กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กำหนดการ
โครงการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิจัย
เรื่อง “สิทธิหญิงไทยกรณีเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ”
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30 - 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 209 ชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนรับเอกสาร
09.00-09.20 น. กล่าวต้อนรับ
โดย อาจารย์นพนันท์ วรรณเทพสกุล
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชี้แจงวัตถุประสงค์การสัมมนา
โดย นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กล่าวคำรำลึกถึงอาจารย์ธีรนาถ กาญจนอักษร
โดย นางศิริพร สโครบาเนค
ประธานมูลนิธิผู้หญิง
09.20-09.35 น. พักรับประทานอาหารว่าง
09.35-10.15 น. นำเสนอร่างรายงาน “สิทธิหญิงไทยกรณีเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ”
โดย ดร.พัทยา เรือนแก้ว
สมาคมธารา
องค์กรเครือข่ายหญิงไทยในเยอรมัน
10.15-12.30 น. ข้อคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ
โดย นางศิริพร สะโคบาเนค
ประธานมูลนิธิผู้หญิง
รศ.สุริชัย หวันแก้ว
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
นายธีรกุล นิยม
อธิบดีกรมการกงสุล
นางญาณี ไกรเลิศ
ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำเนินรายการโดย นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาส
และความเสมอภาค
12.30 — 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.30 น. ข้อคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ (ต่อ)
โดย ผู้เข้าร่วมสัมมนา
15.30-16.30 น. สรุปผลการสัมมนา
โดย นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาส
และความเสมอภาค
16.30 น. ปิดการสัมมนา
โครงการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
เรื่อง “สิทธิผู้หญิงไทยกรณีเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ”
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 209 ชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและเหตุผล
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฎิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ(Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination Against Women(CEDAW) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights(ICCPR) ให้การรับรองสิทธิของผู้หญิงในการเลือกสถานที่อยู่อาศัย และสิทธิของผู้หญิงในการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของตนเอง สำหรับผู้หญิงไทยการอพยพเคลื่อนย้าย มาจากสาเหตุหลายประการ เช่น การไปทำงานต่างประเทศ แต่งงานกับชาวต่างประเทศ รวมทั้งการขายบริการทางเพศ สาเหตุส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจน ชีวิตครอบครัวที่ล้มเหลว ความหวังที่จะก้าวหน้าในชีวิต ซึ่งปัจจุบันการอพยพเคลื่อนย้ายดังกล่าว มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น โดยการติดต่อผ่านนายหน้าหางาน ติดตามญาติพี่น้อง การศึกษาต่อ รวมถึงการหาคู่ทางเครือข่ายจัดหาคู่ในระบบคอมพิวเตอร์ Internet โดยเฉพาะประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี ประเทศเดียวมีหญิงไทยอพยพเคลื่อนย้ายไม่น้อยกว่า 50,000 คน
การอพยพเคลื่อนย้ายดังกล่าว มีทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จ และประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ผู้ที่ประสบความสำเร็จเป็นแรงบัลดาลใจให้มีการอพยพเคลื่อนย้ายเพิ่มเติม แต่ปัญหาการดำเนินชีวิตที่บุคคลเหล่านี้ได้รับ เมื่อไปถึงประเทศปลายทาง มักจะไม่ได้รับการเผยแพร่ในชุมชนท้องถิ่นของประเทศต้นทาง ส่งผลให้ปัญหาของผู้อพยพไม่ได้รับการป้องกัน แก้ไขอย่างจริงจัง และไม่มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องประกอบกับมีการร้องเรียนในกรณีดังกล่าวมากพอสมควร
ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา คือ ดร.พัทยา เรือนแก้ว ดำเนินการวิจัย เรื่อง ”สิทธิผู้หญิงไทยกรณีเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ” ซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำ ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้รายงานการวิจัยดังกล่าวมีความครบถ้วนสมบูรณ์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิ ธีรนาถ กาญจนอักษร จึงได้จัดโครงการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิจัยดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้วิจัยว่าร่างรายงานการวิจัย มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานอพยพข้ามชาติ
3. เพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ
เป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาครัฐ และเอกชน บุคคลทั่วไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กสม. จำนวน 50 คน
วิธีการ
1. นำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
2. วิจารณ์ให้ข้อเสนอแนะ โดยผู้เชี่ยวชาญ
3. อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
วัน เวลา สถานที่
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30 — 16.00 น. ณ ห้องประชุม 209 ชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. สำนักวิจัยและนิติธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
งบประมาณ
งบประมาณสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รหัสกิจกรรม 1 M 3 — 3 0 3 0 0
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้วิจัยนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุงร่างรายงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. ผู้ร่วมสัมมนานำความรู้ไปเผยแพร่แก่กลุ่มเป้าหมายที่คิดจะอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน
3. สำนักวิจัยและนิติธรรมนำข้อมูลที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล
นายบริพัตร จุฑานิธิ
ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยสิทธิมนุษยชน
สำนักวิจัยและนิติธรรม
ผู้เสนอโครงการ
นางสาววารุณี เจนาคม
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและนิติธรรม
ผู้อนุมัติ
รายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา
โครงการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
เรื่อง “สิทธิผู้หญิงไทยกรณีเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ”
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 209 ชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กสม.
1. นางสาววารุณี เจนาคม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและนิติธรรม
2. นายบริพัตร จุฑานิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยสิทธิมนุษยชน
3. นายพิชญ์ รอดแสวง เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน 8ว.
4. นางวิภา แก้วสังข์ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน 8ว.
5. นางสาวแววตา สุขวาณิชัย เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน 6.
6. นางสาวขวัญสุดา วรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
7. นางสาววรัญญา แพรประเสริฐ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
taweechai sangviroon
[taweechaisangviroon2545@hotmail.com]