IDC พบว่าการจ้างหน่วยงานภายนอกและบริการจัดการด้านไอที ใน เขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกนั้นมีอนาคตสดใส

ข่าวเทคโนโลยี Friday December 12, 2008 13:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--IDC Thailand IDC พบว่าการจ้างหน่วยงานภายนอกและบริการจัดการด้านไอที ใน เขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกนั้นมีอนาคตสดใส ท่ามกลางโอกาสทาง ธุรกิจที่แสนริบหรี่ในสภาพการตลาดที่แสนท้าทาย ตลาดงานบริการด้านไอทีในเขต ภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นถูกคาดว่ายังคงความแข็งแรงและเติบโตได้ถึง 49.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐในปีพ.ศ. 2552 อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ IDC ก็ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ด้าน การใช้จ่ายด้านไอทีในภูมิภาคนี้ไปแล้ว การคาดหวังว่าสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นในตลาดงานบริการด้าน ไอทีได้แรงขับพื้นฐาน จากความต้องการอย่างต่อเนื่องทางด้านการบริการจัดการด้านไอที และ การจ้างหน่วยงานภายนอก ซึ่งค่าบริการจัดการกลายเป็นตัวแปรที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญเป็น หลักในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังมีความต้องการสร้างความแข็งแกร่งที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับ เศรษฐกิจโลกที่กำลังเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดงานบริการด้านไอทีในเขตภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นอย่างไรก็ตามงานบริการด้านไอทีในเขตดังกล่าว กำลังได้รับการกู้สถานการณ์ ด้วยตัวเลขการเติบโตที่เพิ่มแบบ ทวีคูณอย่างต่อเนื่องของตลาดงานบริการด้านไอทีในตลาดที่ กำลังพัฒนาในประเทศ อินเดีย และ จีน รวมถึงแรงสนับสนุนจากกลุ่มประเทศที่ถือเป็นตลาดใหม่ อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ประเทศ ไทย และ เวียตนาม ตามที่ IDC ได้จัดทำรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ภายใต้ชื่อ "Effects of the Global Economic Slowdown on Asia/Pacific (Excluding Japan) IT Services: Market Analysis and Forecast Study for 2008-12" (Doc#AP221108Q) รายงานนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมอัตราการเติบโตของตลาดงานบริการ ด้านไอทีประจำปีพ.ศ. 2552 ในเขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวเลขต่ำลงถึง ร้อยละ 9.6 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ IDC เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ ร้อยละ 11.2 ในปี พ.ศ. 2550 การแก้ไขการคาดการณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2551 — 2555 ทำให้มูลค่าตลาดบริการด้าน ไอทีในเขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลงถึง 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปีพ.ศ. 2551 และ ปีพ.ศ. 2552 ได้ถูกคาดการณ์มูลค่าตลาดโดยประมาณปีละ 2 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ (หมายเหตุ - อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้คืออัตราแลกเปลี่ยนประจำปีพ.ศ. 2550) นายฟิลิป คาร์เตอร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยบริการด้านไอทีของ IDC เอเซียแปซิฟิก ยังคง ยืนยันว่า ตลาดบริการด้านไอทีในเขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีแรงต้านทานต่อ สภาวะต่างๆ ในสภาพเศรษฐกิจทีท้าทายเช่นนี้ "ผลกระทบของตลาดบริการจะต้องพิจารณาจาก ตัวเลขที่เป็นสัดส่วน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นสำคัญอยู่ ที่ว่าจะมีโอกาสทางธุรกิจเกิดขึ้นหรือไม่ ตัวอย่างเช่นผลสำรวจผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจหลัง เดือนตุลาคมของ IDC เขตภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก พบว่ามากกว่าร้อยละ 12 ของการสำรวจจาก หน่วยงานทั้งหมด 400 แห่ง หน่วยงานเหล่านั้นมีการเพิ่มงบสำหรับการ จัดการระบบไอที หรือ การจ้างหน่วยงานภายนอกในปีพ.ศ. 2552 ตัวชี้วัดว่าโอกาสทางธุรกิจด้าน งานบริการจะเกิดขึ้น ชัดเจนในปีพ.ศ. 2552 ได้แก่ จำนวนสัดส่วนการจำหน่ายที่เพิ่มแบบทวีคูณ ของ ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และ บริการ ประเภทต่างๆ ทั้งนี้ผู้ค้าเองนั้นจำเป็นต้อง เสนอบริการต่างๆ ให้กับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายด้วยความกระตือรือร้น" การสำรวจสถานการณ์หลังวิกฤตเศรฐกิจ ที่สอบถามจากผู้อำนวยการแผนกไอที และ ผู้จัดการ แผนกไอทีครั้งนี้เป็นการสำรวจครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก เพื่อให้แน่ใจว่าผลกระทบจาก เศรษฐกิจขาลงมีผลอย่างไรกับธุรกิจพร้อมกับการประเมินสถานการณ์ โดยบางแห่งอาจจะมีการ ปรับลดงบประมาณด้านไอที IDC พบว่าสัดส่วนของผู้แสดงความคิดเห็น หลักๆ ระบุว่าพวก เขาจะลงทุนในเรื่องของบริการด้านแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (cloud-based) รวมทั้งการจ้างหน่วยงานภายนอกและใช้บริการจัดการระบบไอที และมีความหวังว่าจะได้รับงบ ประมาณที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายเรื่องบริการต่างๆ ดังกล่าว Asia/Pacific (Excluding Japan) IT Services Market Forecast Comparison — 1H07, 2H07, and 1H08 Note: These numbers are shown using 2007 constant currency exchange rates. Source : Effects of Global Economic Slowdown on Asia/Pacific (Excluding Japan) IT Services: 2008-2012 Market Analysis and Forecast, (Doc #AP221108Q) , November 2008 IDC คาดว่าผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้านบริการไอทีนั้นมีความหลากหลายซึ่งพิจารณาได้ จากสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1)รูปแบของงานบริการ 2)ประเทศที่เกิดเหตุการณ์ และ 3)ประเภทธุรกิจ เรื่องรูปแบบของงานบริการ เช่น บริการที่อยู่ในรูปแบบ "โครงการ" (การออกแบบและ ติดตั้งระบบไอที) กล่าวได้ว่าได้รับผลกระทบหนักที่สุด IDC คาดว่าหน่วยงานต่างๆ จะพิจารณา โครงการต่างๆ ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างโครงการเชิง กลยุทธ์กับโครงการทั่วไปโดยจะจำเป็น ต้องคำนึงถึงสิ่งที่กำหนดเมื่อเริ่มต้นเริ่มโครงการเป็นหลัก มิฉะนั้นอาจจะต้องยกเลิกโครงการ ทั้งหมด เรื่องของประเทศที่เกิดเหตุการณ์ หน่วยงานที่มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในประเทศสหรัฐฯและกลุ่ม ประเทศในแถบยุโรปจะได้รับผลกระทบมากที่สุด IDC คาดว่าโอกาสทางธุรกิจด้านบริการจัดการ ด้านไอทีจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ต้องการตัดงบค่าสินทรัพย์ของหน่วยงาน และจะ พิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น การทำสัญญาใหม่กับผู้จำหน่ายอุปกรณ์ รายใหม่ๆ ลดลง แต่บางส่วนนั้นจะถูกชดเชยด้วยความจริงที่ว่าหน่วยงานดังกล่าวนั้น ตระหนักใน เรื่องอายุการใช้งานของระบบสาธารณูปโภคที่ใช้อยู่ให้ยาวนานขึ้น เพราะฉะนั้นเพื่อการประหยัด จึงพยายามปรับระยะเวลาการเปลี่ยนอุปกรณ์นั้นให้ยาวนานขึ้น รวมถึงพิจารณาจัดซื้ออุปกรณ์ที่มี การรับประกันให้บริการแก้ไขปัญหา ที่สามารถขยายวันหมดอายุการประกันให้กับเขาได้ หาก พิจารณาจากประเภทธุรกิจ ภาครัฐฯ ถูกคาดว่าจะมีโอกาสทางธุรกิจชัดเจนที่สุด โดยพิจารณา จากการจัดสรรงบของธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งโดยธรรมชาติจะไม่นำงบ ประมาณที่เหลือจากปีที่แล้ว มาใช้ในปีถัดไป ตลาดที่มีโอกาสทางธุรกิจที่ดีในส่วนภาครัฐ บริการด้านไอทีจะเกิดขึ้นระหว่าง ปีพ.ศ. 2552 ถึง ปีพ.ศ. 2553 ในประเทศ ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ จีน อินเดีย และ ฮ่องกง ดังที่เห็นว่าวิกฤตทางการเงินและการขาดสภาพคล่อง ธนาคารและสถาบันทางการเงิน (BFSI) เป็นประเภทธุรกิจ ที่ถูกคาดหวังให้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับใช้บริการด้านไอทีโดยเร็วที่สุด สำหรับปีพ.ศ. 2552 นี้ ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต โทรคมนาคม และ ธุรกิจ ค้าปลีก ถูกคาดว่าจะมีการลงทุน การใช้จ่าย ลดน้อยลงอย่างแน่นอน และการใช้บริการจ้างหน่วย งานภายนอกจะเห็นผลในเร็วๆ นี้ นายเมเยอร์ ซานี่นักวิเคราะห์อาวุโสกลุ่มงานศึกษาโอกาสทางธุรกิจของบริการด้านไอทีของ IDC เอเซียแปซิฟิก กล่าวเพิ่มเติมว่า "บริษัทผู้ให้บริการด้านไอทีจะกลับมาแข็งแกร่งที่สุดในเศรฐกิจ ที่แสนสับสนเช่นนี้ด้วยการนำเสนอค่าบริการที่ต่ำมากที่สุด เพื่อสอดคล้องกับการทำธุรกิจด้วย ความเข้าใจสถานะการณ์อย่างชัดเจน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำระดับสูง การมีความสมดุล ของรายรับและรายจ่าย การมีแผนการบริหารการเงินที่ดี พร้อมที่จะรับความเสี่ยง และ การจัดวาง บริษัทตนเองให้มีความน่าเชื่อถือพร้อมเป็นคู่ค้าระยะยาวกับลูกค้า "เราจะได้เห็นการให้บริการ ที่มีคุณภาพระดับสูง" แต่คุณภาพระดับสูงดังกล่าวที่ได้รับนั้นจะถูกเสนอด้วยราคาประหยัด" สำหรับผู้ที่สนใจสั่งซื้อรายงานฉบับบสมบูรณ์กรุณาติดต่อ ธารวลัย แซ่ฉั่ว ทที่หมายเลข +66-2651-5585 ต่อ 111 หรือ อีเมลล์ thannwalai@idc.com. เกี่ยวกับIDC IDC เป็นบริษัทที่ปรึกษา และ วิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการ วิเคราะห์เจาะลึก แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบ การตัดสินใจจัดซื้อ เทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบัน IDC มี นักวิเคราะห์ กว่า 1,000 คน ใน 100 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษา เชิงกลยุทธ์อย่างรอบ ด้านแก่ลูกค้าในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละประเทศ ด้วยประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญที่สั่งสม มากว่า 44 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุก วัตถุประสงค์ ทางธุรกิจ IDC เป็นบริษัทในเครือของ IDG ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และ จัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.idc.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : IDC Thailand คุณศศิธร แซ่เอี้ยว ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113 Email: sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ