กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
ทีม ‘Network MAP’ ตัวแทนนักศึกษาในโครงการ Networking Academy ไทยเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้
ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ย้ำความเป็นผู้นำด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระดับโลก ประกาศเปิดเวทีประลองฝีมือการแข่งขัน Asia Pacific NetRiders 2008 ด้วยรูปแบบ ออนไลน์ เรียลไทม์เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านระบบเทเลเพรเซ้นส์ (TelePresenceTM) และเว็บเอ็กซ์ (WebExTM) เทคโนโลยีระบบประชุมทางไกลเสมือนจริง เชื่อมผู้เข้าแช่งขันพร้อมกันจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค สำหรับประเทศไทยทีม ‘Network MAP’ ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศการแข่งชัน National Networking Skills Competition 2008 ระดับประเทศเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นตัวแทนนักศึกษาในโครงการ Networking Academy ของไทยเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้
ดร.ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ซิสโก้จัดการแข่งขัน Asia Pacific NetRiders 2008 ด้วยรูปแบบ ออนไลน์ เรียลไทม์เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านการเชื่อมต่อระบบเทเลเพรเซ้นส์ และเว็บเอ็กซ์ ผู้ที่เข้าแข่งขันเป็นนักศึกษาในโครงการ Cisco Networking Academy ที่ศึกษาและเรียนรู้พื้นฐานระบบเครือข่ายในมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก การจัดกิจกรรมประเภทนี้ เป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาในโครงการฯ ให้มีความพร้อมในการทำงานจริง ผู้ที่จะทำงานในสายนี้ต้องมีความรอบรู้และพร้อมเสมอที่จะรับสถานการณ์ของระบบเครือข่ายที่กลายเป็น แพลทฟอร์มสำคัญของทุกองค์กร
ดร. ธัชพล ยังกล่าวเสริมว่า “รูปแบบการแข่งขันผ่านระบบดังกล่าวเป็นการย้ำบทบาทของระบบเครือข่ายที่มีส่วนช่วยลดต้นทุนการเดินทาง และเพิ่มการเข้าถึงได้อย่างดี จากจำนวนผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ 45 คน จาก 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย,เกาหลี, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์,สิงคโปร์,ไต้หวัน,ไทย, นิวซีแลนด์ เวียดนาม,บังคลาเทศ และกัมพูชา หากทุกคนพร้อมผู้ติดตามต้องเดินทางมาแข่งขันในที่เดียวกัน ลองคำนวณดูว่าต้องใช้ทรัพยากรด้านพลังงานมากน้อยเพียงใด”
การแข่งขัน Asia Pacific NetRiders 2008 นี้เป็นกิจกรรมประจำปีที่ส่งเสริมทักษะของนักศึกษาภายใต้โครงการ Networking Academy ของซิสโก้ โครงการดังกล่าวเป็นการเรียนรู้ระบบเครือข่ายพื้นฐานผ่านอีเลิร์นนิ่งทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในระดับโลก โดยโครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1997 ปัจจุบันมีผู้ศึกษาหลักสูตรนี้ประมาณ 800,000 คนต่อปี ในมากกว่า 160 ประเทศ สำหรับการแข่งขันนี้จะทำการทดสอบความสามารถและทักษะในระดับต่างๆ ของนักเรียนที่เรียนอยู่ในโครงการ Networking Academy โดยเน้นการนำความรู้ไประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมดนี้จะเป็นเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนโครงการ Networking Academy
มิส แซนดี้ วอลช ผู้อำนวยการโครงการ Cisco Networking Academy Program และส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “โครงการ Networking Academy ของซิสโก้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยช่วยให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้มาแล้วสามารถยกระดับอาชีพของตน พร้อมทั้งช่วยพัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหรรมไอซีที ไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในชุมชน การแข่งขัน Asia Pacific NetRiders เป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่มีความสามารถที่อยู่ภายใต้หลักสูตรการเรียนการสอนในโครงการ Networking Academy ในภูมิภาคนั้นๆ ได้แสดงความสามารถออกมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม”
มิสแซนดี้ กล่าวถึงรูปแบบการแข่งขันครั้งนี้ว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกบททดสอบข้อเขียนแบบเลือกคำตอบที่ถูกต้อง และการคอนฟิคระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย Packet Tracer 5.0 ทางออนไลน์ อีกส่วนคือบททดสอบภาคปฏิบัติ โดยแก้ไขปัญหาในระบบเครือข่ายที่มีการตั้งเงื่อนไขล่วงหน้า
รูปแบบการแข่งขันแบบเรียลไทม์
สำหรับการแข่งขัน Asia Pacific NetRiders 2008 ถือเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันครั้งใหญ่ ที่ได้จัดเป็นการแข่งขันเสมือนจริงครั้งแรกผ่านเทคโนโลยีของซิสโก้คือ เทเลเพรเซ้นส์ (TelePresenceTM) และเว็บเอ็กซ์ (WebExTM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ประสานการทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ และสื่อสารระหว่างกันได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลงานต่างๆ โดยในประเทศที่ติดตั้งระบบเทเลเพรเซ้นส์แล้วจะแข่งขันผ่านระบบดังกล่าว ส่วนประเทศที่ยังไม่มีระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อไปเข้าแข่งขันผ่านทางเทคโนโลยีเว็บเอ็กซ์ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ การนำเอาเทคโนโลยีทั้งสองนี้มาประยุกต์ใช้ในการแข่งขันเป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ของซิสโก้การเปลี่ยนวิถีการทำงาน, การดำรงชีวิต, การเรียนรู้ และบันเทิง ไปสู่หนทางใหม่ๆ (Changing the way we work, live, play and learn) ซึ่งเว็บเอ็กซ์ และเทเลเพรเซ้นส์ เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นด้านการประสานการทำงานร่วมกัน ที่จะช่วยให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดเล็กได้ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภายในองค์กรกันเอง หรือกับคู่ค้า รวมถึงลูกค้าด้วย
ตัวแทนจากประเทศไทย
ส่วนของประเทศไทยทีม Network MAP เป็นตัวแทนนักศึกษาในโครงการ Networking Academy เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยทีมดังกล่าวเป็นทีมชนะเลิศการแข่งขัน National Networking Skills Competition 2008 ที่ผ่านมา มีสมาชิกได้แก่
นายสานิต กาญจนอุทัย (โอ๋) สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัท โตโยต้า ทูโช อีเล็กทรอนิกส์ ไทยแลนด์ จำกัด
นางสาวชยาภรณ์ แก้วพรหมมาลย์ (มิน) สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัท เดอะ คอมมิว นิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)
นายธนุวัตร คุ้มไข่น้ำ (ป๊อบ) กำลังศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ดร.ธัชพล กล่าวว่า “ด้วยรูปแบบการแข่งขันแบบออนไลน์ เรียลไทม์ของ Asia Pacific NetRiders 2008 นี้นับเป็นความท้าทายของคณะผู้จัดงานฯ เพราะเป็นการจัดแข่งขันรูปแบบใหม่ และจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่ดีมารองรับ รวมถึงเรื่องของการจัดตารางเวลาการแข่งขันให้เหมาะสมพร้อมกันในแต่ละประเทศ เนื่องด้วยมีทีมเข้าแข่งขันด้วยกันถึง 15 ประเทศ ผู้เข้าแข่งขันจะสามารถทราบผลคะแนนและลำดับของตัวเองได้ภายในเวลาเพียง 30 นาทีหลังสิ้นสุดการแข่งขัน”
รางวัลสำหรับทีมผู้ชนะเลิศที่ได้คะแนนสูงสุด คือ โอกาสในการไปเยี่ยมชมศูนย์เทคโนโลยีของซิสโก้ ณ สำนักงานใหญ่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 5 วัน นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้เข้าร่วมสัมผัสกับเทคโนโลยีจริงของบริษัทผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก พร้อมทั้งรับใบประกาศนียบัตรการเข้าร่วมการแข่งขัน Asia Pacific NetRiders
เกี่ยวกับซิสโก้ ซีสเต็มส์
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก รวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้มีการถ่ายโอนการเชื่อมโยง ติต่อสื่อสาร และร่วมมือกันระหว่างบุคคล โซลูชั่น ข้อมูลและข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ สามารถหาอ่านได้จาก http://www.cisco.com และข้อมูลความเคลื่อนไหวของสาขาในประเทศไทย สามารถอ่านได้ที่ http://www.cisco.co.th
เกี่ยวกับ เน็ตเวิร์คกิ้งอะคาเดมี
โครงการ Networking Academy เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2540 โดยเริ่มจากสถานศึกษา 64 แห่งใน 7 รัฐเข้าร่วมโครงการนี้ และปัจจุบันโครงการได้ขยายขอบเขตครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ นับตั้งแต่ที่เริ่มโครงการ มีผู้เรียนกว่า 1.6 ล้านคนสมัครเข้าเรียนในสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวหรือที่เรียกว่า Academy กว่า 10,000 แห่ง โดยสถาบัน Academy เหล่านี้ตั้งอยู่ตามโรงเรียนมัธยม โรงเรียนอาชีวะศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ ในชุมชน
สำหรับในประเทศไทย เริ่มนำโครงการนี้มาสู่สถาบันการศึกษาไทยตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ 60 แห่งทั่วประเทศ ทั้งสถาบันการศึกษาของภาครัฐ และเอกชน สถาบันการศึกษาที่รับผิดชอบบทบาท ครูผู้สอนiระดับภูมิภาค (Regional Academy) มี 3 แห่ง สำหรับหลักสูตร CCNA ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับหลักสูตร Fundamentals of Network Security, หลักสูตร Fundamentals of Wireless LANs และหลักสูตร IT Essentials ครูผู้สอนระดับภูมิภาค (RA) ของ 3 หลักสูตรนี้ คือ มหาวิทยาลัยรังสิต
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
ชนันดา พึ่งโพธิ์สภ ลลิดา รัตนศรีทัย
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทร: 0 2263 7087 (สายตรง) โทร: 0 2971 3711
โทรสาร: 0 2253 8440 โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์: cphongpo@cisco.com อีเมล์: lalida@pc-a.co.th