ผลสำรวจเผยทัศนคติด้านบวกของธุรกิจทั่วโลกลดลงอย่างมาก ไทยติดลบที่ -63%

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 8, 2009 10:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย ทัศนคติด้านบวกในธุรกิจประเภทต่างๆ ทั่วโลกลดระดับถึง 56% ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดทัศนคติด้านบวก/ลบ ที่จัดทำโดยแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล (Grant Thornton International optimism/pessimism barometer) บันทึกผลดุลยภาพทัศนคติด้านลบที่ -16% เมื่อเปรียบเทียบกับ +40% ในระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2003 ของการสำรวจที่ทัศนคติด้านลบมีน้ำหนักมากกว่าทัศนคติด้านบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ ที่ได้สำรวจทัศนคติของธุรกิจจำนวนกว่า 7,000 รายจาก 36 กลุ่มเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงความเห็นส่วนใหญ่ที่เห็นพ้องกันว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจ และมุมมองต่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังมีความแตกต่างหลายประการ ในส่วนของประเทศผู้ค้า (Trading Nations) ที่ใหญ่ที่สุดสี่ประเทศนั้น ธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งมี GDP รวมกันกว่า 32% ของ GDP โลก1 ได้แสดงทัศนคติด้านบวกที่ -34% และ +30% ตามลำดับ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและอินเดีย (มี GDP รวมกันกว่า 11% ของ GDP โลก) ได้แสดงทัศนคติด้านบวกที่ -85% และ +83% ตามลำดับเช่นเดียวกัน มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการอาวุโส แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า “ผลการสำรวจทัศนคติที่แตกต่างกันแบบสุดขั้วดังกล่าวบ่งชี้ว่ายังคงมีความหวังอยู่ในตลาดโลก ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ธุรกิจทั้งหมดอยู่ระหว่างการเตรียมพร้อมสำหรับสภาวะเศรษฐกิจขาลงที่ยาวนานนั้น ธุรกิจในเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตยังคงมีทัศนคติด้านบวกและมองว่าช่วงเวลานี้อาจเป็นช่วงเวลาสำหรับโอกาสที่แท้จริงก็เป็นได้” แม้ว่าผลจากการสำรวจจะมีทัศนคติด้านลบ แต่ก็พบว่าธุรกิจต่างๆ จาก 11 ประเทศยังมีทัศนคติด้านบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจของตน โดยมีอินเดีย (+83%) บอตสวานา (+81%) และบราซิล (+50%) อยู่ในอันดับต้น ในขณะที่ญี่ปุ่น (-85%) และสเปน (-65%) มีทัศนคติด้านลบสูงสุด ทั้งนี้ การพลิกผันของทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดนั้นพบในฮ่องกง ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากทัศนคติด้านบวกที่ +81% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็น -49% ในปัจจุบัน โดยปัจจัยของปัญหานั้นคือการเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินที่ประสบวิกฤตมากที่สุดแห่งหนึ่ง และยังมีการค้าขายกับประเทศทั้งในฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างมากอีกด้วย จากการสำรวจชี้วัดทัศนคติด้านบวก/ลบ หากมองในแง่ของภูมิภาคแล้ว สหภาพยุโรปได้ก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มีทัศนคติด้านลบสูงที่สุดที่ -38% ในขณะที่ทั้งละตินอเมริกา (+11%) และเอเชียแปซิฟิก (+3%) ได้แสดงถึงทัศนคติด้านบวก แม้ว่าอยู่ในระดับลดลงจากปีที่ผ่านมาก็ตาม ทางด้านประเทศไทย ผู้ประกอบการยังคงมีทัศนคติด้านบวกในทิศทางขาลง จาก +30% เมื่อปี 2007 ลดลงเหลือ -30% เมื่อปี 2008 และอยู่ที่ -64% ในต้นปี 2009 มีเพียงญี่ปุ่นและสเปนเท่านั้นที่ทัศนคติด้านบวกอยู่ในระดับต่ำกว่าไทย โดยปีเตอร์ วอล์คเกอร์ ให้ความคิดเห็นว่า “ระดับของทัศนคติที่ลดลงดังกล่าวนั้นไม่น่าแปลกใจเมื่อมีทั้งปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกที่หนักเป็นสองเท่า ทั้งยังมีปัจจัยเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศ การสำรวจฉบับล่าสุดนี้จัดทำขึ้นทันทีหลังจากเกิดการปิดล้อมสนามบิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจทั่วทั้งประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์” เมื่อสอบถามว่าปัจจัยหนึ่งเดียวปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดความน่ากังวลใจที่สุดสำหรับธุรกิจ ธุรกิจต่างๆ ใน 33 ประเทศจาก 36 ประเทศระบุว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลงเป็นปัญหาที่น่ากังวลใจที่สุด ตามด้วยปัญหาเครดิตทางธุรกิจ สำหรับในประเทศไทย ปัญหาอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลงมีน้ำหนักมากกว่าปัญหาอื่นๆ ในมุมมองของผู้ประกอบการ โดยปีเตอร์ วอล์คเกอร์เพิ่มเติมว่า “หากผู้นำทางการเมืองมีข้อสงสัยว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและริเริ่มการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในสาธารณูปโภคหรือไม่ ผลการสำรวจที่เป็นเอกฉันท์จากผู้ประกอบการฉบับนี้ควรจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้” ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กล่าวสรุปว่า “เป็นเรื่องง่าย หากเราจะหยุดธุรกิจอยู่กับที่เนื่องจากกระแสเศรษฐกิจที่ยังเป็นปัญหาและข่าวทางการเมือง แต่ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องการความเป็นผู้นำที่เข็มแข็งและชัดเจน แกรนท์ ธอร์นตันจึงบอกกับลูกค้าของเราให้เร่งดำเนินการอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดในการปกป้องธุรกิจของตนในระยะสั้น แต่ให้คงความกล้าและพัฒนากลยุทธ์สำหรับระยะยาว สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นช่วงเวลาที่ดีในการนำความสามารถส่วนเกินออกมาใช้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเตรียมพร้อมต่อเศรษฐกิจขาขึ้นที่จะต้องมาถึงในที่สุด ธุรกิจที่ดำเนินการอย่างชาญฉลาดจะเติบโตเป็นผู้นำทางธุรกิจในอนาคต และในไม่ช้าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและองค์ประกอบต่างๆ ทางการค้าในรูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น แต่ว่าอาจจะดูแล้วแตกต่างจากรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างมาก” ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.grantthornton.co.th. ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการอาวุโส ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย T +66 (0)2 205 8250 E peter.walker@gt-thai.com ลักษณ์พิไล วรทรัพย์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย T +66 (0)2 205 8142 E lakpilai.worasaphya@gt-thai.com คริสทีน โฮบาร์ท ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารนานาชาติ T +44 (0) 20 7391 9548 M +44 (0) 79 0005 2240 E christine.hobart@gtuk.com

แท็ก เนชั่น  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ