กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--มูลนิธิกระจกเงา
หมู่บ้านบนดอย ถ้ามีป่ากล้วย หมู่บ้านน้ำมีน้ำใช้ตลอดปี
กล้วยป่า สามารถปลูกเป็นแนวกันไฟ
เป็นแหล่งอาหารให้กับนกและสัตว์ในป่า และ เมล็ดกล้วย จะถูกขับถ่ายไปต้นใหม่ พร้อมกับต้นไม้ชนิดอื่น
กล้วยป่า 1 ต้น มีเมล็ด 3-5 พันเมล็ด ซึ่งหากนำมาผ่านกระบวนการเตรียมเมล็ด สามารถนำไปปลูกในดินได้เลย
กล้วยเป็นพืชที่เก็บน้ำ เปรียบเสมือนมีแท็งค์น้ำอยู่บนภูเขา ไม่ต้องสร้างเขื่อน ป้องกันภัยพิบัติ ถ้าปลูกกล้วยป่าแทน
กำหนดการ
การสัมมนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สู่การจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน
“การสัมมนา การฟื้นฟูป่า ป้องกันภัยพิบัติ ด้วยกล้วยป่า”
ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเลิศปัญญา มูลนิธิกระจกเงา
วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552
เวลา กำหนดการ
13.30 -13.30 น ผู้ดำเนินรายการกล่าวเปิดต้อนรับ
13.40 - 14.00 น. วิทยากร รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตรคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร และอดีตเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการที่ปรึกษาขององค์กรกล้วยนานาชาติ ร่วมพูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์ในประเด็น “ คุณลักษณะและประโยชน์ของกล้วยป่า ”
14.00 - 14.20 น. วิทยากร ดร.สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ (ดร.อ้อย) เลขาธิการ มูลนิธิโลกสีเขียวรวมถึงเป็น ทีปรึกษาพิเศษและผู้เขียน “คู่มือนักสืบสายน้ำน้อย” ร่วมพูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์ในประเด็นเรื่อง “ กล้วยป่ากับความสัมพันธ์ในระบบนิเวศน์ของป่า ”
14.20 - 14.40 น. วิทยากร คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา และเป็นผู้บริหารโครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน ร่วมพูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์ในประเด็นเรื่อง “ กล้วยป่ากับงานภัยพิบัติ ”
14.40 - 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 - 15.40 น. การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น การตั้งคำถามและข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ การตอบโจทย์เรื่องกล้วยป่า ร่วมสรุปแนวทางและทิศทางการทำงานด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกันในอนาคต รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
15.40 - 16.00 น. ผู้ดำเนินรายการกล่าว สรุป และ ปิดงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา ผู้ประสานงาน คุณทักษ์ 081-7359390 หรือ sarit_324@hotmail.com
แผนที่ http://mirror.or.th/images/map2.jpg