ผลสำรวจล่าสุดด้านความตระหนักในสุขภาพเพศชายในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เผย:

ข่าวทั่วไป Wednesday December 3, 2008 13:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ผู้ชาย 1 ใน 2 ประสบภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย แต่ยังไม่เคยมีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวมาก่อน ผลการสำรวจล่าสุดที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000 คน พบว่าร้อยละ 79 ของผู้ร่วมการสำรวจไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโตสเตอโรนมาก่อน หรือไม่แน่ใจว่าคืออะไร โดยที่เกือบ 3 ใน 4 คนของผู้ร่วมการสำรวจ (ร้อยละ 74) ระบุว่าตนเองมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง แต่ในความเป็นจริงพบว่า ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52) ที่มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และเกือบ 1 ใน 5 คน (ร้อยละ 19) ไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพเลย นอกจากนี้ ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 48) มีความสนใจที่จะรับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดของเพศชาย ด้วยค่านิยมในความเป็นชายและความคาดหวังทางสังคมที่มีต่อผู้ชายตั้งแต่อดีตกลายมาเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการนำเสนอคำตอบสำหรับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป บริษัท ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา เอเชีย แปซิฟิก จึงได้ดำเนินการสำรวจถึงความตระหนักในด้านสุขภาพเพศชาย เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2551 ที่ผ่านมา ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และประเทศไทย จากการสำรวจดังกล่าว พบว่าในด้านการใช้ชีวิต ผู้ชายให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี’ มาเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 95 เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ หรือสำคัญมาก) ส่วนหัวข้อ ‘การมีสุขภาพทางเพศที่ดี’ ได้รับการจัดอันดับความสำคัญมาเป็นลำดับที่ห้า (ร้อยละ 68) โดยมีความสำคัญมาก่อน ‘การทำงานอดิเรก หรือกีฬาที่สนใจ’ (ร้อยละ 62) ส่วนเหตุผลอันดับหนึ่งในการรักษาสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ชายคือ “การป้องกันความเจ็บป่วย” (ร้อยละ 47) ซึ่งในประเทศไทยมีการให้ความสำคัญสูงถึงร้อยละ 67 นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจชาวออสเตรเลียและเกาหลีใต้ (ร้อยละ 22 และร้อยละ 18) ยังจัดลำดับความสำคัญของ ‘การรักษาสมรรถภาพทางเพศให้ดีอยู่เสมอ’ ให้เป็นหนึ่งในสามเหตุผลหลักในการรักษาสุขภาพ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ทางด้านคำถามว่าด้วยความกังวลทางสุขภาพ กลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจชาวเกาหลีใต้แสดงความกังวลในเรื่อง ‘การขาดพละกำลัง / ความเหนื่อยล้าทางด้านร่างกาย’ (ร้อยละ 27) และ ‘มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงที่ลดถอยลง’ (ร้อยละ 26) มากกว่าผู้ตอบแบบสำรวจชาติอื่นๆ ขณะที่สิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ตอบแบบสำรวจชาวออสเตรเลียมากกว่าชาติอื่นๆ คือ “น้ำหนักตัวและไขมันที่เพิ่มขึ้น” (ร้อยละ 29) นอกจากนี้ ทั้งกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจชาวเกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ยังกังวลในเรื่อง “การสูญเสียความต้องการทางเพศ หรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)’ มากที่สุด (ร้อยละ 40 และ 38) เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศไทย (มีเพียงร้อยละ 19) แท้ที่จริงแล้ว ความกังวลในด้านสุขภาพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสื่อมถอยทางด้านสุขภาพที่มักเกิดขึ้นในผู้ชายมีอายุที่มากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่ากว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 52) ระบุว่าตนเองกำลังเผชิญกับอาการดังกล่าว ซึ่งเป็นอาการที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ TDS (Testosterone Deficiency Syndrome) ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะ TDS จะเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มชายวัย 50 ปีขึ้นไป และพบประมาณร้อยละ 12 ในชายอายุระหว่าง 48 และ 79 ปี ภาวะ TDS เป็นภาวะทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับความถดถอยทางสุขภาพโดยรวมของผู้ชาย ทั้งทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางเพศ ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดี โดยเป็นผลมาจากการสูญเสียฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนในชายที่มีอายุมากขึ้น และได้มีผลการศึกษาออกมายืนยันว่าระดับของฮอร์โมนเพศชายจะลดลงตามอายุ ในอัตราประมาณร้อยละ 1.2 ต่อปี เริ่มตั้งแต่วัย 40 ปีขึ้นไป และภายในอายุ 70 ปี ผู้ชายจะสูญเสียฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนที่มีอยู่เดิมไปประมาณร้อยละ 35 อนึ่ง สำหรับภาวะ TDS หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ชาย เนื่องจากภาวะดังกล่าว มักปรากฎร่วมกับอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ Erectile Dysfunction (ED) โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiovascular Disease) ความดันโลหิตสูง ภาวะคอลเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวอาจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ชายลดลงได้อย่างมากเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งในทางกลับกัน ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศชายในระดับปกติมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชายที่ประสบภาวะ TDS ตามข้อมูลจากผลการศึกษาที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชายสามกลุ่มที่มีระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนต่างกัน ผลการศึกษาดังกล่าวยังบ่งชี้ให้เห็นอีกว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว (underlying medical conditions) ควรมีได้รับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน การตรวจระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพเพศชาย ฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (T) ของผู้ชายที่จะถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อมีระดับฮอร์โมนดังกล่าวในเลือดต่ำกว่าระดับ 12 นาโนโมล/ลิตร ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวยังสามารถกลับไปสู่ระดับปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ดังเช่นปัจจุบันที่มีฮอร์โมนทดแทนประเภทฉีดที่มีผลระยะยาวตัวแรกของโลก และมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสุขภาพโดยรวมของผู้ชาย และใช้การฉีดเพียงปีละสี่ครั้ง การฉีดฮอร์โมนทดแทน เป็นการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone Undecanoate) โดยวิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular injectable formulation) ซึ่งจะมีประสิทธิผล เนื่องจากเป็นการให้ฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนเข้าสู่ร่างกายและสามารถออกฤทธิ์ในส่วนที่ต้องการได้ ในแบบเดียวกันกับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงช่วยในการรักษาระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนในเลือดให้อยู่ในระดับคงที่ได้ภายในระยะเวลาประมาณสามเดือน เนื่องจากการรักษาภาวะ TDS อาจช่วยให้พบภาวะทางอายุรกรรมอื่นๆ ที่สามารถรักษาได้ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวใช้วิธีการรักษาแบบครบวงจร โดยใช้ยากลุ่ม PDE-5 inhibitor เพื่อช่วยรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ในทันทีโดยตรง และรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนด้วยยาฉีดฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน บริษัท ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา และส่วนธุรกิจ Men’s Healthcare ของบริษัทฯ มีแนวทางการรักษาแบบองค์รวมอันที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันสมัย ที่จะช่วยให้ผู้ชำนาญการด้านการรักษาสุขภาพเพศชายประสบความสำเร็จในการบำบัดรักษาผู้ป่วยภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายและ “ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพความเป็นชายของผู้ป่วยกลับคืนมา” ข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา เอเชีย แปซิฟิก บริษัท ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา เอเชีย แปซิฟิก อยู่ภายใต้นิติบุคคลของบริษัท ไบเออร์ (เซาท์อีสต์เอเชีย) พีทีอี จำกัด และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจทั่วโลกของ บริษัท ไบเออร์ เฮลธ์แคร์ เอจี ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทสาขาของบริษัท ไบเออร์ เอจี ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา เป็นบริษัทเภสัชกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านระดับโลก ดำเนินการวิจัยและกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเน้นในสาขาดังต่อไปนี้ เวชภัณฑ์ด้านภาพรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) เวชภัณฑ์ด้านการรักษาโรคทั่วไป (General Medicine) เวชภัณฑ์ด้านการรักษาโรคเฉพาะทาง (Specialty Medicine) และ เวชภัณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพสตรี (Women's Healthcare) ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา มุ่งมั่นก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางการตลาดด้านเวชภัณฑ์เฉพาะทางในแต่ละสาขาทั่วโลก โดยอาศัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ล้ำสมัย ไบเออร์ เชริง ฟาร์มาตั้งเป้าหมายในการสร้างคุณูปการต่อความก้าวหน้าทางการแพทย์ พร้อมทุ่มเทเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยอาศัยแนวคิดอันทันสมัย ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไบเออร์ เชริง ฟาร์มา สามารถคลิกชมได้ที่ www.bayerscheringpharma.de สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ คุณธรณ ชัชวาลวงศ์ บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย โทร : 0-2627-3501 ต่อ 118, มือถือ: 081 821 5557 อีเมล์ : tchatchavalvong@th.hillandknowlton.com ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้อาจมีข้อความที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า ที่มาจากการสันนิษฐานและการคาดการณ์ในปัจจุบันของผู้บริหารของไบเออร์กรุ๊ป หรือบริษัทสาขา ความเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่เป็นที่ทราบและไม่เป็นที่ทราบ ตลอดจนความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงนั้นมีความแตกต่างในสาระสำคัญ จากผลที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต สถานการณ์ทางด้านการเงิน การพัฒนาหรือผลการดำเนินงานของบริษัทรวมทั้ง การประมาณการต่างๆ ที่อยู่ในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ ปัจจัยต่างที่ได้กล่าวมานี้รวมไปถึงปัจจัยตามที่ได้กล่าวไว้ในรายงานต่อสาธารณะของไบเออร์ ซึ่งสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.bayer.com ทั้งนี้บริษัทฯ ถือว่าบริษัทไม่มีความรับผิดใดๆ ในการทำให้ข้อความเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้มีความเป็นปัจจุบัน หรือในการทำให้การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นไปตามเหตุการณ์ หรือพัฒนาการในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ