เทรนด์ ไมโคร ระบุภัยร้ายมัลแวร์ที่อันตรายที่สุดในรอบปี 2551 มาจากอินเทอร์เน็ต

ข่าวบันเทิง Friday December 26, 2008 10:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค ไม่น่าแปลกใจที่การท่องอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยจะส่งผลให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อการเติบโตของภัยคุกคามบนเว็บเพิ่มขึ้นเกือบ 2000 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 2548 นักวิจัยด้านภัยคุกคามของบริษัท เทรนด์ ไมโคร รายงานสรุปผลการวิจัยล่าสุดพบว่า กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของมัลแวร์ 100 อันดับแรกของปี 2551 นั้นมาจากอินเทอร์เน็ต และถูกดาวน์โหลดจากผู้ใช้ที่ท่องเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและที่ไม่รู้จักโดยไม่ตั้งใจ ที่มาของการติดเชื้อสูงสุดอันดับที่สอง (43 เปอร์เซ็นต์ ) มาจากมัลแวร์ที่มีอยู่แล้วในระบบ เป็นภัยคุกคามแบบผสมหลายส่วนประกอบ (multi-component) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการดาวน์โหลดชิ้นส่วนของมัลแวร์อย่างน้อยหนึ่งชิ้นที่มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือซ่อนตัวอยู่ภายในไฟล์ใดไฟล์หนึ่งในระบบ จากนั้นก็จะติดต่อไปยังตำแหน่งที่ตั้งระยะไกลเพื่อเรียกมัลแวร์ตัวจริง เช่น มัลแวร์ขโมยข้อมูล ออกมาใช้งาน จะเห็นได้ว่า สิ่งที่แนบมาพร้อมกับอีเมลจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือที่เป็นอันตรายกลายเป็นที่มาของการติดเชื้อสูงสุดอันดับที่สาม (12 เปอร์เซ็นต์) สำหรับวิธีอื่นๆ โดยทั่วไปที่จะนำไปสู่การติดเชื้อได้นั้น เช่น การคลิกลิงก์หรือยอมรับไฟล์ที่ส่งผ่านทางแอพพลิเคชั่นข้อความทันใจ การดาวน์โหลดไฟล์ที่นำเสนอผ่านทางการเชื่อมต่อแบบเพียร์ทูเพียร์ การใช้ไดรฟ์แบบถอดได้ เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ และฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา/ติดตั้งภายนอก และไม่ได้ซ่อมแซมแอพพลิเคชั่นที่พบว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยอยู่ แม้ว่าข้อมูลในแต่ละภูมิภาคจะมีแนวโน้มทั่วๆ ไปเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย โดยในอเมริกาเหนือยังคงมีจำนวนของแอดแวร์สูงที่สุดและกำลังมีการเติบโตของมัลแวร์ขโมยข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก มัลแวร์ที่มาจากไดรฟ์แบบถอดได้ (ฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา/ติดตั้งภายนอก, ธัมบ์ไดรฟ์, แฟลชไดรฟ์, การ์ดหน่วยความจำ และอื่นๆ) คิดเป็นสัดส่วน 29.31 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคเอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าสูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียจะมีมัลแวร์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ (มัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านทางอุปกรณ์แบบถอดได้) เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการติดเชื้อสูงสุด ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยจีนเป็นประเทศที่ได้รับการยกเว้น เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์สูงในด้านสปายแวร์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์ สาเหตุเป็นเพราะความนิยมของการเล่นพนันออนไลน์ในจีนมีจำนวนมากนั่นเอง มัลแวร์ที่มีการติดเชื้อในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสูงสุดในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา คือตัวดาวน์โหลดโทรจัน โดยโทรจันจะติดตั้งไฟล์ที่เป็นอันตรายอื่นๆ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะด้วยการดาวน์โหลดจากคอมพิวเตอร์ระยะไกลหรือด้วยการแอบทิ้งไว้โดยตรงจากสำเนาไฟล์ที่มีรหัสร้ายของโทรจันอยู่ นอกจากนี้ การติดเชื้อผ่าน IFrame ที่เป็นอันตราย (Inline Frame เป็นกรอบที่ใช้ในการออกแบบเว็บที่ได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถทำให้เอกสาร HTML หนึ่งเข้าไปอยู่ภายในเอกสาร HTML อีกชิ้นได้) ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมภายในภูมิภาคนี้ด้วย ภัยคุกคามสูงสุดของภูมิภาคอเมริกาใต้อาจแตกต่างในด้านรายละเอียดเนื่องจากภูมิภาคนี้กำลังมีการโจมตีแบบผสมหลายส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้น มีการพบมัลแวร์หลายตัวในพีซีซึ่งถูกทิ้งไว้โดยมัลแวร์อื่น เนื่องจากภัยคุกคามบนเว็บที่ซับซ้อนและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันแบบหลายชั้นและในเวลาจริง เพื่อจะได้แน่ใจถึงความปลอดภัยทางออนไลน์ ด้วยเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะของเทรนด์ ไมโคร หรือสมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค (Trend Micro Smart Protection Network) ที่ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร โดยใช้เทคโนโลยีตรวจสอบชื่อเสียง และประวัติเว็บไซต์ และอีเมลเปรียบเทียบภัยคุกคามที่พบกับฐานข้อมูลภัยคุกคามก่อนที่จะเข้าสู่เครือข่าย (in-the-cloud threat) และด้วยโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยของ Cloud-Client ที่มีรูปแบบเฉพาะจะช่วยให้ลูกค้าของบริษัท เทรนด์ ไมโครมีระบบป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตล่าสุดได้ในเวลาจริง ทำให้สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างเพลิดเพลินเต็มที่ สำหรับผู้บริโภคนั้น โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตของเทรนด์ ไมโคร (Trend Micro Internet Security Pro) จะช่วยตรวจสอบประวัติเว็บเพจ ปิดกั้นการเข้าถึงไซต์ที่เป็นอันตรายก่อนที่ผูใช้จะมีโอกาสเข้าถึงไซต์นั้นและเผลอให้ข้อมูลส่วนตัวหรืออาจดาวน์โหลดรหัสอันตรายที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลที่มีค่าอื่นๆ โดยที่ไม่รู้ตัว สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 02-439-4600 ต่อ 8202, 8300 อีเมล์: busakorns@corepeak, srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ