ASIAMONEY BROKERS POLL 2008 ยกให้ บล.ไซรัส เป็น BEST LOCAL BROKERS อันดับ 8 ของ ปท.ไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 5, 2009 08:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--ออสไลน์ แอสเซ็ท ASIAMONEY BROKERS POLL 2008 เปิดเผยผลสำรวจจากความเห็นของบรรดาฝ่ายลงทุนของประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งมีการตอบรับกลับมาทั้งสิ้น 1,740 แบบสอบถาม สำหรับประเทศไทยได้ยกให้ บล.ไซรัส เป็น BEST LOCAL BROKERS อันดับ 8 และหากแยกออกเป็นความเห็นจาก MEGA FUNDS จะอยู่ในลำดับที่ 5 และความเห็นจาก HEDGE FUNDS อยู่ในลำดับที่ 4 ASIAMONEY BROKERS POLL 2008 เปิดเผยผลการสำรวจในงาน Brokers Poll Asiamoney ประจำปี ครั้งที่ 19 ซึ่งได้ส่งบัตรเชิญเพื่อเข้าร่วมในการสำรวจ ให้กับหัวหน้าฝ่ายลงทุน เจ้าหน้าที่บริหารกองทุนอาวุโสและนักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส ของสำนักงานบริหารกองทุน บริษัททุนส่วนบุคคลและกองทุนประกันความเสี่ยง บริษัทประกัน และสำนักงานบริหารสินทรัพย์ ของประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งมีการตอบรับกลับมาทั้งสิ้น 1,740 แบบสอบถามจากประมาณ 1,000 สถาบันที่แตกต่างกัน รวมทั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ผลปรากฎว่า บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน) (SYRUS) ได้รับเลือกให้เป็น BEST LOCAL BROKERS ของประเทศไทยอันดับที่ 8 ในส่วนของ OVERALL และเมื่อแบ่งแยกออกมาเป็น MEGA FUNDS จะอยู่ในลำดับที่ 5 และความเห็นจาก HEDGE FUNDS อยู่ในลำดับที่ 4 ทั้งนี้ ก่อนเริ่มการสำรวจ ASIAMONEY ได้เตรียมรายการเป้าหมายของนักลงทุนสถาบันและบริษัทกองทุนประกันความเสี่ยง และคำตอบส่วนบุคคลภายในบริษัทเหล่านั้นเท่านั้นที่จะผ่านการพิจารณา ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบ ASIAMONEY ต้องพิสูจน์ว่าคำตอบที่ได้รับด้วยการสอบถามโดยตรงกับผู้ตอบ ทั้งนี้มี 180 คำตอบ ที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากการที่ชื่อของบริษัทไม่ได้อยู่ในรายการเป้าหมาย หรือเพราะไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ สำหรับสัดส่วนองค์ประกอบของสถาบันทั้งสิ้น 1,075 สถาบัน ประกอบไปด้วย ฮ่องกง 21.8%, อินเดีย 8.2%, อินโดนีเซีย 2.0%, ญี่ปุ่น 3.4%, เกาหลี 5.4%, มาเลเซีย 5.5%, อเมริกาเหนือ 11.2%, ยุโรป 6.7%, จีน 10.7%, ออสเตรเลีย 2.8%, ไทย 1.9%, ไต้หวัน 4.6%, สิงคโปร์ 14.7%, ฟิลิปปินส์ 0.4% และ อื่นๆ 0.7% แบบสอบถามครอบคลุมส่วนต่างๆ 15 ส่วน ดังนี้ ภูมิภาค ประกอบด้วย จีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ กองทุนประกันความเสี่ยง ประกอบด้วย ฮ่องกง, ญี่ปุ่น,ปากีสถาน,ไต้หวัน, ออสเตรเลีย, อินเดีย, เกาหลี, ฟิลิปปินส์ และ ไทย ด้านการคำนวณเพื่อให้คะแนน สำหรับทุกประเภท อันดับที่หนึ่งได้รับคะแนนโหวต 3 คะแนน ที่สองได้ 2 คะแนน และที่สามได้ 1 คะแนน โดย “หนึ่งบริษัท—หนึ่งโหวต” เพื่อหลีกเลี่ยงการที่สถาบันใดที่อิทธิพลมากกว่าสถาบันอื่นที่มีขนาดเท่ากัน คำตอบจะถูกแบ่งสัดส่วนตามจำนวนทั้งหมดที่ได้รับจากสถาบันหนึ่งๆ ทั้งนี้คำตอบแต่ละคำตอบจะถูกถ่วงน้ำหนักตามขนาดทรัพย์สินโดยประมาณของสถาบัน (กองทุนหลักทรัพย์เอเชียภายใต้การบริหาร) ในเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่น) ในประเทศออสเตรเลียหรือญี่ปุ่น (ขึ้นอยู่กับการจัดสรรเงินทุนของสถาบัน) ตารางข้างล่างแสดงรายละเอียดการถ่วงน้ำหนักตามขนาดของทรัพย์สิน (บริษัทกองทุนประกันความเสี่ยงได้ถ่วงน้ำหนักที่ 6 เท่าของทรัพย์สินเพื่อสะท้อนอัตราการหมุนเวียนที่สูง) การจัดอันดับสำหรับการวิจัยและการขายรวมในภาพรวม การวิจัยในภาพรวม และการขายในภาพรวมสำหรับการจัดอันดับของเอเชีย (ยกเว้นประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่น) ระบบการถ่วงน้ำหนักประเทศถูกใช้เพื่อเปรียบเทียบนายหน้าโดยรวมในภูมิภาค หลักการและเหตุผล ได้แก่ ความสำคัญของตลาดมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิภาค ดังนั้นคะแนนที่นายหน้าได้รับในตลาดหลักสมควรได้รับการถ่วงน้ำหนักมากกว่าคะแนนที่ได้รับในตลาดที่เล็กกว่า The MSCI AC Asia ex-Japan (ณ 31 พฤษภาคม 2551) ได้นำมาใช้เพื่อเป็นคู่มือในการจัดอันดับนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : จุฬารัตน์ เจริญภักดี (ฟ้า) 02-5549395 , 089-4888337

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ