ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้มีสิทธิบัตรผลงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน พร้อมชี้ทางยกระดับคุณภาพสิทธิบัตร

ข่าวทั่วไป Monday January 16, 2006 13:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
The United States Patent and Trademark Office (USPTO) ได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิบัตรผลงานมากที่สุด รายงานประจำปีฉบับนี้ว่าไอบีเอ็มเป็นบริษัทที่มีสิทธิบัตรผลงานถึง 2,941 ชิ้น ซึ่งมากเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ และไอบีเอ็มครองตำแหน่งนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 13 แล้ว
พร้อมกันนี้ ไอบีเอ็มได้ประกาศโครงการริเริ่มที่ได้ร่วมมือกับ USPTO, Open Source Development Labs (OSDL) สมาชิกกลุ่มสนับสนุนซอฟค์แวร์โอเพ่นซอร์ส และกลุ่มนักวิชาการ เพื่อจะสร้างแนวทางปรับปรุงคุณภาพผลงานสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา การจับมือร่วมกันระหว่างองค์กรและกลุ่มผู้สนับสนุนนี้จะช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมในสหรัฐฯ
โครงการนำร่องนี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบสามส่วน คือ
บททบทวนสิทธิบัตรโอเพ่นแสตนดาร์ด
แผนงานนี้มุ่งเน้นไปที่การทบทวนพิจารณาของสมาคมโอเพนแสตนดาร์ดในเรื่องกระบวนการสิทธิบัตรเพื่อที่จะหาทางยกระดับคุณภาพการตรวจสอบผลงานสิทธิบัตร โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เข้าเยี่ยมชม USPTO เว็บไซท์ได้กำหนดคุณสมบัติการค้นหาสิทธิบัตรและสมัครเป็นสมาชิกเพื่อขออีเมลข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวกับสิทธิบัตรที่ต้องการค้นหา โปรแกรมนี้จะช่วยกระตุ้นโอเพ่นซอร์สคอมมิวนิตี้ให้ความคิดเห็นตอบกลับสำนักงานเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการจดทะเบียน
ให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
โครงการนี้จะสร้างความสำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สให้มีฐานะเป็นภูมิความรู้ (Prior Art) ที่มีสิทธิได้การคุ้มครองตามกฎหมาย OSDL,Novell, Red Hat, SourgeForge.net ของ VA software และไอบีเอ็มได้ร่วมมือกันสร้างระบบที่จะทำให้สามารถค้นหาคอมพิวเตอร์โค้ดต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร และสาธารณชนได้เห็นว่าสิทธิบัตรนั้นๆ จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมซอฟต์แวร์จริงๆ ดูรายละเอียดได้ที่ http://developer.osdl.org/dev/priorart
ดัชนีคุณภาพผลงานสิทธิบัตร
โครงการริเริ่มนี้จะสร้างดัชนีที่มีมาตรฐานสามารถวัดผลได้แบบตัวเลขเพื่อประเมินคุณภาพของผลงานสิทธิบัตรทั้งที่จดทะเบียนไปแล้วกับที่กำลังรอการจดทะเบียน โครงการนี้ซึ่งมีไอบีเอ็มเป็นผู้สนับสนุนหลัก นำโดยศาสตรจารย์ อาร์ โพลค์ เวคเนอร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ดัชนีนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากจากโอเพ่นซอร์สคอมมิวนิตี้ นำมาทำเป็นงานวิจัยทางสถิติ และจะพัฒนาเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และ USPTO ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www. patentqualityidex.org
“ การร่วมมือกันระหว่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผู้ค้า ผู้บริโภค และภาครัฐบาลในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิทธิบัตร จะช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายสำหรับธุรกิจ และ นักพัฒนาซอฟ์แวร์โอเพ่นซอร์ส” ไดแอน พีเตอส์ ที่ปรึกษาทั่วไปของ OSDL กล่าว “ OSDL มีความยินดีอย่างมากที่จะได้ร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อร่วมขยายผลในการทำโครงการริเริ่มนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ และ ความมั่นใจในลินุกส์ และ เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สมากขึ้น”
ไอบีเอ็มเชื่อว่าแนวคิดที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้นที่สมควรที่จะได้รับสิทธิบัตร” ดร. จอห์น เคลลี่ ที่สาม รองประธาน อาวุโส Technology and Intellectual Property ของไอบีเอ็มกล่าว “ การยกระดับคุณภาพสิทธิบัตรจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่องใน R&D ที่เกิดจากนักพัฒนาอิสระ ธุรกิจขนาดย่อม องค์กร และสถาบันการศึกษา ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการคุ้มครองทางกฎหมายที่มากเกินไปซึ่งขัดต่อนวัตกรรมและประโยชน์สาธารณะ”
สิทธิบัตรที่มีคุณภาพจะช่วงเพิ่มความแข็งแกร่งของลิขสิทธิทางปัญญา ลดข้อขัดแย้ง และเปิดให้ทรัพยากรต่างๆ ได้นำไปใช้ในการสร้างนวัตกรรม โครงการทั้งสามที่กล่าวมานั้นเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปได้เข้าร่วม USTPO วางแผนที่จะมีการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อต่อยอดโครงการ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ที่อเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
The United States Patent and Trademark Office ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่ดูแลและให้คำแนะนำในด้านกฎหมายลิขสิทธิทางปัญญา ได้เปิดเผยรายงานสิทธิบัตรประจำปี 2548 รายงานดังกล่าวได้เปิดเผยว่าในปี 2548 ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มครอบครองสิทธิบัตรเป็นอันดับหนึ่ง มากกว่าบริษัทอื่นๆ ถึง 1,100 ชิ้น ไอบีเอ็มครองตำแหน่งผู้ครอบครองสิทธิบัตรสูงสุด มากกว่า 2,000 ชิ้นในสหรัฐอเมริกา มา 8 ปี ติดต่อกัน
ในวันเดียวกันนี้ IFI CLAIMS Patent Services ซึ่งได้รวบรวมฐานข้อมูลสิทธิบัตร CLAIMS (c) ได้ออกรายงานและการจัดอันดับประจำปี รายงานจาก IFI CLAIMS แจ้งว่า จากสิทธิบัตรจำนวน 2,972 ชิ้นในปีนี้ เป็นผลงานจากไอบีเอ็มถึง 31 ชิ้น เพิ่มเติมจากปีที่แล้ว
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณอรอุมา วัฒนะสุข
โทร 02-273-4117 อีเมล์ numav@th.ibm.com
On-uma V. Rerkpattanapipat
Communications Specialist
IBM Thailand Co.,Ltd.
388 Phaholyothin Road, Phyathai, Bangkok 10400
Tel: 66-2-273-4117 T/L: 61-980-4117 Cell: 66-1-815-5720 Fax: 66-2-273-0182 E-mail: onumav@th.ibm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ