ชาวเอเชียได้รับคุณประโยชน์นานัปการจากโครงการริเริ่มของผู้ที่ได้รับรางวัลโรเล็กซ์อวอร์ดอันทรงเกียรติ

ข่าวทั่วไป Thursday June 15, 2006 13:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
ประเทศไทยได้รับผลตอบแทนอันล้ำค่าจากความพยายามริเริ่มโครงการต่างๆจากผู้ได้รับรางวัลฯ
ในปีนี้ เป็นปีแห่งการครบรอบ 30 ปี นับตั้งแต่การแจกรางวัลโรเล็กซ์อวอร์ดอันทรงเกียรติได้ริเริ่มขึ้นมา ในเดือนตุลาคม 2549 นี้ทางโรเล็กซ์ จะจัดงานครบรอบ 30 ปี เพื่อเฉลิมฉลองทศวรรษที่สามของการแจกรางวัลฯ และเป็นงานประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลห้าท่านประจำปี 2549 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์
รางวัลต่างๆ จะได้รับมอบให้กับบุคคลผู้ที่สร้างความก้าวหน้า คิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ เผยแพร่ความรู้ ซึ่งต้องเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ โดยจะมอบให้ทั้งชายและหญิงทั่วโลก ผู้มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ปัจจุบัน ผู้ได้รับรางวัลมีจำนวน 10 ท่าน ซึ่งล้วนแล้วแต่มาจากทวีปเอเชีย ปัจจุบัน ชุมชนมากมายทั่วภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลตอบแทนนานัปการจากความพยายามริเริ่มโครงการอันก่อเกิดประโยชน์จากกลุ่มคนที่มีจินตนาการริเริ่มสิ่งดีๆให้กับสังคม
ในจังหวัดตรังของประเทศไทย นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ (ผู้ได้รับรางวัลโรเล็กซ์ ปี 2547) ริเริ่มโครงการรณรงค์อนุรักษ์ตัวพะยูนไม่ให้สาบสูญมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ เขาสอนชาวบ้านให้รักพะยูน และเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้านเหล่านี้ในโครงการต่างๆ เพื่อที่จะฟื้นฟูถิ่นที่อยู่พะยูนทางชายฝั่งทะเล เขาทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อที่จะฟื้นฟูการปลูกต้นโกงกางของจังหวัดตรังขึ้นมาอีกครั้ง และเพื่อที่จะปกป้องหญ้าทะเลที่พะยูนกินเป็นอาหาร
ความพยายามของคุณพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ได้รับสิ่งตอบแทนมาอย่างคุ้มค่า จำนวนตัวพะยูนเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟู และพะยูนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแวดล้อมทางชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรังที่ได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อไม่นานมานี้ มหันตภัยสึนามิพัดถล่มชายฝั่งทะเลประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2547 ผลกระทบของจังหวัดตรัง ที่คาดว่าน่าจะเสียหายมาก แต่มันก็ไม่เสียหายมากตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากต้นโกงกางที่ปลูกขึ้นมาใหม่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันสามารถช่วยลดความรุนแรงของคลื่นยักษ์สึนามิ อีกทั้งยังช่วยชีวิตมนุษย์ และเป็นเกราะป้องกันชุมชนตรังจากคลื่นยักษ์ นอกจากนี้ ทั้งๆที่ปะการังถูกทำลายไปมาก แต่ก็ไม่มีพะยูนตายเลยสักตัว
“พะยูนถือเป็นสัตว์ที่มีผลต่อวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อของประเทศไทย — เราเรียกพะยูนถึงสามชื่อด้วยกัน! ชื่อแรกก็คือพะยูน ตามที่ทุกคนรู้จักกันดี ชื่อสองคือนางเงือก มาจากตำนานนิทานพื้นบ้านและดูยุง ชื่อมาเลย์ที่ใช้เรียกพะยูน เป็นที่รู้จักเฉพาะคนในแถบภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น ผมรู้สึกปลาบปลื้มที่ในฐานะคนในประเทศชาติ เรามิอาจปล่อยให้ตัวพะยูนสาบสูญไปจากชายฝั่งทะเลของเรา เราเริ่มโครงการไปอย่างช้าๆแต่มั่นคงแน่วแน่ ความพยายามของเราได้รับสิ่งตอบแทนมาอย่างน่ายินดี ผมคิดว่าการเข้าไปเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนที่มีต่อพะยูนน่าจะเป็นการเริ่มที่ดี นั่นคือให้ประชาชนเกิดความรักในตัวพะยูน ผมมั่นใจมากว่าพะยูนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของเราจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างแน่นอน” คุณพิศิษฐ์ กล่าว
คิคูโอะ โมริโมโต้ (ผู้ได้รับรางวัลโรเล็กซ์ปี 2547) เป็นช่างฝีมือย้อมผ้ากิโมโนในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เขาย้ายไปอยู่ในประเทศไทยช่วงปี 2523 เพื่อทำงานเป็นผู้สอนการย้อมผ้าในท้องถิ่นของบริษัทสิ่งทอแห่งหนึ่ง ขณะที่อยู่ในประเทศไทย โมริโมโต้สอนชาวบ้านในชนบทถึงเทคนิคการย้อมผ้าทอมือโดยใช้ธรรมชาติ เขาใช้เวลาหลายปีอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อทำงานกับโครงการการย้อมสีอย่างธรรมชาติและการทอผ้าไหม รวมไปถึงการทำงานกับคนทอผ้าชาวเขมร (เชื้อชาติกัมพูชา) ที่อยู่ในภูมิภาคนี้
ช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย โมริโมโต้รู้สึกประทับใจมากตอนที่เขาเห็นเทคนิคการจัดการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งถูกประยุกต์ให้เข้ากับอุตสาหกรรมและการทำงานศิลปะพื้นบ้านด้วยมือ เขาได้แรงดลใจมากจนลาออกจากงาน เพื่อเริ่มงานในองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลในกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยากจนแร้นแค้นให้ผลิตผ้าไหมขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง โมริโมโต้ ได้รับตัวไหมจากประเทศไทยเพื่อช่วยแนะนำการเลี้ยงตัวไหม ไปจนถึงขั้นตอนของการเลี้ยงตัวไหมและผลิตเส้นไยไหมทั่วภูมิภาค
“ผมเป็นหนี้บุญคุณต่อประเทศไทยอย่างล้นเหลือ เนื่องจากเวลาหลายปีที่ผมใช้เวลาทำงานในชุมชนชนบทในประเทศไทย ทำให้ผมได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยชาวบ้านกัมพูชา หากปราศจากความรู้ที่มีคุณค่าที่ผมได้มาจากประเทศไทย ผมคงพัฒนาเรื่องทอผ้าไม่ได้ นอกจากนี้ เราต้องพึ่งพาประเทศไทยเรื่องวัตถุดิบสำคัญ ซึ่งก็คือตัวไหม ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นสองประเทศช่วยเหลือเรื่องนี้ด้วยกัน” โมริโมโต้ กล่าว
ประเทศไทยยังช่วยกัมพูชาในอีกเรื่อง นั่นคือ วัตถุดิบผ้าทอย้อมของชาวกัมพูชา โดยใช้สีพื้นฐาน 5 สี ได้แก่ สีเหลือง แดง เขียว น้ำเงิน และดำ และผ้าที่ย้อมโดยใช้สีทอสีแดงได้มาจากรังของแมลงที่เรียกว่า “ครั่ง” ปัจจุบัน ประเทศไทย เป็นประเทศหลักสำหรับการเพาะพันธุ์แมลงครั่ง ในความเป็นจริง ปัจจุบัน แมลงครั่งเป็นหนึ่งในสิบของสินค้าส่งออกหลักในประเทศไทย
“หนึ่งในความมุ่งหวังของรางวัลโรเล็กซ์ คือการกระตุ้นให้ผู้คนลองคิดถึงชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่” คุณรีเบ็คก้า เออวิ่น ผู้อำนวยการงานมอบรางวัลเกียรติยศโรเล็กซ์ กล่าว “มันสำคัญมากที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงคุณค่าของชุมชนที่เขาอยู่ ไม่เพียงแต่ปกป้องทรัพยากรที่มีค่าเท่านั้น แต่พวกเขาจำเป็นต้องปลูกฝังคนในชุมชนที่อยู่แวดล้อมทรัพยากร รวมถึงปลูกฝังทัศนวิสัยให้คนในชุมชนร่วมแรงร่วมใจด้วยกัน เรามีแรงดลใจอย่างหนึ่งคืออยากเห็นชุมชนต่างๆ ในเอเชีย ได้รับผลตอบแทนจากคุณประโยชน์ที่มาจากความบากบั่นและจิตวิญญาณที่ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ของผู้ที่ได้รับรางวัลโรเล็กซ์อันทรงเกียรติของเรา”
รางวัลโรเล็กซ์อวอร์ด อันทรงเกียรติเป็นรางวัลสำหรับบุคคลที่มีความคิดเป็นนวัตกรรมใหม่ และสร้างสรรค์ โครงการที่มีประโยชน์ ซึ่งจะต้องสร้างผลกระทบด้านบวกต่อมนุษยชาติ รางวัลดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผู้ชนะทั้ง 5 ท่าน หรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติ แต่ละท่านจะได้รับนาฬิกาโรเล็กซ์สลักชื่อผู้ชนะลงบนตัวเรือนอันล้ำค่า และเงินรางวัล 100,000 เหรียญดอลลาร์ฯ (หรือ 4 ล้านบาทโดยประมาณ) เพื่อให้รางวัลในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับโลกของเรา ทางโรเล็กซ์จึงต้องการให้ผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ นำเงินที่ได้ไปสานต่อโครงการหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ได้นำเสนอเข้ามา
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rolexawards.com
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณฤทัยวรรณ ตันวงษ์วาน
บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร 02 260 5820 ต่อ 114 แฟกซ์ 02 260 5847-8 อีเมล์ tqprthai@tqpr.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ