ส.อ.ท.ชี้ไต้หวันสนใจร่วมทุนเอกชนไทยในอุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยีและชีวภาพ แนะภาคเอกชนไทยแสดงศักยภาพ เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday December 14, 2005 11:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ส.อ.ท.เป็นเจ้าภาพจัดประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย - ไต้หวัน ครั้งที่ 16 เตรียมร่วมมือกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บีโอไอ NECTEC แสดงศักยภาพไทยพร้อมเป็นฐานการผลิตรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นสูง หวังดึงเม็ดเงินลงทุนไต้หวัน รับนโยบายมุ่งสู่อาเซียน ลดความเสี่ยงการลงทุนในจีน
นายวิรัช เกลียวปฏินนท์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ครั้งที่ 16 ระหว่างสภาอุตสาหกรรมฯ และสมาคมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจนานาชาติไต้หวัน (Chinese International Economic Cooperation Association : CIECA) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีว่า ในปีนี้ฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้กำหนดจัดการประชุมขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด "Exploration of the 2nd Taiwan South - Bound Policy on industry, trade and investment" ซึ่งการประชุมนี้ นอกจากจะเป็นเวทีพบปะเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นด้านการค้าการลงทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับไต้หวัน ซึ่งเป็นนักลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนในไทยมากเป็นอับดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ แล้ว ในช่วงเวลาขณะนี้ที่ไต้หวันกำลังดำเนินนโยบาย "มุ่งสู่ใต้" (Go South Policy) โดยมุ่งส่งเสริมให้นักลงทุนชาวไต้หวันเพิ่มฐานการลงทุนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไต้หวันต้องพึ่งพาจีนเป็นแหล่งการลงทุนหลักนั้น การประชุมดังกล่าวจึงนับเป็นโอกาสสำคัญของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทยที่จะชักชวนให้นักลงทุนไต้หวัน ขยายสัดส่วนการลงทุนในไทยให้เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมูลค่าการลงทุน ณ เดือนมีนาคม 2547 พบว่า ไต้หวันลงทุนในไทยจำนวน 1,710 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 10,942.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการลงทุนในไทย มากเป็นอันดับ 2 ของการลงทุนในประเทศแถบอาเซียน
ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตเพื่อรองรับการลงทุนของไต้หวันในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งไต้หวันต้องการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ รถยนต์และชิ้นส่วน นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเครื่องจักร โลหะ และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรที่มีการลงทุนในไทยอยู่ในขณะนี้ ในการประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย - ไต้หวันครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ จึงได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NECTEC) เชิญผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - ไต้หวัน และสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจไต้หวัน เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการขยายมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกัน ภายใต้หัวข้อการประชุมเชิงอภิปรายเรื่อง "การยกระดับไทยก้าวสู่ประเทศผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงผ่านความร่วมมือด้านการลงทุนจากไต้หวัน" และ "สำรวจศักยภาพและโอกาสทางการลงทุนของไทยและไต้หวัน" โดยในการประชุมดังกล่าว จะเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยที่สนใจร่วมลงทุนกับไต้หวันเข้าร่วมรับฟังการอภิปราย และจัดเวทีให้นักธุรกิจ 2 ฝ่าย ได้พบปะเพื่อเจรจาธุรกิจระหว่างกัน
"การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของธุรกิจไต้หวันในไทย นอกจากจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ช่วยกระตุ้นอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศชดเชยกับการส่งออกและการลงทุนของภาคเอกชนไทยที่มีแนวโน้มลดลงในปีหน้าแล้ว การลงทุนของไต้หวันในธุรกิจที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง จะส่งผลดีต่อการยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าที่มีศักยภาพเหนือประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ในทางกลับกัน ไต้หวันเอง ก็จะได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการลงทุนมายังประเทศไทยเช่นกัน จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีตามกรอบ AFTA และการเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ" นายวิรัชกล่าว
สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยและไต้หวันในปัจจุบัน พบว่า ระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2548 มีมูลค? 2,146.6 ล?นดอลลาร?สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของป? 2547 ร?อยละ 5.76 การส?งออกของไทยระหว?งเดือนมกราคม - เมษายน 2548 มีมูลค? 827.8 ล?นดอลลาร?สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของป? 2547 ร?อยละ 2.93 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปไต้หวัน 10 อันดับแรก ระหว่างเดือน มกราคม - ตุลาคม 2548 ได้แก่ 1.) แผงวงจรไฟฟ้า 2.) เครื่องคอมพิวเตอร์ 3.) อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4.)เคมีภัณฑ์ 5.)เคมีภัณฑ์ 6.)อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด 7.)เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 8.)กระดาษ 9.) ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา 10.)ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขณะที่การนำเข?ของไทยระหว?งเดือนมกราคม - เมษายน 2548 มีมูลค? 1,442.4 ล?นดอลลาร?สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของป? 2547 ร?อยละ 11.49 โดยสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากไต้หวันระหว่าง มกราคม - ตุลาคม 2548 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.) แผงวงจรไฟฟ้า 2.) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.) เคมีภัณฑ์ 4.) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 5.) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6.) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิต-ภัณฑ์ 7.) ผ้าผืน 8.)น้ำมันสำเร็จรูป 9.) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 10.) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สำหรับดุลการค? ไทยเป?นฝ?ยขาดดุลการค้าแก?ไต้หวันมาโดยตลอด ในช่วง 4 เดือนแรก ของป? 2548 ไทยขาดดุลการค?คิดเป็น มูลค? 614.6 ล้านดอลลาร?สหรัฐ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
แผนกประชาสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โทร. 0-2345-1012-3 โทรสาร 0-2345-1295-9--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ