วัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยโซลูชั่นของแซส

ข่าวเทคโนโลยี Monday December 1, 2008 14:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ธ.ค.--คอร์แอนด์พีค จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในสถานบันการเงินทั่วโลก ทำให้เกิดความเสียหายและรุนแรงขึ้นเป็นวงกว้าง ซึ่งเกิดจากความผันผวนและปัจจัยต่างๆ ทั้งในองค์กรและปัจจัยภายนอก เป็นต้น สถานบันการเงินต่างๆ จึงเล่งเห็นความสำคัญของเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น และตระหนักด้วยว่า เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง ที่ทุกฝ่ายในองค์กรของสถาบันการเงิน ควรมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีโครงสร้างของโซลูชั่นทางด้านความเสี่ยง (Risk Platform) ที่สามารถรองรับการดำเนินการดังกล่าวได้ แซส เป็นบริษัทชั้นนำด้านโซลูชั่นการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ในการรองรับความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในโครงสร้างความเสี่ยงดังกล่าว อาทิ จากกรณีศึกษาที่ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ทั้งองค์กร โดย แอนดริว ซูลลิแวน ผู้ดูแลด้านการจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ ทีมบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธนาคารเอบีเอ็ม แอมโร ในกรุงลอนดอน ระบุว่าธนาคารเอบีเอ็น แอมโรได้นำแนวทางในการทำงานด้านความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการโดยรวมแบบใหม่เข้ามาใช้เมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยการปลูกฝังความคิดเชิงปรัชญาและวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารทุกระดับ กว่าสองปีมาแล้วที่ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ได้ปรับปรุงความสามารถด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (Operational Risk Management: ORM) ของบริษัทด้วยการสร้างความแข็งแกร่งของการทำงานในภูมิภาคและท้องถิ่นด้วยรูปแบบการกระจายศูนย์ (Decentralized) เพื่อพัฒนาการทำงานในด้านการจัดการความเสี่ยงที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและสอดคล้องกันทั่วโลก ตลอดจนให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในด้านความร่วมมือและข้อเสนอการเพิ่มมูลค่าของการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น หลังจากกิจกรรมการพัฒนาขององค์กรในช่วงปีที่ผ่านมา ในช่วงปี 2550 การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ ที่พัฒนานโยบายและวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดภายใต้การสนับสนุนของการนำแพลตฟอร์มการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (Firm-wide Operational Risk Technology Environment: Forte) ชั้นนำของตลาดมาใช้ร่วมกับบริษัท แซส โดยเริ่มไม่ถึงปี ก็สามารถก่อให้เกิดการปลูกฝังทางปรัชญาและวัฒนธรรมด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งธนาคารแห่งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนมีบทบาท เสมือนเป็นผู้จัดการด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการและพนักงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความเสี่ยง ที่สามารถดำเนินธุรกิจและได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสม โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงหลักถูกสร้างขึ้นโดยมีชื่อว่า ยุทธศาสตร์บริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (ORM Strate?gic Risk Initiative (ORM SRI) โดย ORM SRI ได้รับการออกแบบมาเพื่อ เป็นเครื่องมือพื้นฐาน สามารถช่วยพัฒนาความสามารถด้านการจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management: ERM) ได้อย่างแท้จริง ORM SRI สามารถช่วยผลักดันด้านการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้อย่างมาก ด้วยการนำแนวทางด้านบริการจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (ORM) รูปแบบใหม่ของกลุ่มบริษัทไปใช้ และสามารถปรับใช้ได้กับแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ธนาคารมีทั่วโลก เมื่อเดือนตุลาคม 2550 รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาด้านความตระหนักถึงความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีที่ดีที่สุดทั่วทั้งองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังทำให้แน่ใจได้ด้วยว่าธนาคารจะสามารถควบคุมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ กลายไปเป็นหัวข้อหลักในการประชุมของทีมบริหาร และนำมาสร้างเป็นแผนกลยุทธ์สำหรับการใช้แนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการที่มีอยู่ในกระบวนการต่างๆ และในองค์กรให้เหมาะสม ก่อนหน้านี้มีการนำโปรแกรมและเครื่องมือจำนวนมากเข้ามาช่วยในการวางแผนด้านบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (ORM) ที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 2544 โดยจะเริ่มทำงานร่วมกับฟังก์ชันการจัดการความเสี่ยงของกลุ่ม (Group Risk Management: GRM) ให้แพร่หลายมากขึ้น เน้นกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการภายในธนาคาร ในเวลานั้น การดำเนินงานต่างๆ ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ สร้างองค์กรการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการส่วนกลางอย่างแท้จริง ซึ่งนั่นก่อให้เกิดฟังก์ชันการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการด้วยวิธีที่ดีที่สุดในปี 2551 และช่วยให้เกิดการรวมและพัฒนาความสามารถด้านการจัดการความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งดำเนินการควบคู่กับแนวทางยุทธศาสตร์ GRM สำหรับความเสี่ยงที่กว้างขวางขึ้น คุณประโยชน์ และปัจจัยหลักที่ช่วยในการตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุต่อความต้องการในการเปลี่ยนแปลง และจุดมุ่งหมายที่ถูกใช้ร่วมกันทั้งองค์กร การลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน จึงมีความจำเป็น การสร้างประโยชน์แบบพื้นฐาน (หรือการตอบแทนการลงทุน) ทำโดยผ่านการสร้างสมดุลของ ‘ความเสี่ยงและผลตอบแทน’ ที่มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอทางมูลค่าสำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดข้อดีทางธุรกิจภายใต้เงื่อนไขทางการเงิน (การลดความสูญเสีย การจัดสรรเงินทุนที่ลดลง การใช้กระบวนการที่เหมาะสม) และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าโดยรวม ทั้งนี้เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะปรับปรุงแล้ว การกระจายข่าวสาร และ การปรับปรุงคุณประโยชน์ที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่าถือเป็นขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับการพัฒนาวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยง ทั้งนี้ผลลัพธ์ของการนำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้มีผลโดยตรงต่อวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยงของบริษัท ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางแบบปรับได้ที่ถูกวางและดำเนินงานเพื่อสร้างแรงจูงใจที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง การติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวทางที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่ในหลายลักษณะ และการสนับสนุนความต้องการทางธุรกิจโดยตรง เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุความสำเร็จและมีผลต่อผู้เกี่ยวข้อง การให้ผลประโยชน์เชิงธุรกิจ โดยการพัฒนากลยุทธ์และวัฒนธรรมที่ดี ควบคู่กันไปกับการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการด้วยแนวทางที่ดีที่สุด เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถเปลี่ยนทุกคนในองค์กรให้เป็นผู้จัดการด้านบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ หลากหลายแนวทาง การปรับโครงสร้างองค์กรของฟังก์ชันการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการส่วนกลาง ได้รับการดำเนินการเสร็จเรียบร้อยในปี 2549 เป็นแรงผลักดันสำหรับการวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรในระดับโลก รวมถึงการพัฒนาในอนาคตด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญที่จะแน่ใจได้ถึงความหลากหลายของหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์และภูมิภาคที่จะถูกรวมไว้ในโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ORM SRI ถูกสร้างขึ้นโดยใช้โครงการการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความร่วมมือและการเชื่อมต่อจำนวนมากด้วยกระบวนการทำงานที่ครอบคลุม โปรแกรมนี้เป็นการเดินทางเพื่อการค้นพบ โดยกระบวนการทำงานแต่ละขั้นโดยไม่ซ้ำกัน ในขณะที่ปัญหาต่างๆ จะเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะเน้นไปที่การพัฒนาปรัชญาวัฒนธรรมความเสี่ยงและมาตรฐานที่ดีที่สุดครอบคลุมกับเทคโนโลยี กระบวนการ และสภาพแวดล้อมทางด้านบุคคล เนื้อหาและการส่งมอบส่วนประกอบของโปรแกรมต่างๆ จะเป็นตัวช่วยเพื่อสร้าง ERM ขององค์กร ตัวช่วยเหล่านี้ได้รวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น กรอบการทำงานของ ORM ส่วนกลาง โดยครอบคลุมระเบียบที่เกี่ยวกับความเสี่ยง ก่อให้เกิดศักยภาพในด้านการขยายแพลตฟอร์มเทคโนโลยีส่วนกลางที่ใช้ร่วมกับระเบียบเหล่านี้ ตลอดจนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านความตระหนักใน ORM และวัฒนธรรมความเสี่ยงที่แพร่หลายขึ้น รวมถึงโอกาสในการสร้างมูลค่าและความร่วมมือทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วย เทคโนโลยี (Forte: จุดแข็ง) กระบวนการจัดหาแพลตฟอร์ม ORM ส่วนกลางแบบใหม่เริ่มต้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 หลังจากผ่านกระบวนการเลือกภายนอกอย่างเข้มงวดที่ประกอบด้วยการรวบรวมความต้องการจากหน่วยงานของเอบีเอ็น แอมโรทั่วโลก และการตรวจสอบและประเมินผู้ค้าภายนอก/ผลิตภัณฑ์ มีการเลือกบริษัทที่เข้าเกณฑ์ในเดือนธันวาคม 2549 เอบีเอ็น แอมโรเลือกใช้แนวทาง ความร่วมมือด้านการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ร่วมกับบริษัท แซส ซึ่งถือเป็นการรวมจุดแข็งด้าน Business Intelligence ของผลิตภัณฑ์เข้ากับประสบการณ์ด้านการบริหารความเสี่ยงระดับโลกของ เอบีเอ็น แอมโร การพัฒนา สภาพแวดล้อมเทคโนโลยีด้านความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการทั้งองค์กร (Firm-wide Operational Risk Technology Envi?ronment: Forte) อยู่บนพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ SAS? OpRisk Monitor เอบีเอ็น แอมโร ติดตั้งทั้งองค์กรแล้วเสร็จทั่วโลกภายในเดือนตุลาคม 2550 ระบบมีความสามารถในการจัดการเหตุการณ์ความเสี่ยง ที่เป็นมาตรฐาน มีระดับขั้นในการตรวจสอบ และสามารถรองรับกับโครงสร้างขององค์กรในระดับโลก นอกจากนั้น ยังรองรับการเชื่อมโยงประเด็นที่เกี่ยวข้อง และการสร้างแผนการณ์ที่จะควบคุมความเสียหาย ที่สามารถควบคุมและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใน Release ถัดมาของระบบในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ได้นำความสามารถในการทำแบบประเมินความเสี่ยงในระดับองค์กร และการควบคุมแผนการดำเนินงานมาใช้งาน ผลลัพธ์จาก Release แรกของระบบทำให้ธนาคารสามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์การกำกับดูแล (Regulatory Commitment) นอกจากเมื่อได้เพิ่มความสามารถจาก Release ที่สองแล้ว ก็ยิ่งทำเพิ่มความสามารถของเครื่องมือ และเพิ่มความสามารถในทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการทำ ORM แบบเชื่อมโยงทั้งองค์กร กระบวนการ (มุมมองความเสี่ยง) จากการวิจัย โดยใช้แหล่งข้อมูลภายนอก สัมภาษณ์คู่ค้าธุรกิจภายใน และการตรวจสอบความถูกต้องของ ORM โปรแกรมนี้ได้พัฒนารายงานมุมมองด้านความเสี่ยง รายละเอียดของภัยคุกคามที่อาจมีต่อธนาคารในระยะกลาง (ได้แก่ ภัยคุกคามการฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์และภัยคุกคามใหม่ในตลาดใหม่และตลาดที่กำลังพัฒนา) รวมกับมุมมองความเสี่ยงทั้งในลักษณะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ (เช่น การทำแบบประเมินความเสี่ยง การตรวจทานขั้นตอนการทำงาน) และสิ่งที่ต้องพิจารณาภายใต้สถานการณ์จำลอง (Scenario) เช่นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยแต่มีผลกระทบรุนแรง (Extreme /long-tailed events) ช่วยให้ธนาคารมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงในอนาคตและปัจจุบันที่ธนาคารต้องเผชิญ รวมถึงการสนับสนุนการตัดสินใจบนฐานความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในอนาคต กระบวนการทำงานได้รับการพัฒนาร่วมกับฟังก์ชันการจัดการ ERM และผลการดำเนินงานของธนาคาร ดังนั้นจึงมั่นใจได้ถึงการกำหนดและการให้ความสำคัญกับโปรไฟล์และมุมมองความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกฎระเบียบที่มี กระบวนการ (กรอบการทำงานของ ORM) เมื่อต้องการพัฒนาวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ดีที่สุดภายใต้การสนับสนุนของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ORM ตลอดจนตอบสนองกฎระเบียบอย่างเข้มงวดได้นั้น กรอบการทำงานของ ORM โดยรวมที่มีอยู่ได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีการนำไปใช้อย่างสอดคล้องทั่วโลก สนับสนุนปรัชญาและวัฒนธรรมความเสี่ยงทั้วทั้งบริษัทได้ตามต้องการ การทำงานควบคู่กับฟังก์ชันควบคุมและจัดการความเสี่ยงอื่นๆ ภายในธนาคาร ส่งผลให้เกิดการเปิดตัวนโยบายและกรอบการทำงาน ORM ที่ดีขึ้นอย่างมากและมีประสิทธิภาพสูง สิ่งนี้ได้ช่วยวางกำหนดการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการอย่างถูกต้อง บนฐานของฟังก์ชันที่ครอบคลุมความเสี่ยงและพื้นที่เฉพาะที่เกี่ยวกับการควบคุมที่มีอยู่ได้ ประเด็นหลักคือการตรวจสอบและการปรับปรุงนโยบายและวิธีการของ ORM ที่มีอยู่ เพื่อพัฒนากรอบการทำงานที่เชื่อมต่อกันและที่ดีขึ้นของนโยบาย มาตรฐาน และการแบ่งประเภทความเสี่ยงพื้นฐานหลักไปจนถึงปรัชญา ORM และความรับผิดชอบทั้งองค์กร ซึ่งจริงๆ แล้ว ORM เป็นหน้าที่รับผิดชอบของทุกๆ คน กระบวนการ (การแบ่งประเภท/คุณภาพของข้อมูล) การตรวจสอบข้อมูลความเสียหายขององค์กรที่มีอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นด้านข้อมูล ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด นำไปสู่การสร้างรายงาน ข้อมูลการจัดการ และความสามารถด้านการจัดการความเสี่ยงโดยรวมให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับการมั่นใจถึงคุณภาพและความสอดคล้องของข้อมูลที่ใช้อยู่ภายในแบบจำลอง Economic Capital กิจกรรมนี้เชื่อมโยงกับการพัฒนาของการแบ่งประเภทใหม่และการแยกประเภทเหตุการณ์ความเสี่ยง ซึ่งนำไปสู่รายละเอียดเชิงลึกมากกว่าระดับ Basel แต่ก็สามารถนำมาเปรียบเทียบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์และพัฒนาแบบจำลองได้ตามเกณฑ์ Basel II เมื่อนำผลลัพธ์จากการปรับปรุงคุณภาพข้อมูล พร้อมกับการปรับใช้แพลตฟอร์ม ORM โดยรวมแบบใหม่เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลความเสียหาย เพิ่มประโยชน์เพิ่มในด้านการปรับปรุงทางเลือกการวิเคราะห์และแนวโน้มที่พร้อมใช้สำหรับผู้จัดการความเสี่ยงและผู้เกี่ยวข้อง บุคคล (ความตระหนักและวัฒนธรรม ORM) ความเข้าใจในระดับองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสนับสนุนในด้าน ORM SRI อย่างสมบูรณ์ ประเด็นในด้านการจัดการ การสื่อสาร การอบรม และการให้การศึกษาแก่ผู้เกี่ยวข้องจึงสิ่งจำเป็น การทำงานอย่างใกช้ชิดกับหน่วยงานทรัพยากรบุคคลและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องภายใต้การสนับสนุนของทีมบริหาร ยุทธศาสตร์สำคัญจำนวนมากถูกนำไปใช้ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนความตระหนักและวัฒนธรรม ORM ในทุกกลุ่ม จากกระบวนการทำงานต่างๆ และการโต้ตอบ เครือข่ายทั่วโลกของหน่วยการเปลี่ยนแปลงของ ORM ถูกพัฒนาขึ้นในหน่วยธุรกิจทั่วโลก เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ปรับปรุงการจัดการของผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมต่อคุณประโยชน์ของระบบ และใช้วัฒนธรรมและแนวทางที่ดีที่สุดร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้และนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมให้สำเร็จได้นั้นต้องใช้เวลาหลายปี แต่ขณะนี้เกิดการรับรู้ผ่านทางโปรแกรม ORM SRI แล้ว โดยโปรแกรมนี้นำมาซึ่งมุมมองและยุทธศาสตร์สำหรับการจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ ภายใต้วัฒนธรรมความเสี่ยงที่ยั่งยืนและการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของ ORM มองไปข้างหน้า เมื่อธนาคารก้าวสู่อนาคตใหม่ภายใต้ทิศทางและความร่วมมือของทุกระดับในองค์กร ปรัชญาความเสี่ยงที่มีอยู่และวัฒนธรรมการตระหนักถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (ORM) ที่พัฒนาในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดความสามารถด้านการจัดการความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการและสามารถสร้างคุณประโยชน์ใหม่ๆ ต่อองค์กรได้อย่างมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จํากัด คุณนิตยา สอนวงค์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด Nittaya.Sornwong@sas.com +66 2 632 1511-20 ต่อ 405 ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ : บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด คุณเพลินพิศ ศรีบุรินทร์ และ คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น Ploenpids@corepeak.com; Srisuput@corepeak.com + 66 2 439 4600 ต่อ 8302,8300

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ