ชนะภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยการลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด Winning in the Downturn Making Storage Investments Reap Benefits

ข่าวเทคโนโลยี Friday February 6, 2009 14:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.พ.--คอร์แอนด์พีค ในยุคที่ข้อมูลมีอัตราการเติบโตอย่างมากขณะที่งบประมาณคงที่หรือลดน้อยลง องค์กรต่างๆ ต้องประเมินการจัดซื้อเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ นอกจากจะต้องคำนึงถึงข้อดีด้านเทคนิคหรือความชัดเจนของต้นทุนแล้ว ยังต้องก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย เงื่อนไขดังกล่าวนำมาซึ่งความหมายใหม่ในภาวะเศรษฐกินที่ผันผวน ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนด้านไอทีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจกล่าวได้ว่าวิกฤตเป็นตัวกระตุ้นให้มีการนำโซลูชั่นเชิง กลยุทธ์ ไปใช้และปรับโฟกัสในด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนมากขึ้น คุณทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ อธิบายแนวทางที่ครอบคลุมและยั่งยืนของระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต บทนำ: ขณะนี้นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความข้ดข้องสงสัย ตลอดจนเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการเจ็บตัวของธุรกิจได้อย่างมาก บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจโลกที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2552 อาจทำให้อัตราการเติบโตของตลาดไอทีลดจาก 5.8% เหลือที่ระดับ 2.3% ได้ ด้วยสภาวการณ์ของเศรษฐกิจในขณะนี้ ทำให้หลายองค์กรระมัดระวังตัวมากขึ้น และเกิดความลังเลที่จะใช้จ่ายเงินมากนัก ความยุ่งยากยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษจากตลาดแรงงานที่จำกัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การลดงบประมาณลงไม่ควรเป็นเพียงแผนงานเดียว เนื่องจากการใช้จ่ายเงินแต่ละบาทให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับการนำพาองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นจากการมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจากมุมมองด้านระบบจัดเก็บข้อมูล การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารในองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นว่าเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นหน่วยการเปลี่ยนแปลงในการปรับปรุงธุรกิจ และยังเป็นผู้นำที่มีทักษะในการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อจัดการกับปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้จริง จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันซีไอโอกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบดั้งเดิม นั่นคือ ต้องลดค่าใช้จ่ายพร้อม ๆ กับทำให้ธุรกิจเติบโตให้ได้ ทั้งสองเงื่อนไขสามารถจัดการให้ดีขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และการนำโซลูชั่นไปใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ซีไอโอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้อย่างสูงสุด ความท้าท้ายของระบบจัดเก็บข้อมูล: เมื่อพูดถึงการจัดเก็บข้อมูล หลาย ๆ ปัจจัยจะนำมาซึ่งภาวะความกดดันต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนของข้อมูลอย่างมหาศาล ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลที่มีต่อธุรกิจ ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการที่เพิ่มขึ้นจากเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้น และความกดดันในด้านการเก็บรักษาหรือลดค่าใช้จ่ายด้านไอที สิ่งเหล่านี้ทำให้ซีไอโอมีโอกาสน้อยมากสำหรับความผิดพลาดหรือความสูญเสียใดๆ แม้ว่าสถาปัตยกรรมของระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันจะใช้งานได้ดี แต่ยังต้องคำนึงถึงการจัดการในอนาคตที่จะต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้ทันสมัยกว่าเดิม ตลอดจนทำการโยกย้ายหรือการอัพเกรดที่จำเป็น ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาพร้อมๆ กัน ซีไอโอจึงต้องรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่มีความท้าทายพื้นฐานอยู่ 3 ประการ ได้แก่ - การลดต้นทุน - การลดความซับซ้อน - การปรับปรุงคุณภาพของบริการ ด้วยแนวทางการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่เป็นแบบสำเร็จรูป ส่งผลให้แต่ละองค์กรธุรกิจจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่ความจุมากกว่าที่พวกเขาต้องการใช้จริงสูงถึง 75% เนื่องจากการซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากมักจะถูกกว่าการจ้างบุคลากรมาจัดการระบบ ดังนั้นการตอบสนองแรกขององค์กรต่อภาวะวิกฤตของระบบจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นการหันไปเพิ่มความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลให้มากขึ้น แน่นอนว่า หน่วยงานธุรกิจต่างๆ จำนวนมากในองค์กรอาจไม่ต้องการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลร่วมกัน พวกเขาจึงซื้อโครงสร้างพื้นฐานของระบบจัดเก็บแต่ละรายการผ่านการจัดซื้อตามโครงการและผ่านผู้ค้าที่แตกต่างกันจำนวนมากโดยพิจารณาจากตัวเลือกด้านต้นทุนที่ต่ำที่สุด ผลที่ได้ก็คือความสับสนของระบบจัดเก็บข้อมูลที่ต่างชนิดกันและซอฟต์แวร์ด้านการจัดการที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีมากขึ้น รวมทั้งยังเกิดสินทรัพย์ด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่จำนวนมาก และเกิด “ระบบจัดเก็บข้อมูลล้น” ซึ่งถือเป็นการสูญเสียด้านงบประมาณอย่างมาก สรุปแล้ว การจัดการกับปัญหาข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นด้วยการซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นจึงอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก ทางออก: โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ มาตรวัด (Measurement Metrics): จากอดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมักจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินงานขององค์กรในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเช่นในขณะนี้ ขั้นแรกจะเริ่มด้วยการศึกษาสถานการณ์เชิงลึก โดยใช้ตัววัดจำนวนมากในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูล ซึ่งตัววัดที่ใช้มากที่สุดมี 3 อย่าง ได้แก่ งบลงทุน (Capital Expenditure: CAPEX), ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (Operating Expenditure: OPEX) และต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (Total Cost of Ownership: TCO) โดย CAPEX จะหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ซึ่งปกติจะมาในรูปของการซื้อสินทรัพย์หรือการขยายอายุการใช้งานของสินทรัพย์ออกไป ขณะที่ OPEX เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุนด้านจัดการ การสนับสนุน การบำรุงรักษา และการอัพเกรดสินทรัพย์ตลอดอายุการใช้งาน และ TCO เป็นการคาดการณ์ทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อช่วยประเมินค่าใช้จ่ายของการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดตลอดอายุใช้งาน อย่างไรก็ตาม ในภาวะการณ์เช่นนี้ การวัดผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investments: ROI) เพื่อประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายอาจไม่แม่นยำและเพียงพอ เนื่องจากเป็นการยึดตามสินทรัพย์ใหม่ที่กำลังจะถูกจัดซื้อโดยไม่ได้พิจารณาสินทรัพย์เดิมที่ยังมีค่าอยู่ การวัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีต่อแนวโน้มและอัตรารายได้ของธุริจด้วยการพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Assets: ROA) จึงเป็นแนวทางกลยุทธ์มากกว่า เนื่องจากเป็นการพิจารณาผลกระทบของการลงทุนในฐานสินทรัพย์รวมมากกว่าโครงการเฉพาะ การวัด ROA ทำให้สินทรัพย์ที่มีอยู่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นและเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรด้านไอทีจะต้องพัฒนาชุดมาตรวัดที่จะทำให้บริษัทสามารถตรวจสอบสินทรัพย์ทั้งหมดได้อย่างครอบคลุมเพื่อช่วยในการคำนวณ ROA ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้พัฒนาชุดมาตรวัดที่ชื่อว่า ‘Storage Economic Model’ ซึ่งจะดีกว่าการคำนวณ TCO แบบมิติเดียวของเดิม และเมื่อมีการนำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบชั้น (Tiered Storage) และระบบเสมือนจริง (Virtualization) มาใช้ร่วมกับโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ก็จะช่วยให้ลูกค้าประหยัด OPEX ได้อย่างแท้จริง การปรับใช้ตัววัดเชิงนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งเน้นการตรวจสอบในด้านการใช้จ่ายด้านไอทีขนาดใหญ่ที่จะเกี่ยวข้องกับบุคคลและมุมมองใหม่ๆ ระบบเสมือนจริง (Virtualization): ระบบเสมือนจริงช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการสิ่งสำคัญ 3 อย่างที่ช่วยสร้างศูนย์ข้อมูลที่เป็นเลิศด้านความประหยัดและระบบนิเวศได้ นั่นคือ การเรียกทรัพยากรที่มีอยู่ขึ้นมาใช้ การใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และการใช้ให้เกิดความเหมาะสมสูงสุด โดยโมเดลของระบบเสมือนจริงจะเริ่มจากการเรียกทรัพยากรที่มีอยู่ขึ้นมาใช้งานและต่อเนื่องไปยังการใช้ประโยชน์และการใช้ทรัพยากรนั้นให้เหมาะสมสูงสุด ส่งผลให้ฝ่ายไอทีสามารถรวมระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันได้ ตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชั่นได้ตามต้องการ และจัดการได้โดยใช้ชุดซอฟต์แวร์ทั่วไปเพียงชุดเดียว เมื่อข้อมูลเพิ่มจำนวนมากขึ้น ฝ่ายไอทีก็จะปรับเปลี่ยนจากการรวมระบบและย้ายข้อมูลแบบง่ายไปยังชั้นที่มีขนาดที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเคลื่อนที่ของข้อมูลได้โดยง่าย ตลอดจนกำหนดข้อมูลไปยังชั้นที่เหมาะสมได้โดยแบบอัตโนมัติตามนโยบาย (หรือแม้แต่ตามเนื้อหา) จะเห็นได้ว่าระบบเสมือนจริง โดยเฉพาะระบบเสมือนจริงที่ใช้ตัวควบคุมจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง นั่นคือลดต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์ ต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน SAN และต้นทุนด้านสภาพแวดล้อม ด้วยการให้อินเทอร์เฟสการจัดการเดียวสำหรับฮาร์ดแวร์จัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนจริงทั้งหมดและขยายไปสู่การใช้ประโยชน์สินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่เดิมด้วย ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบชั้น (Tiered Storage): องค์กรต่างๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบชั้นเดียวเพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในกลุ่มเดียว (มักจะเป็นรูปแบบที่หลายองค์กรเลือกซื้อ) จะทำให้แอพพลิเคชั่นและข้อมูลในกลุ่มทั้งหมดใช้งานทรัพยากรได้ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน โดยไม่คำนึงถึงความต้องการด้านทรัพยากรเฉพาะของแอพพลิเคชั่นแต่ละรายการหรือมูลค่าทางธุรกิจใดๆ ดังนั้น ข้อมูลที่มีค่าสูงจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ขณะที่ข้อมูลที่มีค่าน้อยและข้อมูลที่ต้องถูกจัดเก็บกลับใช้ทรัพยากรได้มากกว่าที่ต้องการใช้จริง ดังนั้น ระบบจัดเก็บข้อมูลจึงเกิดการใช้ประโยชน์ที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถจัดเตรียมทรัพยากรได้อย่างเพียงพอ ส่งผล CAPEX เพิ่มขึ้น ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบชั้นเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากจะกำหนดแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมเข้ากับระบบจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการในการเข้าถึงได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะเห็นได้ว่าชั้นของระบบจัดเก็บข้อมูลจะมีระดับบริการและต้นทุนที่หลากหลาย การแบ่งระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นชั้นๆ โดยใช้ชั้นจัดเก็บที่มีต้นทุนต่ำ (ตรงข้ามกับชั้นเพียงชั้นเดียวที่มีต้นทุนสูงมาก) จะทำให้ CAPEX ในปีต่อๆ ไปน้อยลง ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบหลายชั้นจะกระจายค่าใช้จ่ายไปยังชั้นจัดเก็บแต่ละชั้น ดังนั้น จึงลด CAPEX ได้ในระยะเวลาอันสั้น และเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับระบบเสมือนจริง ความสามารถในการย้ายข้อมูล (เพิ่มหรือลดระดับชั้นจัดเก็บข้อมูล) โดยใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ก็จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายที่จะตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างชัดเจนโดยไม่เกิดความเสี่ยงในการย้ายข้อมูลด้วยตนเองอีกด้วย การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์ได้อย่างอิสระ (Dynamic Provisioning): ซอฟต์แวร์การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระสามารถลด CAPEX ได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบจัดเก็บข้อมูลแต่ละกลุ่มด้วยการกำหนดและจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการใช้แอพพลิเคชั่นแต่ละรายการ สิ่งนี้ช่วยให้องค์กรไม่ต้องเสียพื้นที่จริงในการจัดเก็บข้อมูลที่มักจะถูกจัดสรรไว้แต่ไม่เคยใช้งานเลยได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการใช้ขนาดพื้นที่จริงน้อยลงสำหรับจัดวางระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ ประสิทธิภาพที่ได้รับการปรับปรุงนี้มาจากความสามารถของ “wide striping” (การแบ่งข้อมูลในการจัดเก็บ) ของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการประหยัด CAPEX ได้ทางอ้อม ด้วยการลดจำนวนโครงสร้างพื้นฐานที่มีการใช้งานแค่บางระดับออกไปได้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวกับการประสานงานและกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนดิสก์ด้วย โดยการจัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มเสมือนจริงจะลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้วยการลดเวลาที่ต้องใช้ในการจัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ โดยทำให้กระบวนการจัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วยการเพิ่มจำนวนเทราไบต์ที่ผู้ดูแลหนึ่งคนจะสามารถจัดการได้ ไลบรารีเทปเสมือน/การกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลแบบแอ็คทีฟ (VTL/De-duplication and Active Archive): เหตุผลสำคัญที่สุดสำหรับการเลือกใช้โซลูชั่น VTL และการกำจัดความซ้ำซ้อนของ ข้อมูลมักจะอยู่ในกรอบของการลดค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรสามารถใช้การลงทุนปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมด้วยการทำให้การสำรองข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายและราบรื่น องค์กรขนาดใหญ่สามารถได้ประโยชน์ในรูปของการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการตัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและลด ขนาดข้อมูลลง รวมทั้งลดเวลาที่ใช้ในการสำรองข้อมูลลงได้ จะเห็นได้ว่าการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนออกไปทำให้ความ ต้องการในระบบจัดเก็บข้อมูลจริงสามารถลดลงได้ถึง 25 เท่าหรือกว่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเทปบันทึกข้อมูลใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่แต่อย่างใด โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลจะช่วยเก็บรักษาและตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาข้อมูลที่คงที่เพื่อให้แน่ใจได้ถึงความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากในตลาดได้รวมความสามารถ “Single Instancing” (การเก็บสำเนาข้อมูลที่มีผู้ใช้หลายคนไว้เพียงสำเนาเดียว) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสินทรัพย์ข้อมูลได้อย่างมาก จะเห็นได้ว่าแอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีข้อมูลภายในที่ซ้ำซ้อนมาก ล้วนเป็นข้อมูลที่ไม่มีระเบียบ (Unstructured Data) เช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และระบบอีเมล ดังนั้น การใช้โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลจึงก่อให้เกิดข้อดีสองอย่างนั่นคือจะมีการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนขณะที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าในด้านต้นทุนการผลิตด้วยการเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีค่าที่สุด ไว้เท่านั้น บทสรุป: แม้ว่าเราจะเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ แต่ด้วยข้อมูลที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เช่น บริษัท ไอดีซี ก็ทำให้เกิดความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบริษัท ไอดีซีได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดฮาร์ดแวร์ทั้งหมดว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ มีเพียงระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างเดียวเท่านั้นที่มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเติบโตเชิงบวกในปี 2552 ระบบจัดเก็บข้อมูลถือเป็นทรัพยากรด้านไอทีที่สำคัญที่รับประกันได้ว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง แม้ว่าจะไม่สามารถขจัดความกังวลของซีไอโอออกไปได้หมด แต่ก็สามารถช่วยองค์กรให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ: คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300 081 694 7807 อีเมล์ srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ