กระทรวงเกษตรสหรัฐฯกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้ในการส่งสินค้าไม้ และผลิตภัณฑ์

ข่าวทั่วไป Tuesday February 3, 2009 15:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--คต. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้กำหนดแบบฟอร์ม “Plant and Plant Product Declaration Form” ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. วันที่สินค้าเข้าถึงท่าที่สหรัฐฯ (Estimated Date of Arrival) 2. หมายเลขสินค้าเข้า (Entry Number) 3. หมายเลขตู้สินค้า (Container Number) 4. ใบขนสินค้า (Bill of Lading) 5. หมายเลขประจำตัวผู้ผลิต (Manufacturer Identification Code: MID) 6. ชื่อผู้นำเข้า (Importer Name) 7. ที่อยู่ของผู้นำเข้า (Importer Address) 8. ชื่อผู้รับของ (Consignee Name) 9. ที่อยู่ของผู้รับของ (Consignee Address) 10. คุณลักษณะของสินค้า (Description of the Merchandise) 11. พิกัดศุลกากร (Harmonized Tariff Code) 12. มูลค่าสินค้า (Entered Value in U.S. Dollars) 13. ส่วนประกอบทั้งหมดของสินค้า (Article/Component of Article) 14. ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ที่ระบุ Genus และ Species ของไม้ (Plant Scientific Name) 15. แหล่งกำเนิดของไม้ (Country of Harvest) 16. ปริมาณสินค้า (Quantity of Material) 17. ปริมาณไม้ (Unit of Measure) 18. สัดส่วนการใช้วัสดุรีไซเคิล (% Recycled Material) (ถ้ามี) ทั้งนี้ แบบฟอร์มข้างต้นเป็นการกำหนดเพิ่มเติมจากที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการในการตรวจสอบสินค้าไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา โดยที่ผู้ประกอบการสามารถ Download แบบฟอร์มและรายละเอียดต่าง ๆ ข้างต้นได้ที่http://www.aphis.usda.gov/plant_health/lacey_act/downloads/declarationform.pdf อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่จะส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ จะต้องกรอกแบบฟอร์มข้างต้นแนบไปกับสินค้าทุก Shipment เป็นการรับรองตัวเอง และหากทางการสหรัฐฯ พบว่าเอกสารที่กรอกไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็จะมีบทลงโทษ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดต่างๆอย่างเคร่งครัด เพราะกฎระเบียบใหม่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามการค้าไม้ที่ถูกตัดอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของไทยเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยจะสามารถรักษาตลาด และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าของไทยในตลาดโลกอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ