กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--สกว.
สินค้าแต่ละอย่าง ชิ้นส่วนนี้ผลิตที่นั่น ชิ้นส่วนนั้นผลิตที่นี่ แล้วมันดี/ไม่ดีกับประเทศเราอย่างไร? ทุกท่านคงทราบกันดีว่า สมัยนี้สินค้าหลายอย่างแยกชิ้นส่วนกันผลิตจากแต่ละที่ (หรือแต่ละประเทศ) แล้วค่อยนำมาประกอบกันเพื่อจำหน่าย วิธีนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเชื่อแน่ว่าจะมีการขยายตัวต่อไป
“ปรากฏการณ์การแบ่งขั้นตอนการผลิตสินค้า” (Product Fragmentation Phemomenon) มีชื่อเรียกต่างๆ กันไป บ้างก็เรียกว่า global production network บ้างก็ว่ามันคือ outsourcing แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ที่แน่ๆ สินค้าในกลุ่มที่มีการผลิตแบบนี้ เป็นสินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด แล้วไทยเราล่ะ อยู่ใน trend นี้กับเขาไหม? มีสินค้าใดอยู่แล้วบ้าง?
ผศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็สงสัยเช่นเดียวกัน จึงลงมือศึกษา และอาจารย์มีคำตอบให้กับคำถามสำคัญๆ อาทิ Product Fragmentation ของไทยขณะนี้เป็นอย่างไร? (รูปแบบ, ลักษณะ, เกิดในสินค้าใด มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง) ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เรามีกับประเทศต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อเราหรือไม่ ทำให้เรา เข้าไปอยู่ในเครือข่าย product fragmentation ได้ดีขึ้นไหม? ASEAN +3 ดีกับเราจริงหรือเปล่า? ตกลงเราต้องกลัวจีนไหม? ถ้าตลาดและแรงงานจีนเข้ามาในเครือข่ายนี้แล้ว จะทำให้เราเสียหายไหม เป็นต้น
เชิญท่านพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ อันเป็นผลจากการศึกษาเรื่อง “ปรากฏการณ์การแบ่งขั้นตอน-การผลิตสินค้า”
(Product Fragmentation Phenomenon: PFP) ของอาจารย์อาชนันได้ ในวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 52 นี้ เวลา 13.30 -16.00 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สกว.
ฉัตร์ทิพย์ ภูสกูล
เจ้าหน้าที่สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
979/17-21 ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์
ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
โทร. (02) 278 - 8298, มือถือ (089) 499 - 8208
แฟ็กซ์ (02) 298 - 0454 อีเมล์ : chatthip@trf.or.th
เชิญสืบค้นผลงานวิจัยของ สกว. ได้ที่ http://elibrary.trf.or.th