กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--ปภ.
1. สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.49 - 9 มิ.ย.49) มีพื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 167 ตำบล 1,164 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.1 มีผู้เสียชีวิต 85 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 73 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 27 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 31 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 30 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 26 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย)
(หมายเหตุ พบศพจากการปฏิบัติงานในการรื้อเศษไม้ ที่บริเวณปากน้ำลี อ.ท่าปลา ในวันที่(8 มิ.ย.) เพิ่มอีก 2 ศพ เป็นหญิง 1 ศพ และไม่ทราบเพศ 1 ศพ)
1.2 บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 697 หลัง (จังหวัดอุตรดิตถ์ 472 หลัง จังหวัดแพร่ 135 หลัง จังหวัดสุโขทัย 89 หลัง และจังหวัดน่าน 1 หลัง) เสียหายบางส่วน 2,970 หลัง (จังหวัดอุตรดิตถ์ 2,469 หลัง จังหวัดสุโขทัย 156 หลัง และจังหวัดแพร่ 345 หลัง)
1.3 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 342,895 คน 106,304 ครัวเรือน อพยพ 11,601 คน ถนน 971 สาย สะพาน 181 แห่ง พื้นที่การเกษตร 542,588 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 223 แห่ง พนังกั้นน้ำ/ทำนบ 36 แห่ง ท่อระบายน้ำ 258 แห่ง ฝาย/อ่างเก็บน้ำ/เหมือง 188 แห่ง บ่อปลา 5,412 บ่อ ปศุสัตว์ 76,611 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
2. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ โดยน้ำได้เอ่อล้น เข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรทุกตำบล รวม 11 ตำบล 104 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 เมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเมือง ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลง
3. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมจากจังหวัดสุโขทัย ได้ไหลลงมา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูงขึ้น แล้วไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและท่วมพื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอ รวม 12 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอบางระกำ อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมือง ระดับน้ำสูง ประมาณ 0.30 เมตร ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,862 คน 2,308 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 122,053 ไร่ ถนน 40 สาย บ่อปลา 690 บ่อ ปลากระชัง 158 กระชัง ระดับน้ำทรงตัว
4. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
ด้วยแม่น้ำยมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตร ริมฝั่งขวาแม่น้ำยมในพื้นที่ของตำบลรังนก ตำบลสามง่าม ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม ซึ่งอยู่ในเขตพนังกั้นน้ำ และตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง น้ำได้ท่วมขังบริเวณใต้ถุนบ้านไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ในบางพื้นที่ และบางพื้นที่ได้อพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงแล้ว มีพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จำนวนประมาณ 30,000 ไร่
5. ระดับน้ำในลุ่มน้ำยม ในวันนี้ (9 มิ.ย.49) เวลา 07.00 น.
- อำเภอกงไกรลาศวัดได้ 9.64 ม. (ระดับวิกฤติ 9.00 ม.) สูงกว่าระดับวิกฤติ 0.640 ม. (ลดลง 0.08 เมตร)
- ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ วัดได้ 42.03 ม. (ระดับวิกฤติ 41.00 ม.) สูงกว่าระดับวิกฤติ 1.03 ม. (ระดับน้ำทรงตัว)
6. ปริมาณน้ำฝนเวลา 01.00 น. วันที่ 8 มิ.ย.49 ถึง 01.00 น. วันที่ 9 มิ.ย.49
- จังหวัดภูเก็ต (ท่าอากาศยานภูเก็ต) 31.7 มม.
- จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง) 28.0 มม.
- จังหวัดราชบุรี (อ.เมือง) 10.3 มม.
7. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2549 เวลา 06.00 น.
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ทั่วทุกภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนอยู่ในเกณฑ์ 40-60 % ของพื้นที่
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โทร 0-2241-7450-6 สายด่วน 1784