หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมเนื่องในงานนิทรรศการ กรุงเทพฯ 226

ข่าวทั่วไป Wednesday January 14, 2009 15:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--หอศิลปวัฒนธรรมฯ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงานนิทรรศการ กรุงเทพฯ 226 ศิลปินเสวนา เสาร์ที่ 17 ม.ค.52 นี้ เวลา 14.00 — 16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 7 โดย 4 กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ ประกอบด้วย This Design Co.,Ltd, Apostrophy'S, phd Studio และ S+PBA จะมาร่วมเสวนาเบื้องหลังและแนวคิด การสร้างโมเดล "กรุงเทพฯ 2625" ที่นำเสนอภาพ เมืองกรุงเทพฯ ใน 73 ปีข้างหน้า ซึ่งจัดแสดงอยู่บริเวณโถงบันไดชั้น 8 โซน "กรุงเทพฯ ในฝัน" แต่ละกลุ่มสร้างโมเดลขนาด 1 x 1 เมตร โดยเลือกพื้นที่ บริเวณ ดินแดง, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สยามแสควร์และ คลองเตย แล้วนำมาต่อกัน เพื่อนำเสนอกรุงเทพฯ ในอนาคต ตามจินตภาพของแต่ละกลุ่ม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ที่ จุดลงทะเบียนชมนิทรรศการ หรือที่คุณปาริชาติโทร 086 500 1922 หรือ โทร 02 214 6630 ดีสดีไซน์ (This Design Co.,Ltd.) "ดินแดง 300" พศ. 2625ประชากรในกรุงเทพมหานคร 40 ล้านคน น้ำมันหมดจากโลกไปแล้ว ทุกคนใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง ผู้คนยังใช้รถยนต์ส่วนบุคคลกันอย่างกว้างขวางเหมือนเดิม ทางด่วนขั้นที่ 30 เปิดทำการซ้อนกันเป็นชั้นที่ 7 สูงที่สุดในโลก โครงการเมกะโปรเจ็คสมัยต้นศตวรรษไม่คืบหน้าไปมากนักเนื่องจากปํญหาคอรัปชั่น รัฐบาลรื้อฟื้นโครงการบ้านเอื้ออาธรด้วยการสร้างซ้อนกันขึ้นไปในที่สูง ห้องที่สูงที่สุดอยู่ที่ชั้น 250 สูงจากพื้น 800 เมตร ในขณะที่อาคารที่สูงที่สุดในกรุงเทพสูง 1,500 เมตรสูงติดอันดับ 3 ของโลก คนกรุงเทพฯยังมีนิสัยรักสนุกเช่นเดิม… พีเอชดีสตูดิโอ (phd Studio) เมืองกลับด้าน, 2551 "เมืองกลับด้าน" เป็นการตอบคำถามของความขัดแย้งในทิศทางการพัฒนาของเมือง ระหว่างแนวคิดขั้วตรงข้ามใดๆ เช่น ความมีระเบียบกับความยุ่งเหยิง, กระจายตัวกับการรวมศูนย์, ความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะ, ความความหรูหรากับความเรียบง่าย ฯลฯ …… สำหรับกรุงเทพ ปัญหาพื้นฐานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่เมืองเติบโตอย่างไม่มีผัง "เมืองกลับด้าน" เป็นวิธีในการวางผังลงไปใหม่โดยที่เข้าไปรบกวนกับพื้นที่ดินน้อยที่สุด และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้โดยลักษณะเมืองเดิม ก็จะถูกชดเชยได้จากเมืองใหม่… อะโพสโตรฟี้เอส (Apostrophy'S) กรุงเทพฯ ปอกเปลือก (Bangkok Unwarp) อะโพสโตรฟี้เอส ต้องการนำเสนอ กรุงเทพฯในอนาคต ที่มีโครงสร้างซ้อนทับกันจากอดีตถึงปัจจุบัน และอนาคต โมเดลประกอบด้วยส่วนประกอบอิดลคโทรนิคส์ใช้แล้ว แผ่นเมนบอร์ดเก่า สายไฟ วงจรไฟฟ้า และหลอดไฟ LED ทั้งหมดประกอบขึ้นเป็น พื้นที่ของการเชื่อมต่อ ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับงานด้วยการถอดปลั๊ก เชื่อมต่อบางส่วนของโครงสร้าง เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างเชิงการเมือง สังคมและวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เอส พลัส พีบีเอ (S + PBA ) กรุงเทพฯ 2625 กรุงเทพฯ เป็นเมืองใช้แล้วทิ้ง เหมือนกระดาษทิชชู่ กระดาษชำระ ที่คนต่างถิ่นที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ เข้ามาประกอบอาชีพ ทำมาหากิน แล้วก็จากไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ Bangkok Art&Culture Centre 939 Rama 1 Rd., Wangmai Pathumwan Bangkok 10330 Tel.02-214-6630-1 Fax.02-214-6632

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ