ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ ๙ จังหวัด คลี่คลายแล้ว ๓ จังหวัด

ข่าวทั่วไป Wednesday December 3, 2008 15:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ ๙ จังหวัด สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และตรัง ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ๖ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวม ๓๕ อำเภอ ๒๐๖ ตำบล ๑,๑๖๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๖๓,๔๕๘ ครัวเรือน ๒๒๐,๒๔๐ คน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากใน ๙ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา ชุมพร ตรัง และยะลา รวม ๘๖ อำเภอ ๔๙๗ ตำบล ๓,๒๒๑ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๒๑ ราย ราษฎรเดือดร้อน ๒๐๙,๙๒๗ ครัวเรือน ๗๒๙,๔๑๓ คน ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีและตรัง ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ๖ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวม ๓๕ อำเภอ ๒๐๖ ตำบล ๑,๑๖๕หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๖๓,๔๕๘ ครัวเรือน ๒๒๐,๒๔๐ คน นครศรีธรรมราช น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ๒๐ อำเภอ ๑๔๒ ตำบล ๙๗๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๗๐,๓๕๘ ครัวเรือน ๒๖๕,๗๑๐ คน ผู้เสียชีวิต ๑๔ ราย ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๔ อำเภอ ๓๕ ตำบล ๒๑๘ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๔,๘๗๙ ครัวเรือน ๔๙,๔๔๙ คน ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ชะอวด ปากพนัง และ จุฬาภรณ์ พัทลุง น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่๑๑ อำเภอ ๕๕ ตำบล ๔๖๗ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๓ ราย ราษฎรเดือดร้อน ๑๗,๐๖๗ ครัวเรือน ๖๓,๘๕๕ คน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๕ อำเภอ ๓๑ ตำบล ๒๗๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๔,๑๓๐ ครัวเรือน ๕๔,๗๘๓ คน ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ปากพะยูน บางแก้ว และเขาชัยสน ปัตตานี น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ๗ อำเภอ ๕๒ ตำบล ๑๘๖ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๓,๗๑๖ ครัวเรือน ๔๑,๒๐๖ คน ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี ยะหริ่ง ปะนาเระ ไม้แก่น มายอ หนองจิก และทุ่งยางแดง สงขลา น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่รวม ๘ อำเภอ ๔๐ ตำบล ๒๓๑ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๐,๘๙๔ ครัวเรือน ๖๗,๕๓๑ คน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๗ อำเภอ ๓๓ ตำบล ๑๘๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๘,๗๑๙ ครัวเรือน ๒๘,๗๒๓ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา ควนเนียง ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร และหาดใหญ่ ยะลา น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ๓ อำเภอ ๑๔ ตำบล ๔๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒,๙๒๖ ครัวเรือน ๑๒,๒๓๕ คน ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา รามัน และธารโต นราธิวาส น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ๑๓ อำเภอ ๕๘ ตำบล ๓๓๖ หมู่บ้าน ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๙ อำเภอ ๔๑ ตำบล ๒๖๐ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๙,๐๘๘ ครัวเรือน ๓๓,๘๔๔ คน ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส เจาะไอร้อง ยี่งอ บาเจาะ สุไหงปาดี ระแงะ สุคิริน สุไหงโก-ลก และแว้ง สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัด ประสานอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเจ้าหน้าที่จำนวน ๙๐ คน ออกสำรวจความเสียหาย และระดมเครื่องจักรกล รถบรรทุก ๖ คัน เครื่องสูบน้ำ ๑๒ เครื่อง เรือท้องแบน ๕๒ ลำ ออกให้บริการขนย้ายทรัพย์สินสิ่งของและอพยพประชาชนออกจากพื้นที่น้ำท่วม รวมทั้งนำน้ำดื่ม ๓๒,๔๐๐ ขวด ถุงยังชีพ ๖,๕๐๐ ชุด พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ไปมอบให้กับผู้ประสบภัย เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๔ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี เขต ๑๒ สงขลา เขต ๑๘ ภูเก็ต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันที ที่เกิดเหตุภัยพิบัติ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนสาธารณภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ผู้ส่ง : pr เบอร์โทรศัพท์ : 02 2432200

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ