รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 10 ตุลาคม 2549 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday October 10, 2006 09:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--ปภ.
1. ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 45 จังหวัด 268 อำเภอ 17 กิ่งอำเภอ 1,543 ตำบล 8,554 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,025,046 คน 540.844 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 39 คน จังหวัดเชียงใหม่ 7 คน (อำเภอฝาง 7 คน) จังหวัดลำปาง 2 คน (อ.แม่เมาะ 1 อำเภองาว 1) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (อ.เมือง 1 อ.สวรรคโลก 2 อ.กงไกรลาศ 4 ) จังหวัดพิษณุโลก 5 คน (อ.บางระกำ) จังหวัดนครสวรรค์ 1 คน (อ.บรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน (อ.เมือง) สิงห์บุรี 1 (อ.เมือง) จังหวัดอ่างทอง 4 คน (อ.เมือง 2 อ.ป่าโมก 2) จังหวัดพิจิตร 1 คน (อ.เมือง) จังหวัดปราจีนบุรี 1 คน (อ.กบินทร์บุรี) จังหวัดจันทบุรี 4 คน (อ.มะขาม 2 อ.นายายอาม 1 อ.เมือง 1 ) จังหวัดปทุมธานี 2 คน (อ.เมือง 1 อ.สามโคก 1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 คน (อ.บางบาล) จังหวัดชัยภูมิ 1 คน (อ.จัตุรัส) และจังหวัดพังงา 1 คน (อ.ตะกั่วป่า) สูญหาย 1 คน (จังหวัดเชียงใหม่ อ.ฝาง)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 36 หลัง เสียหายบางส่วน 7,209 หลัง ถนน 2,557 สาย สะพาน 226 แห่ง ท่อระบายน้ำ 378 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 437 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,556,941 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 16,963 บ่อ วัด/โรงเรียน 453 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 236,581,791 บาท
2. จากการตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (10 ต.ค.49) พื้นที่ ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 17 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
2.1 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลา 17.00 น วันที่ 8 ต.ค.49 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอฝาง ตำบลแม่งอน (หมู่ที่ 1,2,7,11,13,15) เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 6-8 ต.ค.49 ทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 7 คน (ราษฎรหมู่ที่ 12 จำนวน 2 คน หมู่ที่ 6 จำนวน 2 คน หมู่ที่ 7 จำนวน 2 คน และหมู่ที่ 15 จำนวน 1 คน) สูญหาย 1 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังประมาณ 10 หลัง เสียหายบางส่วนประมาณ 50 หลัง รถยนต์ 2 คัน รถจักรยานยนต์ 3 คัน
2.2 จังหวัดจันทบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าช้าง ตำบลจันทนิมิต ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลตลาด ตำบลเกาะวาง ตำบลคมบาง ตำบลแสลง ตำบลหนองบัว ตำบลบางกะจะและตำบลวัดใหม่ รวมทั้งในพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองจันทบุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.90-1.00 ม.
2) อำเภอมะขาม ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลมะขาม ตำบลวังแซ้ม ตำบลท่าหลวง และเทศบาลตำบลมะขาม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.80 ม.
3) กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลพลวง และตำบลชากไทย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.80 ม.
2.3 จังหวัดกำแพงเพชร มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่
1) อำเภอคลองขลุง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่ามะเขือ (หมู่ที่ 1,2) ตำบลวังยาง (หมู่ที่ 8,9) ตำบลวังแขม และตำบลวังบัว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอขาณุวรลักษบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแสนต่อ ตำบลเกาะ และตำบลสลกบาตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
3) กิ่งอำเภอบึงสามัคคี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังชะโอน (หมู่ที่ 1-14) ตำบลบึงสามัคคี (หมู่ที่ 1-12) ตำบลระหาน (หมู่ที่ 1-10) และตำบลเทพนิมิต (หมู่ที่ 1-9) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2.4 จังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 11 ตำบล (ต.บางระกำ ต.ปลักแรด ต.บึงกอก ต.หนองกุลา ต.ชุมแสงสงคราม ต.นิคมพัฒนา ต.บ่อทอง ต.ท่านางงาม ต.คุยม่วง ต.วังอิทก และ ต.พันเสา) อำเภอพรหมพิราม 8 ตำบล (ต.มะตูม ต.ท่าช้าง ต.หนองแขม ต.วังวน ต.ศรีภิรมย์ ต.มะต้อง ต.ดงประคำ และ ต.พรหมพิราม) อำเภอเมือง 3 ตำบล (ต.บ้านกร่าง ต.งิ้วงาม และ ต.วัดพริก)
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง 10 ตำบล (ต.สามเรือน ต.วัดเกาะ ต.บ้านนา ต.วังทอง ต.วังใหญ่ ต.ทับผึ้ง ต.บ้านไร่ ต.บ้านซ่าน ต.ราวต้นจันทน์ และ ต.ขุนไกร) อำเภอเมือง 6 ตำบล (ต.เมืองเก่า ต.ยางซ้าย ต.ปากพระ ต.บ้านกล้วย ต.วังทองแดง และ ต.ปากแคว) อำเภอกงไกรลาศ 11 ตำบล (ต.ท่าฉนวน ต.บ้านกร่าง ต.กง ต.ป่าแฝก ต.หนองตูม ต.ไกรกลาง ต.กกแรต ต.บ้านใหม่สุขเกษม ต.ไกรนอก ต.ไกรใน และ ต.ดงเดือย) และ อำเภอคีรีมาศ 1 ตำบล (ต.ทุ่งหลวง) และอำเภอสวรรคโลก 3 ตำบล (ต.เมืองบางขลัง ต.หนองกลับ และ ต.นาทุ่ง)
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลท่าฬ่อ ต.ในเมือง ต.ฆะมัง ต.บ้านบุ่ง ต.ปากทาง ต.ย่านยาว ต.สายคำโห้ ต.ป่ามะคาบ ต.หัวดง ต.ท่าฬ่อ ต.ดงป่าคำ และ ต.ดงกลาง) อำเภอสามง่าม 4 ตำบล (ต.รังนก ต.กำแพงดิน ต.สามง่าม และ ต.เนินปอ) อำเภอวชิรบารมี 4 ตำบล (ต.วังโมกข์ ต.หนองหลุม ต.บ้านนาและ ต.บึงบัว) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 7 ตำบล (ต.วังจิก ต.ไผ่ท่าโพธิ์ ต.โพธิ์ประทับช้าง ต.ไผ่รอบ ต.ดงเสือเหลือง ต.เนินสว่าง และ ต.ทุ่งใหญ่) อำเภอโพทะเล 8 ตำบล (ต.ทะนง ต.ท่าขมิ้น ต.ท่าบัว ต.ท่านั่ง ต.ท่าเสา ต.ท้ายน้ำ ต.บางคลาน และ ต.โพทะเล) อำเภอตะพานหิน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองตะพานหิน ต.งิ้วราย ต.ห้วยเกตุ ต.ทุ่งโพธิ์ ต.ดงตะขบ ต.ไทรโรงโขน ต.วังหลุม ต.หนองพยอม ต.คลองคูณ ต.วังสำโรง และ ต.ไผ่หลวง ) อำเภอบึงนาราง 5 ตำบล (ต.ห้วยแก้ว ต.โพธิ์ไทรงาม ต.บึงนาราง ต.บางราย และ ต.แหลมรัง) และ อำเภอบางมูลนาก 9 ตำบล (ต.หอไกร ต.วังกรด ต.วังสำโรง ต.วังตะกู ต.ลำประดา ต.เนินมะกอก ต.ภูมิ ต.ห้วยเขน และ ต.บางไผ่)
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 16 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์ ต.เกรียงไกร ต.พระหลวง ต.บึงเสนาท ต.แควใหญ่ ต.วัดไทรย์ ต.บ้านแก่ง ต.กลางแดด ต.สวรรค์ออก ต.พระนอน ต.บางม่วง ตำบลตะเคียนเลื่อน ต.นครสวรรค์ตก ต.หนองกระโดน ต.หนองปลิง ต.หนองกรด และ ต.บ้านมะเกลือ) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาล ต.ทับกฤช ต.โคกหม้อ ต.บางเคียน ต.ท่าไม้ ต.ฆะมัง ต.พิกุล ต.หนองกระเจา ต.พันลาน ต.เกยไชย ต.ทับกฤชใต้ ต.ทับกฤช และ ต.ไผ่สิงห์) อำเภอเก้าเลี้ยว 5 ตำบล (ต.หนองเต่า ต.มหาโพธิ ต.เก้าเลี้ยว ต.เขาดิน และ ต.หัวดง) อำเภอโกรกพระ 8 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลโกรกพระ เทศบาลตำบลบางประมุง ต.ยางตาล ต.โกรกพระ ต.บางมะฝ่อ ต.บางประมุง ต.นากลาง ต.ศาลาแดง ต.เนินกว้าว และ ต.เนินศาลา) อำเภอพยุหะคีรี 7 ตำบล (ต.ยางขาว ต.เนินมะกอก ต.ม่วงหัก ต.น้ำอ้อย ต.น้ำทรง ต.พยุหะ และ ต.ย่านมัทรี) อำเภอบรรพตพิสัย 13 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบรรพตพิสัย ต.ท่างิ้ว ต.ตาหงาย ต.หูกวาง ต.อ่างทอง ต.บ้านแดน ต.บางแก้ว ต.ตาขีด ต.ตาสัง ต.ด่านช้าง ต.บึงปลาทู ต.เจริญผล ต.หนองตางู และ ต.หนองกรด) อำเภอท่าตะโก 10 ตำบล (ตำบลท่าตะโก ต.พนมรอก ต.หัวถนน ต.สายลำโพง ต.วังมหากร ต.ดอนคา ต.ทำนบ ต.วังใหญ่ ต.พนมเศษ และ ต.หนองหลวง) ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 10 ต.ค.49
ระดับน้ำสูง 42.80 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.30 ม.
- ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 10 ต.ค.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.30 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.30 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.58 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.87 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.52 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.52 ม.
2.5 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลธรรมามูล (หมู่ที่ 1,3,4,6,7) และตำบลเขาท่าพระ (หมู่ที่ 3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.70 ม.
2) อำเภอสรรพยา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา 7 ตำบล 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสรรพยา (หมู่ที่ 3-5) เทศบาลโพนางดำ (หมู่ที่ 2) ตำบลเขาแก้ว (หมู่ที่ 1-6) ตำบลหาดอาษา (หมู่ที่ 1-9) ตำบลโพนางดำออก (หมู่ที่ 1-7) ตำบลโพนางดำตก (หมู่ที่ 1-6) ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลตลุก (หมู่ที่ 1-5,8,11,12) และตำบลสรรพยา (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.20 ม.
2.6 จังหวัดอุทัยธานี เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลสะแกกรัง (หมู่ที่ 1,3,4,5,7,8) ตำบลท่าซุง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลน้ำซึม (หมู่ที่ 1,2,3,4,6,7) ตำบลเกาะเทโพ(หมู่ที่ 1-6) ตำบลหาดทะนง (หมู่ที่ 1-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.50 ม. ตำบลเนินแจง (หมู่ที่ 1,5,6,8) ตำบลดอนขวาง (หมู่ที่ 3) ตำบลโนนเหล็ก (หมู่ที่ 1) ตำบลหนองไผ่แบน (หมู่ที่ 2,4,5,6) และตำบลอุทัยใหม่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
2) อำเภอหนองขาหย่าง มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล ได้แก่ตำบลหลุมเข้า (หมู่ที่ 1,2,3,5) ตำบล ดงขวาง (หมู่ที่ 2-4) ตำบลหนองไผ่ (หมู่ที่ 2,3,9) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2.7 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภออินทร์บุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลอินทร์บุรี (หมู่ที่ 3,4,6,7) ตำบลชีน้ำร้าย (หมู่ที่ 1-6,8) ตำบลท่างาม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลน้ำตาล (หมู่ที่ 1-8) ตำบลประศุก (หมู่ที่ 1-7) ตำบลทับยา (หมู่ที่ 1-8,10) และตำบลอินทร์บุรี (หมู่ที่ 1,2,5,8,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.50 ม.
2) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองสิงห์บุรี ฝั่งตะวันออก 8 ชุมชน ระดับน้ำประมาณ 0.20-0.30 ม. และตำบลบางกระบือ (หมู่ที่ 1-6,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.50 ม.
3) อำเภอพรหมบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลพรหมบุรี (หมู่ที่ 1,3,4,5) ตำบลบ้านหม้อ (หมู่ที่ 3-4) ตำบลโรงช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลพระงาม (หมู่ที่ 3,6) ตำบลบางน้ำเชี่ยว (หมู่ที่ 2,3,4,6) และตำบลบ้านแป้ง (หมู่ที่ 2,3,4) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 ม.
4) อำเภอท่าช้าง น้ำจากแม่น้ำน้อยเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลถอนสมอ (หมูที่3,4) และตำบลพิกุลทอง (หมู่ที่ 1,2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
2.8 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เอ่อล้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรที่อยู่ริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองอ่างทอง ตำบลบางแก้ว ตำบลบ้านอิฐ (หมู่ที่ 3,5,10,11) ตำบลจำปาหล่อ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลตลาดกรวด (หมู่ที่ 1-6) ตำบลยานซื่อ (หมู่ที่ 1-5) ตำบลบ้านแห (หมู่ที่ 4-6) และตำบลโพสะ (หมู่ที่ 1,2,5) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.20 ม. โดยน้ำได้ไหลทะลักลอดพนังกั้นริมน้ำบ้านท้ายหาด ตำบลตลาดหลวง ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง บริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองอ่างทอง 1,2 ตลาดนพรัตน์ ตลาดหลวง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม. ขณะนี้จังหวัดได้ระดมทหาร อาสาสมัคร โดยถอยร่นพื้นที่แนวป้องกัน จัดทำกระสอบทรายวางเสริมแนวป้องกันน้ำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อวันที่ 9 ต.ค.49 บริเวณโครงการก่อสร้างประตูน้ำคลองบางแก้ว หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ที่ได้นำกระสอบทรายทำคันกั้นน้ำ ระหว่างคลองบางแก้วเพื่อไม่ให้น้ำไหลลงไปสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดพังเป็นบริเวณกว้างประมาณ 20 เมตร น้ำได้ไหลลงสู่คลองบางแก้ว และเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อำเภอมหาราช 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านนา ท่าตอ บ้านขวาง บ้านใหม่ และหัวไผ่ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อพื้นที่อำเภอบ้านแพรก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อไป
2) อำเภอป่าโมก มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลโผงเผง (หมู่ที่ 1-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.50 ม. ตำบลบางปลากด (หมู่ที่ 6) ตำบลบางเสด็จ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลโรงช้าง (หมู่ที่ 1-3,6-8) ตำบลสายทอง (หมู่ที่ 3-5,7-8) ตำบลนรสิงห์ (หมู่ที่ 1-7) เทศบาลตำบลป่าโมก (ชุมชนที่ 1-2,8-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.00 ม. และตำบลเอกราช (หมู่ที่ 4-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 ม. สำหรับบริเวณที่ว่าการอำเภอป่าโมก ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 1.00-1.50 ม.
3) อำเภอไชโย มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลจรเข้ร้อง (หมู่ที่ 2,4,7) เทศบาลตำบลเกษไชโย (หมู่ที่ 1-6) ตำบลตรีณรงค์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลชัยฤทธิ์(หมู่ที่ 1-3,6) ตำบลหลักฟ้า (หมู่ที่ 1,2) ตำบลไชยภูมิ (หมู่ที่ 1,2,6,8) ตำบลเทวราช (หมู่ที่ 1-7) และตำบลราชสถิตย์ (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม. ส่วนตำบลซะไว (หมู่ที่ 1-3) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.80 ม.
4) อำเภอแสวงหา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบล บ้านพราน (หมู่ที่ 1-10) ตำบลศรีพราน ตำบลจำลอง (หมู่ที่ 1,2) ตำบลแสวงหา (หมู่ที่ 6,14) ตำบลสีบัวทอง (หมู่ที่ 1-11) ตำบลวังน้ำเย็น และตำบลห้วยไผ่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
5) อำเภอวิเศษไชยชาญ มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลม่วงเตี้ย (หมู่ที่ 1,2) ตำบลไผ่จำศีล (หมู่ที่ 1-4, 6) ตำบลศาลเจ้าโรงทอง (หมู่ที่ 1-6, 8-9) ตำบลท่าช้าง (หมู่ที่ 2-6) ตำบลสี่ร้อย (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางจัก (หมู่ที่ 1-10, 12-13) ตำบลคลองขนาก (หมู่ที่ 1-4, 9) ตำบลหลักแก้ว (หมู่ที่ 1,2) และตำบลห้วยคันแหลน (หมู่ที่ 6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.90 ม.
6) อำเภอโพธิ์ทอง น้ำจากแม่น้ำน้อยไหลเข้าท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามง่าม (หมู่ที่ 1,2) ตำบลบ่อแร่ (หมู่ที่ 1,2) และตำบลโพธิ์รังนก (หมู่ที่ 1,2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.90 ม.
2.9 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งบางจุดใน 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเขาทอง และตำบลบ้านใหม่ ซึ่งอยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วม ระดับน้ำสูง 0.90-1.20 ม.
2) อำเภอบางบาล น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 16 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า (หมู่ที่ 1-8) ตำบลทางช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลวัดตะกู (หมู่ที่ 1-9) ตำบลกบเจ้า(หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-5) ตำบลไทรน้อย (หมู่ที่ 1-10) ตำบลบ้านกุ่ม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางบาล (หมู่ที่ 1-9) ตำบลวัดยม (หมู่ที่ 1-4) ตำบลสะพานไทย (หมู่ที่ 1-5) ตำบลพระขาว (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางหัก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบางหลวงโดด (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบางชะนี (หมู่ที่ 1-5) ตำบลบ้านคลัง (หมู่ที่ 1-7) และตำบลมหาพราหมณ์ (หมู่ที่ 1-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.30 ม.
3) อำเภอบางไทร น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระแชง (หมู่ที่ 1,2,3,5) และตำบลช้างน้อย (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.20 ม.
4) อำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลผักไห่ (หมู่ที่ 2,3,4,11,12) ตำบลท่าดินแดง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบ้านใหญ่ (หมู่ที่ 5,6) และ ตำบลกุฎี (หมู่ที่ 12) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.50 ม.
5) อำเภอเสนา น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรใน 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองเสนา ตำบลรางจระเข้ (หมู่ที่ 5,6,7) ตำบลบ้านกระทุ่ม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลสามกอ (หมู่ที่ 1,2) ตำบล หัวเวียง (หมู่ที่ 1-11) ตำบลบ้านโพธิ์ (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบ้านแพน (หมู่ที่ 1-9) และตำบลบางนมโค (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.00 ม.
6) อำเภอมหาราช แนวกั้นน้ำประตูน้ำคลองบางแก้ว หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ได้พังประมาณ 20 เมตร ทำให้น้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านนา ตำบลท่าตอ ตำบลบ้านขวาง ตำบลบ้านใหม่ และตำบลหัวไผ่
3.10 จังหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าระหัด ตำบลทับตีเหล็ก ตำบลรั้วใหญ่ ตำบลพิหารแดง ตำบลโพธิ์พระยา ตำบลสนามชัย ตำบลตลิ่งชัน ตำบลสระแก้ว ตำบลโคกโคเฒ่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอบางปลาม้า มีน้ำท่วมในพื้นที่ 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลตะค่า ตำบลองค์รักษ์ ตำบลวัดดาว ตำบลสาลี ตำบลจระเข้ใหญ่ ตำบลวังน้ำเย็น ตำบลบางปลาม้า ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางใหญ่ ตำบลไผ่กองดิน ตำบลโคกคราม ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลกฤษณา ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
1.11 จังหวัดปทุมธานี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านกระแชง (หมู่ที่ 3) ตำบลบ้านกลาง ตำบลบางพูน ตำบลบางขะแยง ตำบลบางคูวัด ตำบลสวนพริกไทย ตำบลบางพูด และตำบลบางกระดี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอสามโคก มีน้ำท่วมพื้นที่ 10 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลบางเตย ตำบลสามโคก (หมู่ 1,2,3,4) ตำบลบางกระบือ (หมู่ที่ 1,2,3) ตำบลกระแซง (หมู่ที่ 2) ตำบลคลองควาย (หมู่ที่1,10) ตำบลท้ายเกาะ (หมู่ที่1,2,3) ตำบลเชียงรากใหญ่ (หมู่ที่ 2,3,4,7) ตำบลเชียงรากน้อย(หมู่ที่ 5) ตำบลบ้านงิ้ว (หมู่ที่ 3,4,5) ตำบลบางโพธิ์เหนือ (หมู่ที่ 1,2) และตำบลบ้านปทุม (หมู่ที่ 3,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
3) อำเภอคลองหลวง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองหนึ่ง ถึง ตำบลคลองเจ็ด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
4) อำเภอธัญบุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 ตำบล 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองรังสิต บริเวณศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต เมเจอร์ หมู่บ้านสร้างบุญ ตลาดสุชาติรังสิต และหมู่บ้านรัตนโกสินทร์สองร้อยปี เทศบาลตำบลธัญบุรี มีน้ำท่วมขังภายในชุมชนคลองขวาง ชุมชนเคหะรังสิตคลอง 6 ชุมชนสหกรณ์พัฒนาคลอง 7 สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนคลองหก (หมู่ที่ 1-3) และตำบลบึงยี่โถ (หมู่ที่ 1-4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
5) อำเภอลำลูกกา มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองคูคต เทศบาลตำบลลำลูกกา เทศบาลตำบลลำไทร ตำบลคูคต ตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบลบึงทองหลาง ตำบลลำไทร ตำบลบึงคอไห และตำบลพืชอุดม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
6) อำเภอลาดหลุมแก้ว มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร 6 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลระแหง ตำบลระแหง ตำบลบ่อเงิน ตำบลลาดหลุมแก้ว ตำบลคลองพระอุดม ตำบลหน้าไม้ และตำบลคูขวาง
2.12 จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนจึงทำให้น้ำเอ่อล้นไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มและบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งลำคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด เมือง บางบัวทอง ไทรน้อย บางใหญ่ บางกรวย
2.13 จังหวัดปราจีนบุรี ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันในช่วงระหว่างวันที่ 4-7 ตุลาคม 2549 ทำให้ในแม่น้ำปราจีนบุรี เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอกบินทร์บุรี เกิดน้ำท่วมขังใน 1 เทศบาล 7 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลกบินทร์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. ตำบลวังตะเคียน (หมู่ที่ 1-3) ตำบลวังดาล (หมู่ที่ 3-8) ตำบลหนองกี่ (หมู่ที่ 1-6,9,10) ตำบลนาแขม (หมู่ที่ 1,2,8) ตำบลกบินทร์บุรี (หมู่ที่ 1,3,5,9,12) ตำบลหาดนางแก้ว และตำบลย่านรี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอนาดี เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 3 ตำบลได้แก่ ตำบลลำพันตา (หมู่ที่ 1-3,6) ตำบลแก่งดินสอ (หมู่ที่ 4,5) และตำบลทุ่งโพธิ์ (หมู่ที่ 3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
3) อำเภอศรีมหาโพธิ เกิดน้ำท่วมขัง 3 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ ตำบลศรีมหาโพธิ (หมู่ที่ 1-5,7,9) ตำบลกรอกสมบูรณ์ ตำบลหาดยาง (หมู่ที่ 2,4) ตำบลบ้านทาม (หมู่ที่ 1-8) ตำบลท่าตูม (หมู่ที่ 1-6,8,9) ตำบลสัมพันธ์ (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางกุ้ง (หมู่ที่ 1-5) ตำบลดงกระทงยาง (หมู่ที่ 1,2,4,6) ตำบลหัวหว้า (หมู่ที่ 1) และตำบลหนองโกรง (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.00 ม.
4) อำเภอศรีมโหสถ มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกปีบ (หมู่ที่ 1,3-7) และตำบลโคกไทย (หมู่ที่ 1-3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
2.14 กรุงเทพมหานคร ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง และน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้น ทำให้เกิดน้ำท่วมขังใน เขตลาดกระบัง (หมู่บ้านพูนสินธานี 2,3 ถนนหลวงแพ่ง หมู่บ้านเจ้าคุณ หมู่บ้านแฮบบี้เพลส หมู่บ้านวรารมย์) เขตมีนบุรี (หมู่บ้านธนกรทั้ง 2 ฝั่ง ถนนราษฎร์อุทิศเชื่อมถนนสุวินทวงศ์ ถนนเข้าโรงเรียนบึงขวาง บริเวณที่กลับรถใต้สะพานข้ามคลองสามวา หมู่บ้านพนาสนธิ์ 3 ถนนร่มเกล้า บริเวณหน้าหมู่บ้านปริชาติตรงข้าม ร.ร.คุ้มเกล้าสกอล่า ถนนคุ้มเกล้าฝั่งเหนือ-ใต้ วัดใหม่ลำนกแขวก และชุมชนสามัคคีคลองสองต้นนุ่น) เขตหนองจอก (ถนนสังฆประชา ถนนเลียบคลองลำมะขาม-ลำกอไผ่ ถนนเลียบคลองบึงโขล่ ถนนเลียบคลองลำต้นไทร ถนนเลียบคลองลำนกแขวก เคหะฉลองกรุง ถนนเลียบคลองลำแขก ถนนเลียบคลองลำมดตะนอย ถนนซอยแก้วประดับ ถนนเลียบคลองไทรชะมด ถนนเลียบคลองลำตาอินทร์ ถนนนิลเหมนิยม ถนนเลียบคลองลำอีรั้ว ถนนเลียบคลองลำต้นกล้วย ถนนสีชมพู ถนนวิบูลย์สาธุกิจ ถนนเลียบคลองแยกลำต้อยติ่ง ถนนเลียบคลองลำตาเฟื่อง ถนนเลียบคลองลำหินฝั่งใต้ และถนนเลียบคลองกระทุ่มล้มฝั่งตะวันตก) และเขตบางบอน (ซอยเอกชัย 66,76,70 หมู่บ้านรางไผ่ ถ.บางบอน 3 ซอยโรงเรียนนวลนรดิศ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ลุ่มบริเวณจังหวัดตาก เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ระมัดระวังอันตรายภัยจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ สำหรับภาคใต้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น
4. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 9 ต.ค.49 ถึง 01.00 น วันที่ 10 ต.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดพิจิตร (อ.เมือง) 42.6 มม.
จังหวัดหนองคาย (อ.เมือง) 90.1 มม.
จังหวัดลพบุรี (อ.ชัยบาดาล) 49.0 มม.
จังหวัดชลบุรี (อ.เมือง) 65.8 มม.
จังหวัดชุมพร (อ.เมือง) 14.2 มม.
จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 19.4 มม.
จังหวัดปทุมธานี (อ.คลองหลวง) 115.3 มม.
5. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 9 ต.ค. 49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,090 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 372 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 97 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 9,213 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 346 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 97 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 549 ล้าน ลบ.ม. (รับน้ำได้อีก 161 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุ มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำได้ 3.30 ลบ.ม./วินาที (วางท่อ 10 แถว) รวมระบายน้ำทั้งหมด 107.30 ลบ.ม./วินาที เพื่อพร่องน้ำในอ่างฯไว้รอรับน้ำหลากในช่วงฝนชุก
6. สภาพน้ำเจ้าพระยา
6.1 วันที่ 10 ต.ค.49 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 4,595 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 2,901 ลบ.ม./วินาที และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 572 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 3,473 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมเหมือนกับทุกๆ ปีที่เคยเกิด (กรณีปริมาณน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยาของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
๐สถิติการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เมื่อคราวเกิดอุทกภัยเมือปี 2538 และปี 2545
- 5 ต.ค.2538 ระบายน้ำสูงสุด 4,557 ลบ.ม./วินาที
- 10 ต.ค.2545 ระบายน้ำสูงสุด 3,950 ลบ.ม./วินาที
6.2 ในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างได้มีการระบายน้ำและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 0.71 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกง วันละ 6.23 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบออกทะเล วันละ 20.27 ล้าน ลบ.ม. และในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกมีการระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีนวันละ 6.26 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำและสูบผ่านคลองมหาชัย 1.00 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยามีโครงการคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการเปิด-ปิดบานโดยการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำ
ทะเลลง และปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลขึ้น โดยวันนี้ (8 ต.ค.49) สามารถระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลอง ลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 13.50 ชั่วโมง โดยมีปริมาณน้ำผ่านสูงสุด ประมาณ 444 ลบ.ม./วินาที
7. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
8. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ