กรุงเทพฯ--1 ธ.ค.--IDC
IDC กล่าวว่า ตลาดไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น ยังมีอนาคตสดใส ด้วยภาคธุรกิจยังคงนำประโยชน์จากไอที มาเป็นตัวผลักดันกระบวนการดำเนิน งานและเพิ่มส่วนแบ่งทางตลาดให้กับตนเอง ในปี พ.ศ. 2552
สิงคโปร์ และ ฮ่องกง วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ถึงแม้ว่าจะมีการปรับลดการคาดการณ์ ของปีพ.ศ. 2552 แต่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยการ ที่ภาคธุรกิจมุ่งที่จะมองหาการใช้ประโยชน์จากไอทีเพื่อเข้ามาช่วยเติมเต็มให้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการขยายธุรกิจ เพื่อรองรับการใช้จ่ายที่กำลังเติบโตขึ้นในอนาคต การเติบโตของภูมิภาคเอเชียอย่างแข็งแกร่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น ทำให้หลายประเทศมีฐานะทาง การเงินมั่งคั่งไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจต่างๆ หรือ กลุ่มผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ต่างผลักดันให้ภูมิภาคเอเชีย กำลังเป็นจุดถูกจับตามองเป็นอย่างมาก สำหรับการลงทุนด้านไอทีเพื่อที่จะต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้าย ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตนเอง เพื่อรองรับภาวะ เศรษฐกิจที่จะถดถอยในอนาคต ณ วันนี้ IDC ได้มีการปรับลด การคาดการณ์ของการใช้จ่ายด้านไอที สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นเป็น 5.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 9.5% ที่เปิดเผย เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2552 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ยังคงมีสถานภาพที่ดีอยู่ เมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐฯ และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก IDC ได้คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของ ภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าถึง 195.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งน้อยลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ที่มูลค่า 201.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
“กลยุทธ์ในการลงทุนด้านไอทียังคงเป็นไปเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพ และ การ เพิ่มประสิทธิผล และ มุ่งไปที่การสร้างเสถียรภาพให้ธุรกิจในระยะยาว” กล่าวโดยนาย แกรี่ โคช ผู้ช่วย รองประธานฝ่ายการสำรวจการใช้จ่ายของไอที ประจำ IDC เอเชียแปซิฟิก “จากการทำโพลสำรวจกัีบ 400 บริษัทในภูมิภาคนี้เมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า 80% ของผู้ตอบคำถามกล่าวว่า การจัดซื้อจัดหา สินค้า บริการ และ โซลูชั่นในเชิงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ให้กับองค์กรเป็นคำตอบที่องค์กรต่างๆ ให้ความสนใจมากกว่า การจัดซื้อจัดหา เพียงแค่อุปกรณ์ที่มี ราคาต่ำ”
การสำรวจ สภาวะหลังวิกฤตการณ์ ได้ดำเนินการสำรวจทั่วภูมิภาคนี้ เพื่อค้นหาผลกระทบของ ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อภาคธุรกิจต่างๆ และเป็นการประเมินด้วยว่า หากว่ามีการจำกัดค่าใช้จ่ายลงจะมี ผลกระทบเกิดขึ้นกับส่วนงานใดของแต่ละองค์กร IDC พบว่า 43% ของผู้ตอบคำถาม สำนักงานใหญ่ ได้แจ้งมายังบริษัทเหล่านี้ให้มองหาแนวทางในการทำกำไรให้เพิ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2552 แนวทางนี้มาจาก สมมติฐานที่ว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะค่อนข้างดีกว่า (หรือดีกว่ามาก) ประเทศสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่น จากองค์กรธุรกิจชั้นนำหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียที่ถูกสำรวจ IDC พบว่า การลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการเพิ่มระดับการทำกำไรให้สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในหลายประเทศที่มีการ เติบโตค่อนข้างช้า นอกเหนือจากการบริหารจัดการด้านต้นทุนแล้ว ธุรกิจต่างๆ ยังจะมีการตั้งเป้าหมาย ไปที่ฐานลูกค้าของคู่แข่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้าใหม่สำหรับการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของตนเองอีกด้วย ระบบการบริหารจัดการลูกค้า และ การเพิ่มเครื่องมือต่างๆ ซึ่งสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีจะช่วยให้การ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับตลาดบริการด้านไอที มี 50% คาดหวังว่า ภูมิภาคเอเชียจะมีการทำสัญญาการจัดซื้อจัดหา บริการด้านไอทีในระดับที่มีขนาดพอๆ กับตลาดสหรัฐฯ และยุโรป แต่มากกว่า หนึ่งในสาม คาดว่า สัญญาจากภูมิภาคเอเชียนี้จะค่อนข้างดีกว่า อนึ่งมาตรการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายต่างๆ คาดว่าจะเป็นตัว ผลักดันให้มุ่งไปสู่การใช้เทคโนโลยี หรือ โซลูชั่นที่มองหาผลประโยชน์ที่จะได้รับ หรือ การคิดค่าใช้่จ่าย ตามพื้นฐานการใช้งานจริง ในตอนท้ายของผลจากการสำรวจเดียวกันนี้ พบว่า มีบางธุรกิจที่มีการชี้ชัดว่า การใช้ัจ่ายในส่วนของบริการบริหารจัดการจาก บุคคลภายนอก (managed service) และ บริการแบบ กลุ่มเมฆ (Cloud Service) อาจจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552
“สถาบันการเงิน หน่วยงานรัฐบาล และ การสื่อสาร ยังคงเป็น 3 ธุรกิจหลักที่มีสัดส่วนการใช้จ่าย ด้านไอทีสูงที่สุด ในปี พ.ศ. 2552 ขณะที่ ภาคการผลิต ค้าปลีก/ค้าส่ง และ การขนส่ง จะให้ความ สนใจอย่างมากในเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งอาจหมายความว่า จะมีการเคลื่อย้ายการลงทุน เพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) ไปสู่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) มากขึ้น เช่นเดียวกับ การมุ่งลงทุนไปในเรื่องจำเป็น เพื่อทำให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างลื่นไหล” นาย แกรี่ กล่าว
ใน อีก 6 ถึง 9 เดือนข้างหน้า จะมีโอกาสทางธุรกิจ จากสถาบันการเงินที่มีความต้องการลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องการซ่อมบำรุงดูแลรักษา (M&A) ต้องการ ทำระบบสาธารณูปโภคด้านไอทีให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ยุทธวิธีใหม่ๆ เพื่อรักษาฐาน ลูกค้าให้กับสถาบัน การเงินเหล่านั้น กลุ่มเหล่านี้ให้ความสนใจเป็น อย่างมากต่อโซลูชั่นที่สนับสนุนด้าน การบริหารจัดการ ความเสี่ยงและกฏข้อบังคับต่างๆ รวมถึงโซลูชั่น ที่เหมาะสมปรับตามสภาพเศรษฐกิจที่ขึ้นลง อย่างเช่น การจัดเก็บรายได้และการคุ้มครอง การให้อันดับ เครดิต และ การวิเคราะห์พอร์ตการลงทุน
ธนาคารอิสลามเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่อาจจะยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มดี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่อง ทางการเงิน ซึ่งเป็นเงินทุนที่ไหลมาจากประเทศในตะวันออกกลาง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับสถาบันการเงินในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ธนาคารกลางต่างๆ ใน ภูิมิภาคเอเชียจะพยายามรักษาตลาดการเงินในประเทศ รวมถึงการผลักดันให้ธนาคารต่างๆ อนุมัติการ ปล่อยสินเชื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสภาพคล่องที่อาจจะเกิดชึ้นในภูมิภาค
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ หากมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายของ หน่วยงานสาธารณะ (public sector) ที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และ การจ้างงาน เพิ่มขึ้น IDC คาดว่าสิ่งนี้จะก่อให้เกิดการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของ หน่วยงานรัฐฯ โรงพยาบาล และ โรงเรียน
IDC คาดว่า โอกาสการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในธุรกิจบริการติดต่อสื่อสาร สามารถมองด้วยกันเป็น 2 ระยะ - ในระยะยาว การลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) เพื่อเพิ่มรายได้ หรือ ได้รับการสนับสนุนทาง การเงินจากแหล่งอื่นๆ เพื่อสร้างความสร้างในการแข่งขันของตนเองให้เพิ่มขึ้น และ ในระยะสั้น (Non-CAPEX) จะใชัไปในเรื่องของการสร้างอัตราการเติบโตให้กับธุรกิจโดยผ่านการพัฒนาบริการใหม่ๆ เข้าสู่ ตลาด การบริการใหม่ๆ ที่ว่าจะรวมถึง Software as a Service (SaaS), บริการเสริมต่างๆ และ บริการบริหารจัดการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม และการพัฒนาตลาดโทรคมนาคมทั้่งประเภทมีสาย และ ไร้สาย
ประเทศสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย แต่แนวโน้่มการบริโภคที่ชะลอตัวลงจะ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจส่งออกของไทยในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ ภาวะทางการเมืองที่วุ่นวาย รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกนั้นจะยังคงส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจ และ การใช้จ่ายด้านไอที ของไทยในปี พ.ศ. 2552 การลงทุนของภาคธุรกิจต่างๆ จะถูกชะลอไปตราบเท่าที่ภาวะทางการเมือง ยังมีความไม่แน่นอน ผนวกกับกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการท่องเที่ยว IDC คาดว่า ในปี พ.ศ. 2552 มูลค่าของตลาดไอทีในประเทศไทยโดยรวมจะอยู่ที่ 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะปรับลดลงประมาณ 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ อัตราการเติบโตจะลดลงจาก 10.2% เป็น 6.7%.
นายแกรี่ ยังกล่าว ถึงแม้่ว่า ความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับงบประมาณด้านไอที ซึ่งองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะเลวร้ายในปัจจุบันนั้น IDC ได้สังเกต จากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเศรษฐกิจเริ่มถดถอย องค์กรเหล่านนี้จะสามารถพาตัวเองให้พันจาก สภาพที่เลวร้ายนั้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการบริหารจัดการการใช้จ่ายด้านไอทีให้เหมาะสมตามความ ต้องการใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email: sasithorn@idc.com