กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--คต.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2551 ที่ประชุม REACH Competent Authorities (CA) Meeting ของประเทศสมาชิก EU ที่ได้จัดขึ้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ภายหลังการปิดรับการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้า พบว่า มีบริษัทยื่นจดทะเบียนฯ ผ่านบริษัทใน EU ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้า, Subsidiary, หรือ OR มีจำนวนมากกว่า 65,000 บริษัท โดยครอบคลุมสารเคมีประมาณ 150,000 รายการ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้แผนงาน Substance Information Exchange Forum หรือ SIEFs อาจจะมีมากถึง 150,000 SIEFs ดังนั้นการจดทะเบียนสารเคมีร่วมกันอาจยากต่อการปฏิบัติ และสำหรับรายชื่อสารเคมีที่ได้ประกาศเมื่อ 19 ธันวาคม 2551 เป็นเพียง Preliminary List เท่านั้น ส่วนฉบับสมบูรณ์จะประกาศอีกครั้งภายหลังได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
2. ข้อยกเว้นในการจดทะเบียนสารเคมีทั้ง 4 กรณีได้แก่ (1.) Reimported Substance ตามมาตรา 2.7.c (2.) Recovered Substances ตามมาตรา 2.7.d (3.) โมโนโพลิเมอร์ ตามมาตรา 6.3 และ (4.) สารเคมีในตัวสินค้า ตามมาตรา 7.6 ซึ่งหน่วยงาน ECHA ได้ตีความข้อกำหนดในเรื่องนี้ว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้กับกรณีการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้า แต่ใช้กับการไม่จดทะเบียนสารนั้น นอกจากนี้บริษัทที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนล่วงหน้าไปแล้ว และมีความไม่แน่ใจว่าสารเคมีนั้นได้จดทะเบียนภายในกำหนดหรือไม่ จึงทำให้มีจำนวนการจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้าผ่าน Supply Chain เพิ่มขึ้นมาก (Double Pre-Registration) และในกรณีของเครื่องสำอางที่ใช้สารเคมีชนิดใหม่นั้นยังเป็นสินค้าที่มีข้อสับสนและยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดในการจดทะเบียนสารเคมีดังกล่าว
3. รายชื่อสารเคมีที่อยู่ใน Candidate List ชุดแรกที่ได้ประกาศไปแล้ว เมื่อ 28 ตุลาคม 2551 จำนวน 15 รายการจัดเป็นสารที่มีความน่าเป็นกังวลอย่างมาก จะต้องผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมข้อเสนอเพื่อบรรจุใน Annex XIV เพื่อให้มีสถานะเป็น Authorization List ซึ่งต้องรอการพิจารณาให้ความเห็นของประเทศสมาชิก EU ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ 14 มกราคม 2552 นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ ECHA จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร Annex XV Dossiers 5 รายการ เพื่อจะได้พิจารณาร่วมกับแฟ้มข้อมูลที่ส่งเข้ามาใหม่ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 และหากเข้าข่ายสารที่มีความน่ากังวลสูง (SVHCs) ก็จะรวมไว้ในรายชื่อสาร Candidate List ชุดต่อไปในเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งข้อคิดเห็นไปที่ Jack DE BRUIJN@echa.europa.eu
4. คณะกรรมาธิการฯ จะนำข้อกำหนดการลงโทษกรณีการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ REACH ได้ทัน 1 ธันวาคม 2551 โดยจะนำข้อกำหนดของประเทศสมาชิก EU ทั้ง 15 ประเทศมาศึกษา เปรียบ เทียบและจะนำเสนอผลการศึกษาในการประชุม CA ประมาณเดือนมิถุนายน 2552 และคาดว่าจะทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จราวสิ้นปี 2552
5. คณะกรรมาธิการฯ ได้มีการปรับคู่มือในหัวข้อ OR และได้จัดพิมพ์ร่างคู่มือสำหรับ Annex V เรื่อง Exemptions from Registration และเรื่อง Waste and Recovered Substances โดยได้เผยแพร่ทางเว็บไซท์ไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการเพื่อทบทวนคู่มือเรื่องสารเคมีที่อยู่ในสินค้า (Substance in Articles) ซึ่งจะเน้นสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่และสินค้าที่มีความซับซ้อน (Spare Parts and Complex Articles) ในเดือนมกราคมและคาดว่าจะสิ้นสุดเดือนตุลาคม 2552 หลังจากนั้นจะเผยแพร่คู่มือเรื่องนี้อย่างย่อในเว็บไซท์ของ ECHA ก่อนในช่วงต้นปี 2552 ขณะนี้คณะกรรมการ REACH CA ได้เห็นชอบเอกสาร “ Nanomaterials in REACH ” ซึ่งได้อธิบายการใช้ระเบียบ REACH กับวัสดุนาโนและจะนำมาเผยแพร่ทางเว็บไซท์ต่อไป
6. ระเบียบใหม่ว่าด้วยการจัดจำแนกและปิดฉลากสารเคมีและบรรจุหีบห่อสารเคมี (CLP Regulation) จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศ 20 วัน โดยได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสำหรับการจัดจำแนกสารเคมีภายใน 1 ธันวาคม 2553 และภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 สำหรับการจำแนก Preparations นอกจากนี้การปรับแก้ไขระเบียบใหม่ตามความก้าวหน้าทางเทคนิคครั้งแรก (1st APT: Adaption to Technical Progress) จะประกาศได้ในเดือนมีนาคม 2552 โดยจะรวบรวมสารเคมีทั้งหมดตามประกาศ ATP ครั้งที่ 30 และ 31 ของคำสั่งว่าด้วยสารเคมีอันตราย (Dangerous Substance Directive: DSD)
ทั้งนี้ หน่วยงาน ECHA ได้แต่งตั้งนาย Andreas Herdina เป็น Director of Cooperation มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสามารถติดต่อได้ที่ Herdina@echa.europa.eu สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจสามารถศึกษารายละเอียดระเบียบ CLP ได้ที่เว็บไซท์: http://eur-lex- europa.eu/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:353:0001:1355:EN:PDF และ http://eur-lex- europa.eu/ LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:354:0060:0061:EN:PDF