“เด็กไทย” ไอเดียเจ๋ง ผลิต “เครื่องครัวช่วยโลกร้อน”

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 27, 2008 13:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--โพลีพลัส พีอาร์ ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกำลังช่วยกันหาทางแก้ไขและป้องกัน เช่นเดียวกับเด็กๆ นิสิตนักศึกษากลุ่มนักออกแบบอุตสาหกรรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่พร้อมใจกันมาร่วมโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องครัวช่วยลดโลกร้อน “ซีกัล ดีไซน์ คอนเทสต์ 2008 : โกลบอล ไครซิส” ( Seagull Design Contest 2008 2nd: Global Crisis ) ที่จัดโดย บริษัท ไทยสเตนเลสสตีล จำกัด ผู้ผลิตเครื่องครัวตรา “ซีกัล” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องครัวช่วยโลกร้อน โดยงานนี้มีนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ สนใจส่งผลงานไอเดียเจ๋งๆ กว่า 200 คน แต่ที่ชนะใจกรรมการจนคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 มาได้ คือ น้องอมรเทพ ตรีคุณา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 อายุ 21 ปี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงาน “เตาสนาม ล็อกเกอร์ แอลกอฮอล์ สโตร์” เตาสนามที่ใช้แอลกอฮอลล์เจลพลังงานทางเลือกใหม่เป็นเชื้อเพลิงในการหุ้นต้มอาหารแทนก๊าซ เล่าว่า “ เตาสนาม ล็อกเกอร์ แอลกอฮอล์ สโตร์ มีคุณสมบัติพิเศษไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ไปทำลายชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกมีอุณภูมิสูงขึ้น ขณะที่ตัวกระป๋องบรรจุเชื้อเพลิงยังเป็นการนำกระป๋องที่ใช้บรรจุปลากระป๋องมารีไซเคิลช่วยแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย” ด้านเยาวชนคนเก่งอีกคนที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 น้องพณิตา ซื่อสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 อายุ 22 ปี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม กับผลงาน หม้อสารพัดประโยชน์ชื่อ “แม่ และ เด็ก” (Mom & Child) ที่สามารถทำอาหารได้แบบประหยัดพลังงาน ได้แนวคิดมาจากกิจวัตรในการดูแลลูกของคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกอ่อน จะมีเวลาในการทำอาหารจำกัด จึงต้องหาเครื่องครัวที่สามารถทำอาหารได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน แถมยังประหยัดพลังงานช่วยโลกร้อนได้ด้วย เล่าว่า “หม้อสารพัดประโยชน์ แม่ และ เด็ก เกิดมาจากความคิดที่ว่า การเปิดแก๊สครั้งหนึ่งน่าจะประกอบอาหารได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและพลังงานเลยคิดถึงแม่ที่มีลูกอ่อนที่ต้องใช้เวลาในการประกอบอาหาไม่นานเพื่อที่จะได้มีเวลาดูแลลูก จึงได้ออกแบบหม้อที่สามารถใช้ต้ม นึ่ง และอบได้ในเวลาเดียวกัน โดยการต้มสำหรับทำอาหารคุณแม่ ขณะเดียวกันคุณแม่ยังสามารถใช้การนึ่งเพื่อทำไข่ตุ๋นให้ลูกน้อย หรืออาจใช้ถาดวางเพื่อทำขนมจีบ และซาลาเปา ซึ่งขนาดของภาชนะที่บรรจุยังออกแบบพิเศษโดยคำนึงถึงคุณค่าของสารอาหารที่เด็กควรได้รับในแต่ละวันด้วย” ขณะที่ น้องธัญญา อดิเรกกิตติกุล อายุ 21 ปี นิสิตปี 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากผลงานหม้อทอดมหัศจรรย์ “ควีก ควีก ดีบ ไฟ” (Quick Quick Deep Fry) ที่ช่วยประหยัดเวลาในการทำอาหาร เล่าว่า “แนวคิดในการออกแบบหม้อทอด ควีก ควีก ดีบ ไฟ เกิดจากการมองเห็นปัญหาของการทำอาหารที่ต้องใช้เวลานานซึ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน จึงได้ออกแบบหม้อที่ช่วยให้ใช้เวลาในการประกอบอาหารได้เร็วขึ้น โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การถ่ายเทความร้อนมาใช้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของภาชนะที่ช่วยให้ถ่ายเทความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยผสานกับหลักการของการโอบอุ้มเปลวไฟให้อยู่ในวงจำกัดเพื่อเกิดการใช้ความร้อนได้ดี ส่งผลให้ใช้เวลาในการประกอบอาหารได้น้อยกว่าการใช้เครื่องครัวทั่วไป” น้องๆ ทั้ง 3 คนยังทิ้งท้ายตรงกันว่า รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการออกไอเดียช่วยแก้ปัญหาสังคม แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ถ้าทุกคนตระหนักและร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังก็จะสามารถแก้ปัญหาเพื่อโลกที่น่าอยู่ของเราได้โดยไม่ยาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : บริษัท โพลีพลัส พีอาร์ จำกัด โทร. 02-572-4444 ต่อ 346 วัชรี (ส้ม) 085-920-8481 , จริญญา(จอย) 086-987-1603

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ