กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
เจ้าชายแอนดรูว์ เดอะ ดยุค แห่ง ยอร์ค เสด็จเป็นประธานเปิดร้านบู๊ทส์ สาขาที่ 100 ในประเทศไทย ร้านค้าเพื่อสุขภาพและความงามสัญชาติอังกฤษ ณ ชั้น G อาคารคิว เฮ้าส์ ลุมพินี (Q House Lumpini) ถนนสาทรใต้ โดยมี มร.เอียน ฮันเตอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด รับเสด็จ
บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ฤกษ์เปิดร้านบู๊ทส์ สาขาที่ 100 บนเนื้อที่กว่า 95 ตารางเมตร ณ ชั้น G อาคาร คิว เฮ้าส์ ลุมพินี (Q House Lumpini) ถนนสาทรใต้ ร้านบู๊ทส์แห่งใหม่นี้จะเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของร้านบู๊ทส์ที่เปิดในอาคารสำนักงาน ด้วยโทนสีที่อบอุ่น รูปแบบการจัดร้าน และการบริการของพนักงานมีความเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนทำงาน เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความงามอย่างแท้จริง โดยร้านบู๊ทส์แห่งแรกในประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นที่อาคารเอส ซี บี พาร์ค ในปี 2540 จวบจนทุกวันนี้ครบ 100 สาขา โดยมีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทย และภายในสิ้นปีนี้จะขยายเพิ่มขึ้นอีก 20 สาขา เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ยิ่งขึ้น
อนึ่งร้านบู๊ทส์เป็นผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความงาม สัญชาติอังกฤษ ที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2540 โดยมีเภสัชกรและพนักงานประจำร้าน ในการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแนะนำ โดยในขณะนี้บู๊ทส์มีแคมเปญด้านสุขภาพ Change Just 1 Thing ที่จะช่วยให้คนไทยได้มีไลฟ์สไตล์ที่สมดุลมากยิ่งขึ้น โดยบู๊ทส์ได้จัดทำคู่มือ Change Just 1 Thing สำหรับแจกฟรี เพื่อช่วยให้เกิดประโยชน์สำหรับในชีวิตประจำวัน โดยลูกค้าสามารถเลือกรับบริการได้ที่ร้านบู๊ทส์ทุกสาขา หรือหากต้องการปรึกษาด่วนทางโทรศัพท์ สามารถติดต่อได้ที่บริการโทรฟรีเบอร์ 1 — 800 — 200 — 444 และ 0-2233-0575 หรืออีเมล์ pharmacist.24hours@bootsrt.com ตลอด 24 ชั่วโมง
สุนทรพจน์ (โดยสังเขป)
เจ้าชายแอนดรูว์ เดอะ ดยุค แห่ง ยอร์ค
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักรนั้นมีมาช้านาน ประเทศไทยยังเป็นประเทศหนึ่งที่สหราชอาณาจักรให้ความไว้วางใจ และตัดสินใจเข้ามาลงทุนธุรกิจเป็นอันดับต้นๆ อาทิ ร้านบู๊ทส์ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจเรื่องการลงทุนธุรกิจ ด้วยเม็ดเงินของการลงทุนถึงวันนี้ เป็นจำนวนกว่า 28 ล้านปอนด์ ทำให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงทั้งในเมืองหลวงและส่วนภูมิภาค ภายในสิ้นปีนี้ บริษัทบู๊ทส์ (ประเทศไทย) จะมีการว่าจ้างพนักงานมากกว่า 1,000 คน เพราะจะขยายสาขาร้านค้าเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่งทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บู๊ทส์กว่า 800 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ไม่ได้วางจำหน่ายที่ร้านบู๊ทส์ในไทยเท่านั้น แต่ยังส่งไปจำหน่ายยังร้านบู๊ทส์ในประเทศฮ่องกง ไต้หวัน และตะวันออกกลางอีกด้วย
ด้วยยอดขายที่เติบโตกว่า 2.5 พันล้านบาทในปีนี้ ทำให้ร้านบู๊ทส์เป็นธุรกิจค้าปลีกต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ วันนี้ ร้านบู๊ทส์ จึงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และเพื่อก้าวอย่างมั่นคงต่อไป ในโอกาสนี้ จึงขอเปิดร้านบู๊ทส์สาขาใหม่ล่าสุด เป็นลำดับที่ 100 ของประเทศไทย ซึ่งที่นี่จะอำนวยความสะดวกสบาย และเป็นร้านค้าเพื่อสุขภาพและความงามที่ชาวไทยไว้วางใจ
ประวัติร้านบู๊ทส์ในสหราชอาณาจักร
บริษัท บู๊ทส์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี มร.ริชาร์ด เบเคอร์ Chief Executive เป็นผู้คุมบังเหียนใหญ่ ด้วยจุดมุ่งหมายและปณิธาน “ที่จะเป็นผู้นำตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร และสร้างแบรนด์บู๊ทส์ให้เติบใหญ่และประสพความสำเร็จไปทั่วโลก” โดยมีรายได้จากการขายกว่า 5,327 พันล้านปอนด์ในปี 2004 ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามที่จัดจำหน่ายในร้านบู๊ทส์ 3 ใน 4 อยู่ภายใต้ชื่อสินค้าบู๊ทส์ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองน็อตติ้งแฮมมีเนื้อที่กว่า 300 เอเคอร์ ที่เป็นทั้งสำนักงาน โรงงานผลิตยาเม็ด ยาน้ำและผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ศูนย์วิจัยและห้องแล็ป จำนวนพนักงานทั้งสิ้นกว่า 80,000 คนทั่วโลก โดยเป็นพนักงานที่ทำงานในสหราชอาณาจักรกว่า 55,000 คน และมีร้านบู๊ทส์ 1,450 แห่งทั่วสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีสาขาทั่วโลกกว่า 130 ประเทศ จวบจนปัจจุบันบู๊ทส์พัฒนาและผลิตสินค้าคุณกว่า 8,000 ชนิดทุกๆ ปี รวมทั้งเป็นผู้ผลิตและปรุงยากว่า 85 ล้านเม็ดต่อปี หรือประมาณ 9 เม็ดในทุกๆ วินาทีของวันทำงาน
ความยิ่งใหญ่ของบู๊ทส์ ถือกำเนิดขึ้นจากร้านสมุนไพรเล็กๆ ในปี 1849 โดยมร.จอห์น บู๊ท ผู้เกิดและเติบโตใน Radcliffe — on — Trent มีความสนใจและคุ้นเคยกับการนำสมุนไพรมารักษาเยียวยาอาการเจ็บป่วย ช่วงแรกของชีวิตทำงานในโบสถ์ที่ Wesleyan Chapels ในเขต Lace Market ของเมืองน็อตติ้งแฮม จอห์น บู๊ท ทำงานในโบสถ์ควบคู่ไปกับงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น การรักษาเยียวยาด้วนสมุนไพรได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะคนในชุมชนขาดทุนทรัพย์ที่จะใช้บริการทางการแพทย์สมัยใหม่ ในปี 1849 ด้วยความช่วยเหลือจากพ่อตาและจากชุมชน จอห์นได้ก่อตั้ง The British and American Botanic Establishment หรือร้านบู๊ทส์แห่งแรกที่ 6 Goose Gate เมืองน็อตติ้งแฮม ด้วยความตั้งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลกับผู้ที่ต้องการ และเพื่อความอยู่รอดของครอบครัวตนเอง
นอกจากการให้บริการด้านคำปรึกษาแนะนำด้านการรักษาโรคและดูแลกิจการร้าน จอห์นและแมรี่ ภริยา ได้คิดค้นขั้นตอนต่างๆ ในเรื่องการรักษาพยาบาล หลังจากที่คร่ำเคร่งตรากตรำกับงานหนัก จอห์น บู๊ท ป่วยและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้เพียง 45 ปีในปี 1860 แมรี่จึงต้องดูแลกิจการโดยมี Jesse ลูกชายวัย 10 ปี ช่วยรวบรวมและจัดเตรียมสมุนไพร หรือแม้แต่งานบริการหลังเคาน์เตอร์
ยุคของเจสซี่ บู๊ท The Jesse Boot Era 1871 — 1920 เมื่อเจสซี่ บู๊ท อายุได้ 21 ปี เขาได้เข้าเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจ M & J Boot, Herbalists และได้ตัดสินใจขายผลิตภัณฑ์ในราคาที่ต่ำลง แต่รับเป็นเงินสดมากกว่าจะให้เครดิต อีกทั้งได้เพิ่มสินค้าหลากหลายรายการถึง 2,000 รายการ ตามที่เคยเห็นในหลักฐานแผ่นโฆษณาในปี 1877 กิจการร้านค้าของเจสซี่มีรายได้ถึง 100 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ซึ่งนับเป็นดีลเล่อร์หรือเจ้าของธุรกิจทางด้านยาผู้มั่งคั่งคนหนึ่งในน็อตติ้งแฮม
ธุรกิจที่เจริญเติบโตต้องการพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ในปี 1881 เมื่อพื้นที่บริเวณเลขที่ 16 — 20 Goosegate ว่างเปล่าโดยมิได้ใช้ประโยชน์ เจสซี่ บู๊ท จึงได้เช่าพื้นที่นั้น และขยายกิจการในการผลิตและจำหน่ายสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง ด้วยการพัฒนาธุรกิจให้ประกอบไปด้วย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง แหล่งผลิต โกดัง สำนักงาน ที่พำนักอาศัย และในปี 1883 เจสซี่ บู๊ท ได้ก่อตั้งเป็นรูปแบบของบริษัทภายใต้ชื่อ Boot and company Limited และดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ
หลังจากที่ได้ขยายกิจการที่ Goosegate Shop เจสซี่ บู๊ท ต้งการที่จะพัฒนากิจการอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดกิจการในบริเวณชานเมืองน็อตติ้งแฮม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นย่านชุมชนยากจนแออัด แต่จะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน เนื่องจากการตกแต่งร้านที่มีเอกลักษณ์และสไตล์ ต่อมาเมื่อกิจการรถไฟเจริญเติบโต การเดินทางสะดวกและง่ายดายขึ้น มีผลให้กิจการของบู๊ทส์ขยายการเจริญเติบโตตามไปด้วย ร้านบู๊ทส์แห่งแรกภายนอกเมืองน็อตติ้งแฮมได้เปิดกิจการในปี 1884 ที่ Sing Hill ใน Sheffield
ความสำเร็จทางธุรกิจก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากคู่แข่งทางธุรกิจ และนักเคมีภัณฑ์บางกลุ่ม ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราคาสินค้าของบู๊ทส์ มีการเพ่งเล็งและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆ เมื่อปี 1879 ที่ผ่านมา รัฐบาลให้สิทธิ์ร้านค้าทั่วไป บริษัทเอกชนและนักเคมีภัณฑ์ ในการปรุงยาและจัดจำหน่ายได้ ต่อมาในปี 1884 เจสซี่ แต่งตั้ง Edwin Waring เภสัชกรชั้นนำ มาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบร้าน เป็นการเรียกความมั่นใจจากสาธารณชนกลับคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพและส่วนผสมของยาที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปน
หลังจากตรากตรำทำงานอย่างหนัก ในปี 1885 เจสซี่ บู๊ท ได้ไปพักผ่อนที่เจอร์ซี่ ได้พบรักและแต่งงานกับ ฟลอเรนซ์ โลว์ ลูกสาวของเจ้าของร้านหนังสือ
ฟลอเรนซ์ มีความสนใจในด้านร้านค้าปลีกของบริษัท ได้นำสินค้าอื่นๆ เข้ามาเปิดเส้นทางการค้าใหม่ให้บู๊ทส์ อาทิ หนังสือ เครื่องเขียน ของใช้เบ็ดเตล็ด กิ๊ฟช็อป กรอบรูป งานศิลปะต่างๆ เจสซี่และฟลอเรนซ์ ร่วมกันสร้างคอนเซ็ปต์ใหม่รูปแบบห้างสรรพสินค้าให้แก่บู๊ทส์ ต่อมาบู๊ทส์ได้ขยายกิจการโรงงาน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของร้านค้า และเพื่อควบคุมคุณภาพของสินค้า เจสซี่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้บู๊ทส์เป็นกิจการที่ยิ่งใหญ่ ดีที่สุดและราคาเป็นกันเอง (Largest, Best and Cheapest) ในปี 1885 เจสซี่เช่าซื้ออาคารเพิ่มอีก 3 ห้องที่ถนนไอร์แลนด์ในเมืองน็อตติ้งแฮม และได้เปลี่ยนชื่อธุรกิจใหม่เป็น The Business Boots Pure Drug Company Limited ในปี 1888
ในปี 1891 เจสซี่ เพิ่มความมั่นคงให้ธุรกิจด้วยการขยายกิจการอีกแห่งที่ถนน Pelham ย่านแฟชั่นกลางเมืองน็อตติ้งแฮม กิจการที่ถนน Pelham หรูหราและสวยงาม มีการตกแต่งหน้าร้านเป็นระเบียงหรือทางเดินเสาเรียงกัน และสถาปัตยกรรมจากไม้มะฮอกกานี เป็นแบบฉบับของการสร้างร้านบู๊ทส์ทั่วประเทศ
ต่อมาในปี 1892 ได้ซื้ออาคารชุดทั้งหมด รวมถึงถนนพาร์กินสัน มีพนักงานกว่า 80 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบการบรรจุผลิตภัณฑ์ สิ่งตีพิมพ์ โฆษณา ห้องแล็ป พนักงานบัญชี ฯลฯ อาคารที่ถนนไอร์แลนด์นี้
ตั้งอยู่ใกล้กับคลอง เดินทางสะดวกสบายเพราะใกล้กับสถานีรถไฟ จึงเป็นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายเป็นอย่างยิ่ง ในปี 1893 เจสซี่ ได้เปิดกิจการร้านค้าปลีกอีก 33 แห่ง รวม 7 สาขาในน็อตติ้งแฮม กิจการบู๊ทส์ขยายไปทางตอนใต้ และทาง East Anglia และ West Midlands ต่อมาในศตวรรษใหม่บู๊ทส์มีร้านค้าปลีกในเชนกว่า 250 ร้าน นอกจากการขยายสาขาแล้ว เจสซี่ได้ซื้อบริษัทเคมีภัณฑ์ รวมถึงบริษัท William Day’s Southern Drug Company ซึ่งเป็นบริษัทที่มีร้านค้าในเครือข่ายถึง 60 แห่งในลอนดอนและทางตอนใต้ของอังกฤษ
ธุรกิจของร้านบู๊ทส์ได้ขยายไปในด้านอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น ฟลอเรนซ์ บู๊ท ก่อตั้งห้องสมุดของบู๊ทส์ หรือ The Boots Booklover’s Library ซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจของความรักในวรรณกรรมศิลปะ นอกจากนี้ฟลอเรนซ์ยังผลักดันให้มีการเพิ่มบริการคาเฟ่แบบหรูหราภายในร้านบู๊ทส์ขนาดใหญ่ เป็นการดึงดูดความสนใจชนชั้นกลางและเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบหลากหลาย และเพื่อสร้างความผูกพันและแบรนด์รอยัลตี้ (Brand Loyalty)
ในปี 1911 ตามบทราชบัญญัติของการประกันสุขภาพ ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านยาให้กับประชาชนทั่วไป มีผลทำให้มีจำนวนการแจกจ่ายยาและเคมีภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นมาก ในปี 1913 ยอดขายของร้านบู๊ทส์กว่า 560 ร้านทั่วอังกฤษ เวลล์ และสก็อตแลนด์ สูงถึงกว่า 2.5 ล้านปอนด์
จวบจนปัจจุบันรวม 157 ปี บู๊ทส์มีสาขาอยู่ในสหราชอาณาจักรรวม 1,600 แห่ง โดยแบ่งเป็นร้านใหญ่ใจกลางเมือง ซึ่งจะเป็นเหมือนห้างสรรพสินค้ามีขายทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งมีการให้บริการด้านตรวจวัดสายตา และด้านทันตกรรม โดยร้านใหญ่สุดตั้งอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ และที่น็อตติ้งแฮม เป็นร้านใหญ่อันดับสอง มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีร้านขนาดย่อมกว่า 1,000 ตารางเมตร ตามศูนย์การค้าชานเมือง อีกทั้งยังมีร้านที่เน้นเฉพาะสุขภาพและความงาม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจตามย่านชุมชนต่างๆ ประกอบกับขยายสาขาไปยังต่างประเทศรวมกว่า 20 ประเทศ โดยในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 100 สาขา นับเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่บริษัทหนึ่ง และมีตำนานที่ยาวนานถึงกว่า 150 ปี โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ต่อไป ด้วยคุณภาพที่ดีที่สุด ในราคากันเอง สมกับเจตนารมณ์ของเจสซี่ บู๊ท ผู้สร้างตำนานการเติบโตให้แก่บู๊ทส์
เจ้าชายแอนดรูว์ เดอะ ดยุค แห่ง ยอร์ค เสด็จเป็นประธานเปิดร้านบู๊ทส์สาขาที่ 100 ในประเทศไทย ณ ชั้น 1 อาคาร คิว เฮ้าส์ ลุมพินี (Q House Lumpini) ถนนสาทรใต้ โดยมี มร.เอียน ฮันเตอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด รับเสด็จ
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร.0-2434-8300
สุจินดา, แสงนภา, อัญชลี
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net