา 09.00-16.00 น.ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์
ปัญหาการว่าจ้างและการทำสัญญาจ้างแรงงาน เป็นปัญหาที่มีการฟ้องศาลแรงงานกลางมากพอสมควรแต่ไม่สำคัญเท่ากับผู้ถูกฟ้องคือฝ่ายนายจ้าง ทั้งๆ ที่เป็นผู้จัดทำสัญญา กลับเป็นฝ่ายแพ้คดีอย่างน่าเสียดาย ซึ่งปกติแล้ว ฝ่ายร่างสัญญา หรือฝ่ายจัดทำสัญญา จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเกือบเสมอ เพราะต้องการสิ่งใดเป็นเครื่องผูกมัดลูกจ้าง ก็สามารถเขียนเป็น เงื่อนไขผูกพันเอาไว้ก่อนได้ คือ เขียนเอาเปรียบลูกจ้างไว้ก่อน เมื่อลูกจ้างจำใจต้องยอมเพราะอยากได้งานทำ หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม เมื่อได้ลงนามในฐานะของคู่สัญญาแล้ว เงื่อนไขตามข้อสัญญาก็จะผูกมัดลูกจ้างให้เป็นไปตามสาระแห่งสัญญา
มีเรื่องแปลกแต่จริงมากมายหลายร้อยคดี ที่ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างแพ้คดีในเรื่องเกี่ยวกับการว่าจ้างและ การทำสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบุคคล ฝ่ายสรรหาและจ้างงานฝ่ายบัญชีและการเงินหรือผู้บริหารกิจการต่างๆก็ตามทำให้การสั่งการ หรือการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว เกิดข้อผิดพลาด ไม่รัดกุมไม่เข้าที่ไม่เข้าท่า นายจ้าง เสียหาย ขาดสิทธิทางการบริหาร และบางครั้งเป็นการผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ดังนั้นจึงควรที่จะมาทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาในการว่าจ้าง และ การทำสัญญาจ้างแรงงานโดยละเอียดพิสดารกันสักครั้ง
กำหนดการอบรม
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-16.30
- สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาต่างตอบแทน
- ลูกจ้างมาทำงาน นายจ้างต้องตอบแทนโดยการจ่ายค่าจ้างให้ เป็นเรื่องเข้าใจง่าย
- แต่ลูกจ้างหยุดงาน ลูกจ้างลางาน ทำไมนายจ้างต้องตอบแทน โดยการจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างขาดงาน ละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกายังให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างอีก
- มีเหตุสุดวิสัย น้ำท่วมหนัก ไฟไหม้ ลูกจ้างไม่มาทำงาน ทำไมนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างตกลงรับค่าจ้าง 50% ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ จึงมีผลใช้บังคับได้ (คดีของบริษัทยูเนียนเท็คซ์นิตติ้ง จำกัด)
- ทำไมนายจ้างเลิกกิจการ โดยจ่ายค่าชดเชยให้แล้ว ยังต้องจ่ายค่าจ้างต่ออีก 6 เดือน (คดีขององค์การ อาหารสำเร็จรูป)
- สั่งพักงานกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาลแรงงาน มีทางทำได้อย่างไรที่ชอบ (คดีของบริษัทไซมอนแอนด์แอสโซิเอทส์ จำกัด)
- สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
- ทำสัญญาจ้างด้วยวาจา สัญญาจ้างแรงงานก็สมบูรณ์
- ไม่ได้ตกลงจ้าง ทำไมจึงกลายเป็นสัญญาจ้างโดยปริยาย มีองค์ประกอบอะไร
- ถ้าต้องการจ้างชั่วคราว แต่ไม่ทำเป็นหนังสือ กลับกลายเป็นลูกจ้างประจำได้อย่างไร
- สัญญาจ้างชั่วคราว กับจ้างเป็นประจำต่างกันที่ใด
- สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างแน่นอน เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มีองค์ประกอบอย่างไร
- เหตุใดนายจ้างจึงมีสิทธิ์นำเอางานประจำ มาทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆ ได้โดยชอบ
- ประโยชน์ของการทำสัญญาจ้างชั่วคราวเป็นช่วงๆ 7 ประการ มีอะไรบ้าง
- สัญญาจ้างที่มีเวลาการจ้างแน่นอน ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่า เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีระยะ เวลาการจ้างแน่นอน มีลักษณะข้อความในสัญญาอย่างไร หลักในการทำสัญญาจ้างแรงงาน
- เงื่อนไขในการจ้าง การทดลองงาน ระยะเวลาการจ้าง ลักษณะงานที่ทำ ค่าจ้าง วันเวลาทำงานปกติ
- สิทธิของนายจ้าง
- มอบงานให้ลูกจ้างทำ โอนความเป็นนายจ้างให้กิจการอื่น เลิกสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างไร้ฝีมือ เรียกค่า เสียหาย
- เมื่อออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า สั่งให้ทำงานและมอบหมายงาน การโยกย้ายสับ เปลี่ยน หน้าที่ การให้ความดีความชอบ
- การลงโทษลูกจ้าง
- หน้าที่ของนายจ้าง
- จ่ายค่าจ้าง บอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง เหตุที่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 5 ประการ ออกใบ สำคัญ แสดงการทำ งาน (แม้ลูกจ้างถูกไล่ออกนายจ้างก็ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้)
- จ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
- สัญญาห้ามลูกจ้างไปทำงานกับธุรกิจคู่แข่งขันหลังออกจากงาน ศาลฎีกาให้มีผลใช้บังคับได้
- การจ่ายค่าจ้างตามผลงานศาลฎีกาให้เป็นจ้างแรงงาน
- บรรณาธิการข่าว ศาลฎีกาให้เป็นจ้างทำของ
- ทำงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้ระเบียบของนายจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้เป็นจ้างแรงงาน
- นายจ้างมอบให้ตัวแทนไปว่าจ้างคนงาน ตัวแทนไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้าง ต้องจ่ายซ้ำ
- สัญญาจ้าง ทำขัดกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานได้ แต่ขัดกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงานไม่ได้
- ตัวแทนขายประกันชีวิต ศาลฎีกาตัดสินไม่ใช่ลูกจ้าง แม้จ่ายค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน แต่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา เป็นจ้างแรงงาน
- กรรมการบริษัท ศาลฎีกาตัดสินว่ามิใช่ลูกจ้างบริษัท
- ผู้ว่าจ้าง มิใช่นายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา
- ว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน ศาลฎีกาตัดสินเป็นการจ้างแรงงานได้ ถ้าตกลงจ้างกันไม่ดี
- ช่างตัดผม ศาลฎีกาตัดสินมิใช่ลูกจ้าง
- สัญญาจ้างสิ้นสุด โดยลูกจ้างทำงานต่อมา ศาลฎีกาถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ
- นายจ้างเสนอสัญญาใหม่ให้ลูกจ้างลงนาม ลูกจ้างไม่ลงนาม ศาลฎีกาถือว่าลูกจ้างสละ สิทธิ์ที่จะทำงาน มีผลเท่ากับลาออก
- นายจ้างเดิม โอนลูกจ้างไปทำงานบริษัทอื่น ลูกจ้างไม่ยินยอม ศาลฎีกาถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ที่ ต้องจ่ายค่าชดเชย
- นายจ้างรายแรก โอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายที่สอง ลูกจ้างต้องลง ต่อมานายจ้างที่สอง ขอ โอนกลับไปให้นายจ้างแรก ลูกจ้างไม่ตกลงศาลฎีกาถือเป็นการเลิกจ้างที่ต้อง จ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกัน
- การไม่ขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้าง ศาลฎีกาไม่ถือเป็นการละเมิดต่อลูกจ้าง
- ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงาน
- ลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้มีสิทธิได้ค่าจ้างเต็ม
- สิทธิประโยชน์อื่นที่เกินกฎหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์จ่าย หรือไม่จ่ายอย่างไรก็ได้
- แม้ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ และได้ชำระบางส่วนแล้ว ศาลฎีกาก็อาจตัดสินให้ ไม่ต้องชำระหนี้ได้ ถ้ามีเหตุผลที่ปราศจากมูลหนี้เดิม
- ประเด็นที่ทำให้สัญญาจ้างทำของ กลายเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ศาลฎีกาว่ามีปัจจัยใดเป็นเครื่องบ่งชี้
- ถาม — ตอบปัญหาที่สงสัย
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 35,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอย.สามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
1. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2
2. แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
วิธีการชำระเงิน
1. เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ
2. โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2
3. แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 0-29062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น
กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด
ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน