หลักสวัสดิภาพสัตว์ของ CPF ได้มาตรฐานโลก EU ชี้ช่วยเพิ่มขีดการแข่งขันในระดับโลกให้เนื้อไก่จากไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday February 3, 2009 16:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--ซีพีเอฟ น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในฐานะผู้แทนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากสัตว์ปีกประเทศไทย บนเวทีประชุมระดับโลกของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ได้นำเสนอกรรมวิธีการเลี้ยงดูสัตว์ปีกของประเทศไทย ตั้งแต่การเพาะเลี้ยง การขนส่ง และการชำแหละที่ถูกต้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ขององค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ หรือ OIE และมาตรฐานสหภาพยุโรป ทั้งยังหยิบยกประเด็นที่ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาวิกฤตไข้หวัดนกและมาตรการแก้ไขที่ประสบความสำเร็จมานำเสนออย่างเปิดเผย จนสามารถสร้างความชื่นชมในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของประเทศไทยให้แก่ผู้เข้าฟังจากนานาประเทศได้อย่างดีเยี่ยม ด้าน Mr.Michael Scannell ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้กล่าวชื่นชมว่า อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ปีกของประเทศไทยมีมาตรฐานสูงมาก และการที่ไทยให้ความสำคัญกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CPF ที่มีการลงทุนระบบ Modular System (ระบบขนส่งสัตว์ปีกในลังพิเศษ ลดหย่อนความตื่นตระหนกและความแออัดของสัตว์ปีก) เช่นนี้ ส่งผลถึงความเชื่อมั่นในด้านอาหารปลอดภัยจากประเทศไทยด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเนื้อสัตว์ปีกจากประเทศไทยให้สูงขึ้นในตลาดEU และตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกอันดับ 4 ของโลก ทั้งก่อนและหลังเกิดปัญหาไข้หวัดนก ปัจจุบันมีตลาดหลัก 2 แห่งคือ ญี่ปุ่น 47% และ สหภาพยุโรป 44% ที่เหลือเป็นประเทศอื่นๆ อีก 9% โดยประเทศไทยได้เปิดตลาดส่งไก่ดิบไปยัง EU ตั้งแต่ปี 1973 และเริ่มส่งไก่แปรรูปปรุงสุก ตั้งแต่ปี 1991 ซึ่งในปี 2008 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปยังสหภาพยุโรปทั้งสิ้น 175,253 เมตริกตัน โดยประมาณ สำหรับซีพีเอฟ เป็นบริษัทแรกนอกเขตประเทศยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Animal Welfare และล่าสุด ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศสหราชอาณาจักร (UK) ทำการจัดฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกเป็นแห่งแรกของโลก หลักสูตรดังกล่าวทำให้บุคลากรของซีพีเอฟสามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำการปฏิบัติงานด้านความเป็นอยู่ของสัตว์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลได้ ทั้งนี้ หลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare เป็นข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่สหภาพยุโรปเป็นผู้ประกาศ โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระของสัตว์เลี้ยง 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ได้แก่ 1.ปราศจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง (Freedom from hungry and thirst) 2.ปราศจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from discomfort) 3.ปราศจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ และโรคภัย (Freedom from pain, injury and disease) 4. ปราศจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress) 5. อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal behavior) อนึ่ง งาน Global Trade and Farm Animal Welfare Conference จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และเครือข่ายองค์การคุ้มครองและพิทักษ์สัตว์ ได้แก่ RSPCA, WSPA, EURO GROUP FOR ANIMALS, COMPASSION IN WORLD FARMING ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และซีพีเอฟเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าบรรยายหัวข้อ "Best practice on animal welfare in Broiler chicken industry in THAILAND" โดยมีผู้แทนภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในประเทศสมาชิกEU, องค์กร NGO ด้าน Animal welfare, และประเทศที่เกี่ยวข้องด้านการค้ากับ สหภาพยุโรป รวมทั้งหมด 55 ประเทศ ประมาณ 400 คน เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ CPF โทร. 02-625-7344-5, 02-638-2713, 02-631-0641

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ