กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
ผลการศึกษาทางจิตวิทยายืนยันถึงความสำคัญของการมองเห็นหน้าคู่สนทนาที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำงานร่วมกัน
ผลวิจัยล่าสุดทางจิตวิทยาการสื่อสารในองค์กรโดยบริษัทซิสโก้พบว่า “ระบบการสื่อสารผ่านวิดีโอที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละฝั่งสามารถเห็นหน้ากันได้นั้น สามารถกระตุ้นให้เกิดการการอภิปรายที่สร้างสรรค์และทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้การประชุมในรูปแบบดังกล่าวจะช่วยสร้างสัมพันธภาพที่แข็งแกร่งและพัฒนาความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างบุคคล ทั้งยังมีส่วนช่วยลดผลกระทบอันอาจเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่บุคลากรอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านระบบวิดีโอองค์กรควรช่วยพัฒนาทักษะที่เหมาะสมในการใช้เครื่องมือดังกล่าวให้กับพนักงาน เพื่อให้การนำเครื่องมือไปใช้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การศึกษาเรื่อง “ความสำเร็จในการสื่อสารด้วยวิดีโอ” เป็นผลงานวิจัยด้านจิตวิทยาการสื่อสารทางธุรกิจชิ้นล่าสุดจากนักจิตวิทยาธุรกิจ บริษัท เพิร์น แคนโดลา งานวิจัยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าอากัปกิริยาและภาษาท่าทางเป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการประเมินความน่าเชื่อถือของบุคคล ในขณะที่ภาษาพูดมีส่วนต่อการประเมินความน่าเชื่อถือเพียง 7% เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงใช้การประชุมผ่านทางโทรศัพท์ในการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างบุคลากรในทีมซึ่งข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเสียงเพียงอย่างเดียว งานวิจัยชิ้นนี้จะแสดงให้เห็นว่าการสื่อสารทางวิดีโอจะ
สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของทีมงานที่อยู่ห่างไกลได้อย่างไร และจะสามารถลดอุปสรรคทางจิตวิทยาที่เกิดจากการใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้เช่นไร
นายสจ๊วต ดัฟฟ์ หัวหน้ากลุ่ม บริษัทเพิร์น แคนโดลาและเป็นผู้นำทีมวิจัยระบุว่า “การสื่อสารระหว่างทีมที่อยู่กันคนละซีกโลกนับวันจะกลายเป็นเรื่องปกติ เนื่องด้วยธุรกิจในปัจจุบันเน้นเรื่องกาลดค่าใช้จ่ายในขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาให้ทีมเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสื่อสารด้วยวิดีโอจะกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประชุมระหว่างกัน ดังนั้นคำถามสำคัญที่จะเกิดขึ้นคือเราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความคุ้นเคย ความเชื่อมั่น และความสะดวกใจที่จะใช้เครื่องมือสื่อสารผ่านวิดีโออย่างประจำสม่ำเสมอ และจะมีตัวแปรใดที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากระบบการสื่อสารแบบนี้ได้มากที่สุด
รายงานจะแสดงให้เห็นว่าการสื่อสารผ่านระบบวิดีโอสามารถตอบสนองบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันอย่างไรในการประชุมเสมือนจริง
- บุคคลประเภทผู้นำ/ผู้สั่งการ: เป็นลักษณะของบุคคลที่มักเป็นผู้ชี้นำการประชุม ความสามารถในการมองเห็นผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด แม้จะแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของผู้นำ แต่ในขณะเดียวกันจะช่วยลดการครอบงำการประชุมของผู้นำ โดยสมาชิกการประชุมท่านอื่น ๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมมากขึ้น
- บุคคลประเภทกระตือรือร้น/นักขัดจังหวะ: คนกลุ่มนี้มักมีสมาธิสั้นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิดีโอเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้นกว่าสำหรับคนกลุ่มนี้ โดยการเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมต่อการประชุมให้สูงขึ้น
- บุคคลประเภทนักคิด/มีโลกส่วนตัว: คนกลุ่มนี้มักเป็นพวกที่ครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ด้วยการแสดงภาษาท่าทางดังกล่าวผ่านทางวิดีโอจะทำให้ลักษณะการเงียบที่เกิดจากความครุ่นคิดไม่ได้รับการตีความไปว่าไม่ต้องการมีส่วนร่วมในการประชุม
- บุคคลประเภทเป็นมิตร/ช่างจำนรรจา: คนกลุ่มนี้มักพูดทั้งในประเด็นของตัวเองและของคนอื่นซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการประชุม การที่คนกลุ่มนี้สามารถเห็นภาษาท่าทางของผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นที่แสดงเป็นนัยให้ยุติการพูดชั่วคราวจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ประเภทนี้ได้
- บุคคลประเภทนักสร้างสรรค์/นักฝัน: แยกแยะได้จากความรุ่มรวยของความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ๆ อันไร้ขีดจำกัด ผู้เข้าประชุมกลุ่มนี้จะเสนอแนวคิดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากขึ้นเมื่อผู้เข้าร่วมการประชุมท่านอื่นสามารถปฏิสัมพันธ์ พูดคุย และโต้ตอบกับบุคคลในกลุ่มนี้ได้มากขึ้นจากการสื่อสารด้วยวิดีโอ
- บุคคลประเภทนักสร้างสรรค์/นักฝัน: แยกแยะได้จากความรุ่มรวยของความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ๆ อันไร้ขีดจำกัด ผู้เข้าประชุมกลุ่มนี้จะเสนอแนวคิดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากขึ้นเมื่อผู้เข้าร่วมการประชุมท่านอื่นสามารถปฏิสัมพันธ์ พูดคุย และโต้ตอบกับบุคคลในกลุ่มนี้ได้มากขึ้นจากการสื่อสารด้วยวิดีโอ
- นักปฏิบัติ/นักโต้แย้ง: คนกลุ่มนี้มักยึดติดกับความคิดของตัวเอง การประชุมผ่านระบบวิดีโอจะทำให้บุคคลกลุ่มนี้รู้สึกถึงการมีอยู่ของตน และรู้สึกว่าความคิดเห็นของตนเองได้รับการรับฟังทำให้การโต้แย้งไม่รุนแรงเกินไปนัก
ประเด็นเรื่องวัฒนธรรมและผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างทีมเป็นประเด็นสำคัญของการสื่อสารผ่านระบบวิดีโอ ตัวอย่างเช่นการสื่อสารผ่านวิดีโอสามารถช่วยเร่งกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในสังคมที่บริบทเน้นเรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิด และเน้นการใช้สถานการณ์แวดล้อม หรือ ภาษาท่าทางสื่อสารแทนคำพูดตรง ๆ (High context culture) เช่นจีน ญี่ปุ่น หรือประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งการจะสร้างสัมพันธภาพที่ดีได้นั้นขึ้นอยู่กับความไว้วางใจและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในทางกลับกันประเทศเช่น เยอรมัน สวีเดนและเดนมาร์กมีบริบททางสังคมแบบ Low context culture ซึ่งปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะเป็นไปแบบห่าง ๆ มีลักษณะเป็นทางการ และให้ความเคารพต่อบุคคลแต่ละคนโดยเท่าเทียมกันไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเชิงตำแหน่งหน้าที่การงาน เมื่อคนในวัฒนธรรมแบบ Low context culture มีปฏิสัมพันธ์กับคนจากวัฒนธรรม High context culture ที่ยึดถือเรื่องของระดับชั้นทางสังคม หรือ ตำแหน่ง ภาษาท่าทางที่แสดงออกเป็นนัยถึงความเคารพผ่านทางข้อมูลภาพในระบบการสื่อสารแบบวิดีโอจะช่วยลดช่องว่างจากความแตกต่างเหล่านั้น
ดัฟฟ์ กล่าวเสริมว่า “ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการสื่อสารผ่านระบบวิดีโอ คือ ความเข้าใจของบุคคลที่ใช้ระบบ การบริหารจัดการของผู้นำกลุ่ม และการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการใช้งานระบบสื่อสารดังกล่าว “จากการเฝ้าสังเกตุการประชุมที่เกิดขึ้นจริง พบว่า ความสามารถในการมองเห็นกันระหว่างสมาชิกที่ร่วมประชุม และ เทคโนโลยีทางวิดีโอที่สนับสนุนให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น TelePresence เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างและรักษาสัมพันธภาพและความร่วมมือกันระหว่างสมาชิก อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมประชุมที่ดำเนินการประชุมด้วยทัศนคติเชิงบวก ผู้นำกลุ่มที่เข้าใจในความแตกต่างเชิงบุคลิกภาพและวัฒนธรรมระหว่างสมาชิกในทีม และองค์กรที่สนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรมีความคุ้นเคยต่อการใช้งานการสื่อสารผ่านวิดีโอ ก็นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสำเร็จ และ ประสิทธิภาพการประชุมผ่านวิดีโอ
นาย นิค เอิร์ล รองประธานอาวุโส ฝ่ายบริการของซิสโก้ ทวีปยุโรป กล่าวว่า “การสื่อสารผ่านระบบวิดีโอทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านของการสื่อสารในธุรกิจ ด้วยการเพิ่มมิติด้านภาษาท่างทางที่สำคัญเพื่อช่วยให้เราเชื่อมโยงและประสานการทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ” พร้อมเสริมว่า “ผลการศึกษาล่าสุดจากเพิร์น แคนโดลาจะบอกถึงวิธีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบการสื่อสารผ่านภาพและเสียงแบบต่าง ๆ ได้อย่างไร และให้ข้อมูลใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับเครือข่ายการสื่อสารที่แต่ละฝ่ายสามารถมองเห็นกันได้จะช่วยให้สร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้อย่างไร
วิดีโอ เทเลโฟนี เป็นระบบที่ใช้ในการสื่อสารประจำวัน ใช้งานง่าย แต่คุณภาพของวิดีโอไม่ละเอียดพอที่จะเก็บภาพได้ทั้งหมด
(Video telephony)
การประชุมผ่านเว็บ ใช้ในการประชุมทีม สามารถใช้ได้ทั้งการประชุมระหว่างทีมในบริษัท และระหว่างทีมกับบุคคลภายนอก จึงสามารถเชื่อมโยงกับผู้เข้าร่วมประชุมได้อย่างกว้างขวาง จอภาพที่มีขนาดเล็กทำให้การรับชมภาพเป็นไปด้วยความยากลำบาก
(Web-based video conference)
การประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ ใช้ในการประชุมกลุ่มที่มีผู้เข้าประชุมหนึ่งหรือสองคนต่อสถานที่ คุณภาพของวิดีโอดีกว่าเว็บแคมแต่ไม่อาจแสดงผลได้ชัดเจนถึงภาษาท่าทาง และอากัปกิริยาของผู้ร่วมประชุมในอีกฝั่งหนึ่งซึ่งมีความละเอียดอ่อน คุณภาพของเสียงอาจไม่ดีเท่าใดนักสำหรับการประชุมเป็นกลุ่มใหญ่
(Video conferencing)
เทเลเพรสเซนส์ ใช้ประโยชน์ได้ดีในการรักษาสัมพันธภาพระหว่างผุ้เข้าประชุมที่อยู่ห่างไกลกัน เสมือนกับการประชุมแบบพบปะกันโดยตรง แสดงผล (ภาพ)ขนาดเท่าของจริง แสดงให้เห็นถึงภาษาท่าทางและอากัปกิริยาตอบสนอง
(TelePresence)
ภาพที่ 1 สรุปลักษณะของเครื่องมือการสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบต่าง ๆที่ถูกกล่าวถึงในรายงานชิ้นนี้
เกี่ยวกับงานวิจัย
งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2551 โดยนำเอาข้อมูลจากการวิเคราะห์ในหลาย ๆ รูปแบบเข้ามาวิจัยเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป การวิเคราะห์รวมถึงการทำวิจัยในด้านจิตวิทยาและการสื่อสาร การสังเกตุการณ์จริงการประชุมด้วยระบบวิดีโอ การสัมภาษณ์เดี่ยวหัวหน้าทีมกลุ่มดูแลธุรกิจทั่วโลก และการทำแบบสอบถามสมาชิกทีมที่อยู่ต่างสถานที่ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานล่าสุดในโครงการวิจัยเชิงจิตวิทยาธุรกิจร่วมกันระหว่างซิสโก้กับเพิร์น แคนโดลา ทั้งนี้บริษัทซิสโก้ร่วมงานครั้งแรกกับเพิร์นในปี 2549 ทำการศึกษาเกี่ยวกับการประชุมเสมือน ในเรื่องของ “จิตวิทยาการสื่อสารทางธุรกิจให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด” ตามมาด้วยการวิจัยต่อเนื่องในปี 2550 เรื่อง “การบริหารและความเข้าใจทีมงานที่ทำงานจากนอกสถานที่” เพื่อวิเคราะห์และทดสอบผลทางจิตวิทยาของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว งานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้สร้างขึ้นจากติดตามตรวจสอบผลกระทบของการสื่อสารผ่านวิดีโอต่อการประสานการทำงานระหว่างทีมที่อยู่คนละสถานที่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สุพนิต อารยเมธี
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร: 0 2263 7058 (สายตรง)
โทรสาร: 0 2253 8440
อีเมล์: sarayame@cisco.com
ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
ลลิดา รัตนศรีทัย
บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทร: 0 2971 3711
โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์: lalida@pc-a.co.th