แนวโน้มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ภายใต้วิกฤตการเงินโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 19, 2009 15:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นายจอห์น คาลเวอร์ลีย์ หัวหน้าสำนักวิจัย ประจำภูมิภาคอเมริกาเหนือ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โตรอนโต - เศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างหนักต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2552 และจะค่อยๆเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง - สหรัฐดำเนินนโยบายผ่อนคลายอย่างแข็งกร้าว โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงเกือบเป็นศูนย์ ตลอดจนมาตรการทางการคลังใหม่ๆอีกหลายอย่างจากประธานาธิบดีโอบามา เพื่อฉุดเศรษฐกิจสหรัฐจากภาวะตกต่ำ - ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสหรัฐในขณะนี้จัดว่ารุนแรงมาก โดยเฉพาะการล่มสลายของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และความตึงตัวของระบบการเงิน - ปัญหาที่สหรัฐเผชิญอยู่คล้ายคลึงกับวิกฤติในไทยเมื่อปี 2540-41 แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างมากคือ สหรัฐไม่ได้เกิดวิกฤติค่าเงิน - ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังลุกลามไปถึงยุโรปและญี่ปุ่น และหลายๆประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามอย่างรุนแรงตามไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกพร้อมๆกันครั้งรุนแรงที่สุดตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 - แต่ทันใดที่ปัญหาในสหรัฐเริ่มคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติและเริ่มฟื้นตัว เอเชียก็น่าจะดีขึ้นตาม - เอเชียโดยทั่วไป มีปัญหาทางด้านโครงสร้างน้อยกว่าสหรัฐ ดังนั้นจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างแข็งแกร่งในปี 2553 ทิศทางค่าเงินสกุลหลักในปี 2552 โดยนายคัลลัม เฮนเดอร์สัน ผู้อำนวยการและหัวหน้ากลยุทธ์เงินตราต่างประเทศ สำนักวิจัย กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ - การดึงเงินกลับ และการลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ - ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แคบลงเมื่อเทียบกับสหรัฐ เช่นการลดดอกเบี้ยอีกในยุโรป จะมีส่วนหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนของญี่ปุ่นให้แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ - คาดว่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าจะเริ่มทรงตัวไตรมาสที่สอง และอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งปีหลัง ทิศทางค่าเงินเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น - ค่าเงินเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นยังคงเผชิญแรงกดดันที่จะอ่อนค่าเนื่องจากนักลงทุนยังคงใช้ความระมัดระวังที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาค - ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ริงกิตมาเลเซีย ดอลลาร์ใต้หวัน เงินบาทของไทย และเงินดองเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง แต่จะอ่อนค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆในภูมิภาค - เงินหยวนของจีนน่าจะค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่อ่อนค่าเมื่อพิจารณาจากดัชนีถ่วงน้ำหนักที่เปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า - ค่าเงินวอนของเกาหลี รูปีของอินเดีย เปโซฟิลิปปินส์ และรูเปี๊ยะห์อินโดนีเซีย จะมีแนวโน้มอ่อนค่ามากโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะในไตรมาสที่สองของปี 2552 แนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียและไทยในปี 2552 โดยนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) แนวโน้มเศรษฐกิจเอชีย - คาดว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะเติบโตช้าลงในปี 2552 - ในขณะที่เศรษฐกิจในหลายๆประเทศในเอเชียจะหดตัวในช่วงครึ่งปีแรกของ 2552 จากการที่ภาคส่งออกเติบโตติดลบ ส่งผลให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย แต่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของ 2552 - อัตราการเติบโตของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป โดยจะขึ้นอยู่กับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นหลัก - อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงจะเปิดช่องให้มีการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจไทย - เทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 วิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐ จะมีผลกระทบในวงจำกัดต่อภาคการธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ของไทย - อย่างไรก็ดี วิกฤตครั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคส่งออก การท่องเที่ยว และภาคเกษตร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย - ปัญหาการว่างงานมีโอกาสที่จะรุนแรงกว่าวิกฤตการณ์ครั้งก่อน - การผ่อนคลายนโยบายการเงิน คาดว่า จะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดต่ำลงกว่าวิกฤตการณ์ครั้งก่อน จากความเสี่ยงของภาวะเงินฝืดที่เพิ่มขึ้น - การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดว่าจะสูงขึ้นในปี 2552 จะทำให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สุพัตรา เวชศาสตร์ แผนกองค์กรสัมพันธ์ โทร: 02 724 8022 แฟกซ์: 02 724 8018 supattra.wetchasart@standardchartered.com เว็บไซต์กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด www.standardchartered.com เว็บไซต์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) www.standardchartred.co.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สุพัตรา เวชศาสตร์ โทร. 02-724-8022

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ