การเมืองฉุด ดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตฯ พ.ย. ทรุดหนักต่อเนื่อง แนะรัฐใหม่เร่งยุติความขัดแย้ง แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเร็ว

ข่าวทั่วไป Wednesday December 17, 2008 11:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,309 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 71.8 ปรับตัวลดลง จากเดือนตุลาคม 2551 ที่อยู่ในระดับ 75.5 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเกือบเข้าใกล้จุดต่ำสุด ที่ระดับ 71.4 ในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกันนี้ โดยได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อ และยอดขาย ที่ชะลอตัวลงมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ สาเหตุจากปัญหาทางการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการในเดือนนี้ปรับลดลงไม่มากนัก ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 78.5 ปรับลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ที่อยู่ในระดับ 82.4 และยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ระดับ 93.5 ซึ่งการปรับลดลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในระยะเวลาอีก 3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะเหตุการณ์เข้ายึดสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอย่างมากในระยะต่อไป สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการ พบว่า อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง มีเพียงอุตสาหกรรขนาดย่อม ที่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ด้วยปัจจัยบวกด้านต้นทุนที่ปรับตัวลดลงมาก ประกอบกับยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยบวกภายในประเทศ เช่น ราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนลดลง ตลอดจนใกล้เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ช่วยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงนี้ ซึ่งถ้าหากสถานการณ์ทางเมืองคลี่คลาย คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าปรับตัวดีขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผลประกอบการในเดือนนี้ปรับลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อสินค้าลงอย่างมาก โดยเฉพาะลูกค้าจากตลาดต่างประเทศ บวกกับการเข้ายึดสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตร ฯ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกสินค้าต้องล่าช้าออกไป ผู้ประกอบการมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการอย่างมากในระยะต่อไป ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวลดลง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลดีจากต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวขึ้น และเป็นช่วงฤดูกาลหีบอ้อย และฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในเดือนนี้ ส่งให้ผลประกอบการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามการส่งออก พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงทั้งกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดส่งออก โดยเฉพาะกลุ?มที่เน?นตลาดส?งออกปรับตัวลดลงค?อนข?างมาก เนื่องจากการหดตัวของอุปสงค?ในประเทศคูค้า ด้านสภาวะแวดล้อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์ทางการเมือง ยังคงสร้างความกังวลต่อกิจการอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน เริ่มมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการน้อยลง ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่าภาครัฐควร เร่งยุติปัญหาความขัดแย?งทางการเมืองที่เกิดขึ้น และหันมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ มีนโยบายสนับสนุนให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสนับสนุนมาตรการทางภาษี เช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบ หรือการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งหาแหล่งตลาดใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อทดแทนตลาดหลักที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯ และดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนอย่าให้มีความผันผวน โดยคงระดับไว้ที่ 33-35 บาท เพื่อช่วยอุตสาหกรรมส่งออก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0-2345-1017 โทรสาร 0-2345-1296-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ